ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๓๕-๓๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๓. ปัญจังคิกวรรค ๗. สมาธิสูตร

ปราโมทย์ เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นเหตุ แห่งวิมุตติประการที่ ๕ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท ฯลฯ หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ ยังไม่ได้บรรลุ ภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้แล ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะ ที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจาก โยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ
วิมุตตายตนสูตรที่ ๖ จบ
๗. สมาธิสูตร
ว่าด้วยการเจริญสมาธิเพื่อให้ญาณเกิดขึ้น
[๒๗] ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีปัญญาเครื่องรักษาตน มีสติ เจริญ อัปปมาณสมาธิ๑- เถิด เมื่อเธอมีปัญญาเครื่องรักษาตน มีสติ เจริญอัปปมาณสมาธิอยู่ ญาณ๒- ๕ ประการ ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตน ญาณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘สมาธิ๓- นี้มีสุขในปัจจุบัน และมีสุข เป็นวิบากต่อไป’ ๒. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘สมาธินี้เป็นอริยะ ปราศจากอามิส๔-’ ๓. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘สมาธินี้อันคนเลวเสพไม่ได้’ @เชิงอรรถ : @ อัปปมาณสมาธิ หมายถึงสมาธิระดับโลกุตตระอันปราศจากกิเลส ที่แสดงลักษณะหรือจริตของบุคคล @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๗/๙, องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๑๐๑/๒๔๘) @ ญาณ ๕ ในที่นี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปัจจเวกขณญาณ ๕ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๗/๙) @ สมาธิ ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผลสมาธิ หรือมัคคสมาธิ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๗/๙) @ อามิส ในที่นี้หมายถึงกาม วัฏฏะ และโลก (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๗/๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๓. ปัญจังคิกวรรค ๘. ปัญจังคิกสูตร

๔. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘สมาธินี้สงบ ประณีต ได้ด้วยความ สงบระงับ บรรลุได้ด้วยภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น และมิใช่บรรลุได้ ด้วยการข่มธรรมที่เป็นข้าศึก ห้ามกิเลสด้วยสสังขารจิต๑-’ ๕. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘เรามีสติเข้าสมาธินี้ได้ มีสติออก จากสมาธินี้ได้’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีปัญญาเครื่องรักษาตน มีสติ เจริญอัปปมาณ- สมาธิเถิด เมื่อเธอทั้งหลายมีปัญญาเครื่องรักษาตน มีสติ เจริญอัปปมาณสมาธิอยู่ ญาณ ๕ ประการนี้แล ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตน
สมาธิสูตรที่ ๗ จบ
๘. ปัญจังคิกสูตร
ว่าด้วยการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕
[๒๘] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันเป็นอริยะ๒- เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจได้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง พระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า การเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันเป็นอริยะ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุ ปฐมฌานที่มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เธอทำกาย นี้แลให้ชุ่มชื่นอิ่มเอิบ ซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก ไม่มี ส่วนไหนๆ แห่งกาย ของเธอทั่วทั้งตัวที่ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก จะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนานหรือลูกมือพนักงาน สรงสนานผู้ฉลาด จะพึงใส่ผงสีตัวลงในภาชนะสำริดแล้วพรมด้วย น้ำหมักไว้ ตกเวลาเย็นผงสีตัวจับตัวติดเป็นก้อน ไม่กระจายออก @เชิงอรรถ : @ หมายถึงมิใช่สมาธิระดับปฐมฌานที่เพียงแต่ข่มนิวรณ์ หรือห้ามกิเลสอื่นได้ด้วยสสังขารจิต คือ จิตที่มี @ความเพียรพยายามเท่านั้น แต่เป็นสมาธิที่สงบระงับกิเลสได้ บรรลุได้โดยไม่ต้องเพียรพยายาม @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๗/๙, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๗/๑๔) @ อริยะ ในที่นี้หมายถึงการอยู่ห่างไกลจากกิเลสที่ละได้ด้วยวิกขัมภนปหานะ (การละกิเลสด้วยการข่มไว้) @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๘/๑๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๓๕-๓๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=22&page=35&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=991 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=22&A=991#p35 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๕-๓๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]