ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

หน้าที่ ๑๗.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๑. ภัณฑคามวรรค ๑๐.โยคสูตร

ทิฏฐิโยคะ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ เครื่องสลัดทิฏฐิทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดทิฏฐิทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะ ทิฏฐิ ความเพลิดเพลินเพราะทิฏฐิ ความเยื่อใยเพราะทิฏฐิ ความหมกมุ่นเพราะทิฏฐิ ความกระหายเพราะทิฏฐิ ความเร่าร้อนเพราะทิฏฐิ ความติดเพราะทิฏฐิ ความ อยากเพราะทิฏฐิย่อมเกิดขึ้นในทิฏฐิทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทิฏฐิโยคะ กามโยคะ ภวโยคะ และทิฏฐิโยคะ เป็นอย่างนี้ อวิชชาโยคะ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ เครื่องสลัดผัสสายตนะ ๖ ประการออกไปตามความเป็นจริง เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่ง ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดผัสสายตนะ ๖ ประการออกไป ตามความเป็นจริง ความไม่รู้ ความไม่หยั่งรู้ย่อมเกิดขึ้นในผัสสายตนะ ๖ ประการ นี้เรียกว่า อวิชชาโยคะ กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ และอวิชชาโยคะ เป็นอย่างนี้ บุคคลผู้ประกอบด้วยบาปอกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมอง ทำให้เกิดในภพ ใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นผล มีชาติ ชรา และมรณะต่อไปอีก เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า ผู้ไม่มีความเกษม(ปลอด)จากโยคะ๑- ภิกษุทั้งหลาย โยคะ ๔ ประการนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ความพรากจากโยคะ ๔ ประการนี้ ความพรากจากโยคะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความพรากจากกามโยคะ ๒. ความพรากจากภวโยคะ ๓. ความพรากจากทิฏฐิโยคะ ๔. ความพรากจากอวิชชาโยคะ ความพรากจากกามโยคะ เป็นอย่างไร @เชิงอรรถ : @ ผู้ไม่มีความเกษมจากโยคะ ในที่นี้หมายถึงผู้ยังละโยคะไม่ได้ เพราะยังไม่ได้บรรลุนิพพานจากโยคะ ๔ @ประการ (คือ (๑) กามโยคะ โยคะคือกาม (๒) ภวโยคะ โยคะคือภพ (๓) ทิฏฐิโยคะ โยคะคือทิฏฐิ @(๔) อวิชชาโยคะ โยคะคืออวิชชา) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๐/๒๘๘-๒๘๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๗}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๑๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=21&page=17&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=21&A=477 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=21&A=477#p17 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 21 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_21 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 https://84000.org/tipitaka/english/?index_21



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๗.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]