ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๓๙๙-๔๐๐.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๑. สัมมุติเปยยาล ๑. ภัตตุทเทสกสูตร

๑. สัมมุติเปยยาล
๑. ภัตตุทเทสกสูตร
ว่าด้วยภิกษุภัตตุทเทสกะ๑-
[๒๗๒] พระผู้มีพระภาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นภัตตุทเทสกะ ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง ๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว ๕. ไม่รู้จักภัตตาหารที่แจกแล้วและภัตตาหารที่ยังมิได้แจก๒- ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้ เป็นภัตตุทเทสกะ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็น ภัตตุทเทสกะ ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง ๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๕. รู้จักภัตตาหารที่แจกแล้วและภัตตาหารที่ยังมิได้แจก @เชิงอรรถ : @ ภัตตุทเทสกะ แปลว่า ผู้แจกภัตตาหาร หมายถึงภิกษุผู้ได้รับการแต่งตั้งจากสงฆ์ให้มีหน้าที่จัดพระรับ @ภัตตาหาร ดูเทียบในวิ.มหา. (แปล) ๑/๓๘๐-๓๘๓/๔๑๒-๔๑๕, วิ.จู. ๖/๑๘๙-๑๙๒/๒๒๒-๒๒๕, @องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๐/๓๑-๓๒, วิ.อ. ๓/๓๒๕/๓๕๗-๓๖๗ ประกอบ @ ดู วิ.ม. (แปล) ๕/๓๔๒/๒๐๓ ประกอบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๙๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๑. สัมมุติเปยยาล ๑. ภัตตุทเทสกสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็น ภัตตุทเทสกะ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็น ภัตตุทเทสกะ ถึงแต่งตั้งแล้ว ก็ไม่พึงส่งไป๑- ฯลฯ สงฆ์แต่งตั้งแล้ว พึงส่งไป ฯลฯ พึงทราบว่าเป็นพาล ฯลฯ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ฯลฯ บริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย ฯลฯ บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ฯลฯ ย่อมดำรงอยู่ ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้ ฯลฯ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไป ประดิษฐานไว้ ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง ๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๕. รู้จักภัตตาหารที่แจกแล้วและภัตตาหารที่ยังมิได้แจก ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นภัตตุทเทสกะประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ภัตตุทเทสกสูตรที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ ไม่พึงส่งไป ในที่นี้หมายถึงไม่พึงให้จัดการเรื่องกิจนิมนต์ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๗๒/๙๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๐๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๓๙๙-๔๐๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=22&page=399&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=11185 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=22&A=11185#p399 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๙๙-๔๐๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]