ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๒๓๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

                                                                 ๕. ติกัณฑกีวรรค ๔. ติกัณฑกีสูตร

๔. บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ซึ่งผู้อื่นแสดงแล้ว เป็นผู้ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม๑- หาได้ยากในโลก ๕. กตัญญูกตเวทีบุคคล๒- หาได้ยากในโลก เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการนี้แล หาได้ยากในโลก
สารันททสูตรที่ ๓ จบ
๔. ติกัณฑกีสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่ป่าติกัณฑกีวัน
[๑๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าติกัณฑกีวัน เขตเมือง สาเกต ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ๑. ภิกษุพึงมีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูล๓- ตามกาลอันควร ๒. ภิกษุพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูล๔- ตามกาลอันควร ๓. ภิกษุพึงมีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูล ตามกาลอันควร ๔. ภิกษุพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูล ตามกาลอันควร @เชิงอรรถ : @ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม หมายถึงปฏิบัติข้อปฏิบัติเบื้องต้นพร้อมทั้งศีล เพื่อบรรลุโลกุตตรธรรม ๙ @ประการ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๓/๕๖) @ กตัญญูกตเวทีบุคคล หมายถึงบุคคลที่รู้อุปการคุณที่ผู้อื่นกระทำแก่ตนแล้วกระทำปฏิการคุณตอบแทน @พร้อมทั้งประกาศเกียรติคุณให้ปรากฏ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๑๕/๒๖๑) @ มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูล หมายถึงมีความกำหนดหมายในอารมณ์ที่น่าปรารถนาว่าเป็นสิ่งไม่งาม @หรือพิจารณาเห็นว่าเป็นสิ่งไม่เที่ยง (ตามนัย องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๔/๕๖) @ มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูล หมายถึงมีความกำหนดหมายในอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนาว่าเป็นสิ่งที่ @ควรแผ่เมตตา และพิจารณาเห็นว่าเป็นเพียงธาตุ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๔/๕๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๓๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒๓๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=22&page=239&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=6765 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=22&A=6765#p239 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๓๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]