ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๔๒๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๒. สารณียวรรค ๓. นิสสารณียสูตร

๓. นิสสารณียสูตร
ว่าด้วยธาตุที่สลัด
[๑๓] ภิกษุทั้งหลาย ธาตุที่สลัด ๖ ประการนี้ ธาตุ๑- ที่สลัด ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญเมตตา เจโตวิมุตติแล้ว๒- ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่พยาบาทก็ยัง ครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอว่า ‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่าได้ กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุ ได้เจริญเมตตาโจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ พยาบาทก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะเมตตาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดพยาบาท ๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญกรุณาเจโต- วิมุตติ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่วิหิงสา (ความเบียดเบียน) ก็ยังครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือน เธอว่า ‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค ไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้ เลยที่ภิกษุได้เจริญกรุณาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็น ดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภ ดีแล้ว แต่วิหิงสาก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ ได้เลย เพราะกรุณาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดวิหิงสา @เชิงอรรถ : @ ธาตุ หมายถึงสภาวะที่ว่างจากอัตตา (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๐/๘๒) หรือหมายถึงสภาวะที่ปราศจากชีวะ @ในที่นี้หมายถึงธัมมธาตุขั้นพิเศษ (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๐๐/๙๑) @ เมตตาเจโตวิมุตติ หมายถึงเมตตาที่เกิดจากตติยฌาน และจตุตถฌาน เพราะพ้นจากปัจจนีธรรม (ธรรมที่ @เป็นข้าศึก) กล่าวคือนิวรณ์ ๕ ประการ ได้แก่ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗/๔๒, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๓/๑๐๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๒๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๔๒๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=22&page=429&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=12002 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=22&A=12002#p429 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๒๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]