ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

หน้าที่ ๑๖๔-๑๖๕.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

                                                                 ๑. วลาหกวรรค ๘. พลิวัททสูตร

๘. พลิวัททสูตร
ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนโคผู้
[๑๐๘] ภิกษุทั้งหลาย โคผู้ ๔ ชนิดนี้ โคผู้ ๔ ชนิด๑- อะไรบ้าง คือ ๑. โคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตน แต่ไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น ๒. โคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงอื่น แต่ไม่ข่มเหงโคฝูงตน ๓. โคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตนและข่มเหงโคฝูงอื่น ๔. โคผู้ที่ไม่ข่มเหงโคฝูงตนและไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น ภิกษุทั้งหลาย โคผู้ ๔ ชนิดนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำพวก๑- ไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตน แต่ไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น ๒. บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงอื่น แต่ไม่ข่มเหงโคฝูงตน ๓. บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตนและข่มเหงโคฝูงอื่น ๔. บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ไม่ข่มเหงโคฝูงตนและไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตน แต่ไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำให้ชนในบริษัทของตนหวาดกลัว แต่ไม่ทำให้ชน ในบริษัทของผู้อื่นหวาดกลัว บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตน แต่ไม่ ข่มเหงโคฝูงอื่น เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนโคผู้ที่ ข่มเหงโคฝูงตน แต่ไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงอื่น แต่ไม่ข่มเหงโคฝูงตน เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำให้ชนในบริษัทของผู้อื่นหวาดกลัว แต่ไม่ทำให้ ชนในบริษัทของตนหวาดกลัว บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงอื่น แต่ไม่ ข่มเหงโคฝูงตน เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนโคผู้ที่ ข่มเหงโคฝูงอื่น แต่ไม่ข่มเหงโคฝูงตน @เชิงอรรถ : @ ดู อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๖๒/๑๙๕-๑๙๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๖๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

                                                                 ๑. วลาหกวรรค ๙. รุกขสูตร

บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตนและข่มเหงโคฝูงอื่น เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำให้ชนในบริษัทของตนหวาดกลัวและทำให้ชนในบริษัท ของผู้อื่นหวาดกลัว บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตนและข่มเหงโคฝูงอื่น เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตน และข่มเหงโคฝูงอื่น บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ไม่ข่มเหงโคฝูงตนและไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ทำให้ชนในบริษัทของตนหวาดกลัวและไม่ทำให้ชน ในบริษัทของผู้อื่นหวาดกลัว บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ไม่ข่มเหงโคฝูงตนและไม่ ข่มเหงโคฝูงอื่น เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนโคผู้ที่ไม่ ข่มเหงโคฝูงตนและไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
พลิวัททสูตรที่ ๘ จบ
๙. รุกขสูตร
ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้
[๑๐๙] ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ ๔ ชนิดนี้ ต้นไม้ ๔ ชนิด๑- อะไรบ้าง คือ ๑. ต้นไม้เนื้ออ่อนและมีต้นไม้เนื้ออ่อน๒- แวดล้อม ๒. ต้นไม้เนื้ออ่อน แต่มีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม ๓. ต้นไม้เนื้อแข็ง แต่มีต้นไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม ๔. ต้นไม้เนื้อแข็งและมีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ ๔ ชนิดนี้แล @เชิงอรรถ : @ ดู อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๗๐/๒๐๓-๒๐๔ @ ต้นไม้เนื้ออ่อน แปลมาจากคำว่า เผคฺคุ ซึ่งโดยทั่วไป คำว่า เผคฺคุ แปลว่า กระพี้ แต่อรรถกถาแก้ว่า @“นิสฺสาโร เผคฺคุรุกฺโข” หมายถึงต้นไม้มีกระพี้ แต่ปราศจากแก่น (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๐๙/๓๗๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๖๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๑๖๔-๑๖๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=21&page=164&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=21&A=4859 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=21&A=4859#p164 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 21 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_21 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 https://84000.org/tipitaka/english/?index_21



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๖๔-๑๖๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]