ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

หน้าที่ ๓๐๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

                                                                 ๕. มหาวรรค ๘. อัตตันตปสูตร

หญ้าคาเท่านี้เพื่อบังและลาด’ แม้เหล่าชนทั้งที่เป็นทาส เป็นคนรับใช้ เป็นคนงาน ของพระราชานั้นก็ย่อมสะดุ้งต่ออาชญา สะดุ้งต่อภัย มีหน้านองด้วยน้ำตาร้องไห้ ทำการงานอยู่ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบใน การทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่น ให้เดือดร้อน เป็นอย่างนี้แล บุคคลเป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นอย่างไร คือ บุคคลนั้นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ เสวยสุข มีตนอันประเสริฐอยู่ในปัจจุบันเทียว ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเสด็จอุบัติขึ้นมาในโลกนี้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วย ตนเองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึก ผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็น พระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค ตถาคตรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ด้วยตนเองแล้ว ประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น๑- มีความงามในท่ามกลาง๒- และมีความงามในที่สุด๓- ประกาศพรหมจรรย์๔- พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน @เชิงอรรถ : @ หมายถึงศีล (ที.สี.อ. ๑๙๐/๑๕๙) @ หมายถึงอริยมรรค (ที.สี.อ. ๑๙๐/๑๕๙) @ หมายถึงพระนิพพาน (ที.สี.อ. ๑๙๐/๑๕๙) @ พรหมจรรย์ หมายถึงความประพฤติประเสริฐมีนัย ๑๐ ประการ คือ ทาน (การให้)เวยยาวัจจะ (การ @ขวนขวายช่วยเหลือ) ปัญจศีล (ศีลห้า) อัปปมัญญา (การประพฤติพรหมจรรย์อย่างไม่มีขอบเขต) เมถุน- @วิรัติ (การงดเว้นจากการเสพเมถุน) สทารสันโดษ (ความยินดีเฉพาะคู่ครองของตน) วิริยะ (ความเพียร) @อุโปสถังคะ (องค์อุโบสถ) อริยมรรค (ทางอันประเสริฐ) และศาสนา (พระพุทธศาสนา) ในที่นี้หมาย @ถึงศาสนา (ที.สี.อ. ๑๙๐/๑๖๐-๑๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๐๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๓๐๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=21&page=306&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=21&A=9126 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=21&A=9126#p306 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 21 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_21 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 https://84000.org/tipitaka/english/?index_21



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๐๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]