ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

หน้าที่ ๑๑๓-๑๑๔.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๒. ปัตตกัมมวรรค ๙. ปธานสูตร

ลาภสักการะและชื่อเสียงเกิดขึ้นแก่พระเทวทัตเพื่อฆ่าตน เพื่อความเสื่อม เหมือนแม่ม้าอัสดร๑- ตั้งครรภ์เพื่อฆ่าตน เพื่อความพินาศ” สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว เหมือนผลกล้วยฆ่าต้นกล้วย ขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ ดอกอ้อฆ่าต้นอ้อ ลูกม้าอัสดรฆ่าแม่ม้าฉะนั้น
เทวทัตตสูตรที่ ๘ จบ
๙. ปธานสูตร๒-
ว่าด้วยปธาน
[๖๙] ภิกษุทั้งหลาย ปธาน (ความเพียร) ๔ ประการนี้ ปธาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สังวรปธาน (เพียรระวัง) ๒. ปหานปธาน (เพียรละ) ๓. ภาวนาปธาน (เพียรเจริญ) ๔. อนุรักขนาปธาน (เพียรรักษา) สังวรปธาน เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง จิตมุ่งมั่นเพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น นี้เรียกว่า สังวรปธาน ปหานปธาน เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง จิตมุ่งมั่นเพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า ปหานปธาน ภาวนาปธาน เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง จิตมุ่งมั่นเพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ภาวนาปธาน @เชิงอรรถ : @ แม่ม้าอัสดร หมายถึงแม่ลาซึ่งเป็นสัตว์วงศ์เดียวกับม้า (รูปร่างคล้ายม้าแต่ตัวเล็กกว่า) ผสมพันธุ์กับพ่อม้า @ตั้งครรภ์ขึ้น พอถึงเวลาคลอด ไม่สามารถคลอดได้ ยืนเอาเท้ากระทืบพื้นอยู่จนต้องผ่าท้องนำลูกออก @เพราะถูกผ่าท้องแม่ลาจึงตาย (ลูกที่เกิดจากแม่ลากับพ่อม้า) เรียกว่า ม้าอัสดร (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๖๘/๓๕๗) @ ดูข้อ ๑๓ (ปธานสูตร) หน้า ๒๓-๒๔ ในเล่มนี้, ที.ปา. ๑๑/๓๑๐/๓๐๑-๓๐๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๑๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๒. ปัตตกัมมวรรค ๑๐. อธัมมิกสูตร

อนุรักขนาปธาน เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง จิตมุ่งมั่นเพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า อนุรักขนาปธาน ภิกษุทั้งหลาย ปธาน ๔ ประการนี้แล ปธาน ๔ ประการนี้ คือ สังวรปธาน ปหานปธาน ภาวนาปธาน และอนุรักขนาปธาน พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ทรงแสดงไว้แล้ว ที่เป็นเหตุให้ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้มีความเพียรถึงความสิ้นทุกข์
ปธานสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. อธัมมิกสูตร
ว่าด้วยพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรมและผู้ตั้งอยู่ในธรรม
[๗๐] ภิกษุทั้งหลาย ในเวลาที่พระราชาไม่ตั้งอยู่ในธรรม๑- แม้พวกข้าราชการ ก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อพวกข้าราชการไม่ตั้งอยู่ในธรรม แม้พราหมณ์และคหบดี ก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อพราหมณ์และคหบดีไม่ตั้งอยู่ในธรรม แม้ชาวนิคมและชาว ชนบทก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อชาวนิคมและชาวชนบทไม่ตั้งอยู่ในธรรม ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ก็โคจร(หมุน)ไปไม่สม่ำเสมอ เมื่อดวงจันทร์และดวงอาทิตย์โคจรไป ไม่สม่ำเสมอ หมู่ดาวนักษัตรก็โคจรไปไม่สม่ำเสมอ เมื่อหมู่ดาวนักษัตรโคจรไปไม่ สม่ำเสมอ คืนและวันก็หมุนเวียนไปไม่สม่ำเสมอ เมื่อคืนและวันหมุนเวียนไปไม่ @เชิงอรรถ : @ ไม่ตั้งอยู่ในธรรม หมายถึงไม่เก็บพลี (ภาษี) ๑๐ ส่วนที่พระราชาในกาลก่อนตั้งไว้ และอาชญาอันสมควร @แก่ความผิด เก็บพลีเกินและลงอาชญาเกินความผิด (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๗๐/๓๕๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๑๔}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๑๑๓-๑๑๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=21&page=113&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=21&A=3350 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=21&A=3350#p113 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 21 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_21 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 https://84000.org/tipitaka/english/?index_21



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๑๓-๑๑๔.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]