ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

หน้าที่ ๓๔๕.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

                                                                 ๔. กัมมวรรค ๑. สังขิตตสูตร

๔. กัมมวรรค
หมวดว่าด้วยกรรม
๑. สังขิตตสูตร
ว่าด้วยกรรมและวิบากแห่งกรรมโดยย่อ
[๒๓๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้เราทำ ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว จึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม กรรม ๔ ประการ๑- อะไรบ้าง คือ ๑. กรรมดำ๒- มีวิบากดำ๓- ๒. กรรมขาวมีวิบากขาว๔- ๓. กรรมทั้งดำและขาวมีวิบากทั้งดำและขาว ๔. กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว๕- เป็นไปเพื่อ ความสิ้นกรรม ภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้แลเราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว จึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม
สังขิตตสูตรที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๑๒/๒๐๕ @ กรรมดำในที่นี้หมายถึงอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ (ที.ปา. ๑๑/๓๖๐/๒๘๔, องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓๒/๔๔๐) @ วิบากดำ คือ มีผลนำสัตว์ให้เกิดในอบาย (ทางเสื่อม) มี ๔ ประการ คือ (๑) นิรยะ นรก, ภาวะ @เร่าร้อนกระวนกระวาย (๒) ติรัจฉานโยนิ กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน (๓) ปิตติวิสัย แดนเปรต (๔) อสุรกาย @พวกอสูร (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓๒/๔๔๐) @ กรรมขาว ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ (ตรงข้ามกับอกุศลกรรมบถ) มีวิบากขาว หมายถึง @มีสุขเป็นผล นำสัตว์ให้เกิดในสวรรค์ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓๒/๔๔๐) @ กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว ในที่นี้หมายถึงมรรคญาณ ญาณในอริยมรรค คือ ความหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จภาวะ @อริยบุคคล ๔ ประการ (โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค) ซึ่ง @เป็นเหตุทำให้ หมดกรรม มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาวในที่นี้หมายถึงไม่ให้วิบากทั้ง ๒ อย่าง @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓๒/๔๔๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๔๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๓๔๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=21&page=345&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=21&A=10280 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=21&A=10280#p345 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 21 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_21 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 https://84000.org/tipitaka/english/?index_21



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๔๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]