ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๒-๕.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๑. เสขพลวรรค ๒. วิตถตสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เสขพละ ๕ ประการ เสขพละ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัทธาพละ (กำลังคือศรัทธา) ๒. หิริพละ (กำลังคือหิริ) ๓. โอตตัปปพละ (กำลังคือโอตตัปปะ) ๔. วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ) ๕. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา) ภิกษุทั้งหลาย เสขพละ ๕ ประการนี้แล เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักเป็นผู้ ประกอบด้วยสัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ และปัญญาพละ อันเป็น เสขพละ’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิตของ พระผู้มีพระภาค
สังขิตตสูตรที่ ๑ จบ
๒. วิตถตสูตร
ว่าด้วยเสขพละโดยพิสดาร
[๒] ภิกษุทั้งหลาย เสขพละ ๕ ประการนี้ เสขพละ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัทธาพละ ๒. หิริพละ ๓. โอตตัปปพละ ๔. วิริยพละ ๕. ปัญญาพละ สัทธาพละ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา คือเชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของ ตถาคตว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๑. เสขพลวรรค ๒. วิตถตสูตร

ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค๑-’ นี้เรียกว่า สัทธาพละ @เชิงอรรถ : @ พระพุทธคุณทั้ง ๙ บทนี้ แต่ละบทมีอรรถอเนกประการ คือ @๑. ชื่อว่า เป็นพระอรหันต์ เพราะห่างไกลจากกิเลส, เพราะกำจัดข้าศึกคือกิเลส, เพราะหักซี่กำแห่ง @สังสาระคือการเวียนว่ายตายเกิด, เพราะเป็นผู้ควรรับไทยธรรม, เพราะไม่ทำบาปในที่ลับ @๒. ชื่อว่า ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยชอบและด้วยพระองค์เอง @๓. ชื่อว่า เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ คำว่า วิชชา หมายถึงวิชชา ๓ และวิชชา ๘ ดังนี้คือ @วิชชา ๓ ได้แก่ (๑) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้ที่ให้ระลึกชาติได้ (๒) จุตูปปาตญาณ ความรู้จุติ(ตาย) @และอุบัติ(เกิด) ของสัตว์ (๓) อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ วิชชา ๘ ได้แก่ (๑) วิปัสสนาญาณ @ญาณที่เป็นวิปัสสนา (๒) มโนมยิทธิ มีฤทธิ์ทางใจ (๓) อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ (๔) ทิพพโสต หูทิพย์ @(๕) เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนดจิตผู้อื่นได้ (๖) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้ที่ให้ระลึกชาติได้ (๗) ทิพพ- @จักขุ ตาทิพย์ หรือเรียกว่าจุตูปปาตญาณ (๘) อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ คำว่า จรณะ @หมายถึงจรณะ ๑๕ ได้แก่ (๑) สีลสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยศีล (๒) อินทรีย์สังวร การสำรวมอินทรีย์ @(๓) โภชเนมัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค (๔) ชาคริยานุโยค การหมั่นประกอบ @ความเพียรเป็นเครื่องตื่น (๕) มีศรัทธา (๖) มีหิริ (๗) มีโอตตัปปะ (๘) เป็นพหูสูต (๙) วิริยารัมภะ @ปรารภความเพียร (๑๐) มีสติมั่นคง (๑๑) มีปัญญา (๑๒) ปฐมฌาน (๑๓) ทุติยฌาน (๑๔) ตติยฌาน @(๑๕) จตุตถฌาน @๔. ชื่อว่า ผู้เสด็จไปดี เพราะทรงดำเนินรุดหน้าไปไม่หวนกลับคืนมาหากิเลสที่ทรงละได้แล้ว และยังมี @อรรถว่าตรัสไว้ดี เพราะทรงกล่าวคำที่ควรในฐานะที่ควร @๕. ชื่อว่า ผู้รู้แจ้งโลก เพราะทรงรู้แจ้งโลก เหตุเกิดโลก ความดับโลก วิธีปฏิบัติให้ลุถึงความดับโลก @(ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค)และทรงรู้แจ้งโลกทั้ง ๓ คือสังขารโลก สัตวโลก โอกาสโลก @๖. ชื่อว่า สารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เพราะทรงฝึกฝนคนที่ควรฝึกฝน ทั้งเทวดา มนุษย์ @สัตว์ดิรัจฉานด้วยอุบายต่างๆ @๗. ชื่อว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพราะทรงสั่งสอนทั้งเทวดาและมนุษย์ด้วย @ประโยชน์ในโลกนี้และประโยชน์ในโลกหน้า ผู้ปฏิบัติตามแล้วสำเร็จมรรคผลในโลกนี้บ้าง จุติไปเกิดใน @สวรรค์กลับมาฟังธรรมแล้วสำเร็จผลบ้าง ทรงช่วยเหลือหมู่สัตว์ให้พ้นความกันดารคือความเกิด @๘. ชื่อว่า เป็นพระพุทธเจ้า เพราะทรงรู้สิ่งที่ควรรู้ทั้งหมดด้วยพระองค์เองและทรงสอนผู้อื่นให้รู้ตาม @๙. ชื่อว่า เป็นพระผู้มีพระภาค เพราะ (๑) ทรงมีโชค (๒) ทรงทำลายข้าศึกคือกิเลส (๓) ทรงประกอบ @ด้วยภคธรรม ๖ ประการ (คือ ความเป็นใหญ่เหนือจิตของตน, โลกุตตรธรรม, ยศ, สิริ, ความสำเร็จประโยชน์ @ตามต้องการ และความเพียร) (๔) ทรงจำแนกแจกแจงธรรม (๕) ทรงเสพอริยธรรม (๖) ทรงคายตัณหา @ในภพทั้งสาม (๗) ทรงเป็นที่เคารพของชาวโลก (๘) ทรงอบรมพระองค์ดีแล้ว (๙) ทรงมีส่วนแห่งปัจจัย ๔ @เป็นต้น (ตามนัย วิ.อ. ๑/๑/๑๐๓-๑๑๘, สารตฺถ.ฏีกา ๑/๒๗๐, วิสุทฺธิ. ๑/๑๒๔-๑๔๕/๒๑๕-๒๓๒) @อนึ่ง พุทธคุณนี้ท่านแบ่งเป็น ๑๐ ประการ โดยแยกพุทธคุณข้อ ๖ เป็น ๒ ประการ คือ (๑) เป็นผู้ @ยอดเยี่ยม (๒) เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้ (วิสุทฺธิ. ๑/๑๓๘-๑๓๙/๒๒๖-๒๒๗, วิ.อ. ๑/๑/๑๑๒-๑๑๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๑. เสขพลวรรค ๒. วิตถตสูตร

หิริพละ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีหิริ คือละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ละอายต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า หิริพละ โอตตัปปพละ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีโอตตัปปะ คือสะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า โอตตัปปพละ วิริยพละ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้อยู่ปรารภความเพียร๑- เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้ กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง๒- มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้ง หลายอยู่ นี้เรียกว่า วิริยพละ ปัญญาพละ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา คือประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ๓- ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์ โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญาพละ @เชิงอรรถ : @ ปรารภความเพียร ในที่นี้หมายถึงทำความเพียรทางกายและทางใจไม่ย่อหย่อน @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๙๔/๔๔๐, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒/๑) @ มีความเข้มแข็ง ในที่นี้หมายถึงมีกำลังความเพียร (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒/๑) @ ปัญญา ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาปัญญาและมัคคปัญญา @ความเกิดและความดับ ในที่นี้หมายถึงความเกิดและความดับแห่งเบญจขันธ์ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา @สังขาร และวิญญาณ @อริยะ ในที่นี้หมายถึงบริสุทธิ์อยู่ห่างไกลจากกิเลสทั้งหลายด้วยวิกขัมภนปหานะ (การละด้วยการข่มไว้) @และด้วยสมุจเฉทปหานะ(การละด้วยการตัดขาด) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒/๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๑. เสขพลวรรค ๓. ทุกขสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เสขพละ ๕ ประการนี้แล ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เรา ทั้งหลายจักเป็นผู้ประกอบด้วยสัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ และ ปัญญาพละ อันเป็นเสขพละ’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
วิตถตสูตรที่ ๒ จบ
๓. ทุกขสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้อยู่เป็นทุกข์
[๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เดือดร้อน๑- คับแค้นใจ เร่าร้อน๒- ในภพนี้แล หลังจากตายแล้วพึงหวังได้ทุคติ๓- ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ ๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้เกียจคร้าน ๕. เป็นผู้มีปัญญาทราม ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เดือดร้อน คับแค้นใจ เร่าร้อนในภพนี้แล หลังจากตายแล้วพึงหวังได้ทุคติ ส่วนภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมอยู่เป็นสุข ไม่เดือดร้อน ไม่คับ แค้นใจ ไม่เร่าร้อนในภพนี้แล หลังจากตายแล้วพึงหวังได้สุคติ @เชิงอรรถ : @ เดือดร้อน ในที่นี้หมายถึงมีการถูกกำจัด มีอันตราย (อุปัททวะ) (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๗๕/๑๕๓) @ เร่าร้อน ในที่นี้หมายถึงเร่าร้อนทางกายและเร่าร้อนทางใจ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๗๕/๑๕๓) @ พึงหวังได้ (ปาฏิกงฺขา) ในที่นี้หมายถึงจำต้องปรารถนา จำต้องมีแน่นอนหรือจำต้องบังเกิดในคตินั้นๆ แน่นอน @ทุคติ หมายถึงทุคติ ๔ คือ นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์ดิรัจฉาน (องฺ.ติก.อ. ๒/๗๐/๒๑๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒-๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=22&page=2&pages=4&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=23 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=22&A=23#p2 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒-๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]