ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๒๗๗.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

                                                                 ๒. อาฆาตวรรค ๗. โจทนาสูตร

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุเถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็น ที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อุปวานะ ภิกษุเถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อน พรหมจารีทั้งหลาย หากภิกษุเถระไม่มีธรรม ๕ ประการนี้ เพื่อนพรหมจารี ทั้งหลายจะสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเธอเพราะความเป็นผู้มีฟันหัก มีผมหงอก มีหนังย่น เพื่ออะไร แต่เพราะภิกษุเถระมีธรรม ๕ ประการนี้ เพื่อนพรหมจารี ทั้งหลายจึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเธอ”
นิโรธสูตรที่ ๖ จบ
๗. โจทนาสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้เป็นโจทก์๑-
[๑๖๗] ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุ ทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งมั่นธรรม ๕ ประการไว้ในตน แล้วจึงโจทผู้อื่น ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เราจักกล่าวในกาลอันควร จักไม่กล่าวในกาลอันไม่ควร ๒. เราจักกล่าวถ้อยคำจริง จักไม่กล่าวถ้อยคำไม่จริง ๓. เราจักกล่าวถ้อยคำอ่อนหวาน จักไม่กล่าวถ้อยคำหยาบ ๔. เราจักกล่าวถ้อยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวถ้อยคำ อันไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๕. เราจักมีเมตตาจิตกล่าว จักไม่เพ่งโทษกล่าว @เชิงอรรถ : @ ผู้เป็นโจทก์ ในที่นี้หมายถึงผู้โจทก์ด้วยเรื่องสำหรับโจท ๔ อย่าง คือ (๑) วัตถุสันทัสสนา แสดงเรื่องที่ต้องอาบัติ @(๒) อาปัตติสันทัสสนา แสดงอาบัติที่ล่วงละเมิด (๓) สังวาสัปปฏิกเขปะ ห้ามสังวาสคือไม่ร่วมสังฆกรรม @มีอุโบสถกรรมและปวารณากรรมเป็นต้น (๔) สามีจิปฏิกเขปะ ไม่ทำสามีจิกรรมมีการกราบไหว้เป็นต้น @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๖๗/๖๕, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๖๗-๙-๖/๖๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๗๗}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒๗๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=22&page=277&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=7823 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=22&A=7823#p277 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๗๗.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]