ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๓๔๐-๓๔๒.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

                                                                 ๕. พราหมณวรรค ๑๐. นิสสารณียสูตร

๑๐. นิสสารณียสูตร
ว่าด้วยธาตุที่สลัด
[๒๐๐] ภิกษุทั้งหลาย ธาตุ๑- ที่สลัด ๕ ประการนี้ ธาตุที่สลัด ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อมนสิการกามทั้งหลาย๒- จิตของเธอย่อมไม่ แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในกามทั้งหลาย แต่เมื่อเธอ มนสิการเนกขัมมะ๓- จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไป ในเนกขัมมะ จิต๔- นั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว เจริญดี แล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากกามทั้งหลาย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ๕- และความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น๖- ซึ่งเกิดขึ้นเพราะกามเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น นี้เรา กล่าวว่าธาตุที่สลัดกามทั้งหลาย ๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อมนสิการพยาบาท จิตของเธอย่อมไม่ แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในพยาบาท แต่เมื่อเธอ มนสิการความไม่พยาบาท จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในความไม่พยาบาท จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดี @เชิงอรรถ : @ ธาตุ หมายถึงสภาวะที่ว่างจากอัตตา (อัตตสุญญสภาวะ) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๐/๘๒) หรือสภาวะที่ @ปราศจากชีวะ ในที่นี้หมายถึงธัมมธาตุและมโนวิญญาณธาตุขั้นพิเศษ (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๐๐/๙๑) @ มนสิการถึงกามทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงเมื่อออกจากอสุภฌาน(เพ่งความไม่งาม)แล้วส่งจิตคิดถึงกามคุณ @เพื่อตรวจดูจิตว่า ‘บัดนี้ จิตเราแน่วแน่ต่อเนกขัมมะหรือไม่ กามวิตกยังเกิดขึ้นอยู่หรือไม่’ เหมือนคนจับงู @พิษเพื่อทดลองดูว่างูมีพิษหรือไม่ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๐/๘๒, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๐๐/๙๑) @ เนกขัมมะ ในที่นี้หมายถึงปฐมฌานในอสุภะทั้งหลาย (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๐/๘๒) @ จิต ในทีนี้หมายถึงอสุภฌานจิต (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๐/๘๒) @ อาสวะ ในที่นี้หมายถึงอาสวะ ๔ คือ กามาสวะ อาสวะคือกาม ภวาสวะ อาสวะคือภพ ทิฏฐาสวะ อาสวะ @คือทิฏฐิ อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา (สํ.สฬา.อ. ๓/๕๓-๖๒/๑๔, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๘/๑๔๐, @องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๕๘/๑๕๔-๑๖๒) @ ความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น หมายถึงความเร่าร้อนเพราะกิเลสหรือความเร่าร้อนเพราะวิบากกรรมที่ @ก่อความคับแค้นใจ หรือให้เกิดทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจอันเป็นผลมาจากอาสวะ @(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๘/๑๔๐, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๕๘/๑๕๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๔๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

                                                                 ๕. พราหมณวรรค ๑๐. นิสสารณียสูตร

แล้ว เจริญดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้ว จากพยาบาท เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ และความเร่าร้อนที่ก่อ ความคับแค้นซึ่งเกิดขึ้นเพราะพยาบาทเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวย เวทนานั้น นี้เรากล่าวว่าธาตุที่สลัดพยาบาท ๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อมนสิการวิหิงสา จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในวิหิงสา แต่เมื่อเธอมนสิการ อวิหิงสา จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในอวิหิงสา จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว เจริญดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากวิหิงสา เธอหลุดพ้นแล้วจาก อาสวะ และความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นซึ่งเกิดขึ้นเพราะวิหิงสา เป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น นี้เรากล่าวว่าธาตุที่สลัด วิหิงสา ๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อมนสิการรูปทั้งหลาย จิตของเธอย่อมไม่ แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในรูปทั้งหลาย แต่เมื่อเธอ มนสิการอรูป จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในอรูป จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว เจริญดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากรูปทั้งหลาย เธอหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะ และความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นซึ่งเกิดขึ้นเพราะรูป เป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น นี้เรากล่าวว่าธาตุที่สลัดรูป ทั้งหลาย ๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อมนสิการสักกายะ๑- จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในสักกายะ แต่เมื่อมนสิการถึง สักกายนิโรธ(ความดับสักกายะ) จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ @เชิงอรรถ : @ มนสิการสักกายะ หมายถึงวิธีการที่พระอรหันต์สุกขวิปัสสกะ(ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วนๆ)ผู้เห็นนิพพานด้วย @อรหัตตมรรคและอรหัตตผลออกจากผลสมาบัติแล้ว ส่งจิตในอรหัตตผลสมาบัติไปยังอุปาทานขันธ์ ๕ คือ @รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเพื่อจะทดสอบดูว่า ‘ความยึดมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ @ว่าเป็นอัตตา ยังมีอยู่หรือไม่’ (ตามนัย องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๐/๘๓) @อนึ่ง ๔ วิธีแรก เป็นวิธีของท่านผู้เป็นสมถยานิก (ผู้บำเพ็ญสมถกัมมัฏฐาน) แต่วิธีที่ ๕ เป็นวิธีของ @ท่านผู้เป็นวิปัสสนายานิก (ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วน) (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๐๐/๙๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๔๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

                                                                 ๕. พราหมณวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

น้อมไปในสักกายนิโรธ จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว เจริญดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจาก สักกายะ เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ และความเร่าร้อนที่ก่อ ความคับแค้นซึ่งเกิดขึ้นเพราะสักกายะเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวย เวทนานั้น นี้เรากล่าวว่าธาตุที่สลัดสักกายะ ความเพลิดเพลินในกามย่อมไม่เกิดแก่เธอ ความเพลิดเพลินในพยาบาทก็ ไม่เกิด ความเพลิดเพลินในวิหิงสาก็ไม่เกิด ความเพลิดเพลินในรูปก็ไม่เกิด ความ เพลิดเพลินในสักกายะก็ไม่เกิด เพราะความเพลิดเพลินในกามไม่เกิด เพราะความเพลิดเพลินในพยาบาทไม่เกิด เพราะความเพลิดเพลินในวิหิงสาไม่เกิด เพราะความเพลิดเพลินในรูปไม่เกิด และ เพราะความเพลิดเพลินในสักกายะไม่เกิดแก่เธอ ภิกษุนี้เราจึงเรียกว่า เป็นผู้ไม่มี อาลัย๑- ตัดตัณหาได้แล้ว คลายสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะ ได้โดยชอบ ภิกษุทั้งหลาย ธาตุที่สลัด ๕ ประการนี้แล
นิสสารณียสูตรที่ ๑๐ จบ
พราหมณวรรคที่ ๕ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. โสณสูตร ๒. โทณพราหมณสูตร ๓. สังคารวสูตร ๔. การณปาลีสูตร ๕. ปิงคิยานีสูตร ๖. มหาสุปินสูตร ๗. วัสสสูตร ๘. วาจาสูตร ๙. กุลสูตร ๑๐. นิสสารณียสูตร
จตุตถปัณณาสก์ จบ
@เชิงอรรถ : @ อาลัย ในที่นี้หมายถึงกามคุณ ๕ (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) หรือหมายถึงวัฏฏะ (กิเลสวัฏฏะ, @กัมมวัฏฏะ, วิปากวัฏฏะ) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๒๘/๓๗๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๔๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๓๔๐-๓๔๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=22&page=340&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=9600 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=22&A=9600#p340 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๔๐-๓๔๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]