ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๔๘๓.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๔. เทวตาวรรค ๕. วิชชาภาคิยสูตร

ไม่มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ไม่มีความเลื่อมใสในอันไม่หวั่นไหวใน พระสงฆ์ ไม่มีศีลที่พระอริยะใคร่เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีเหล่านั้นไม่มีญาณอย่าง นี้ว่า ‘เราเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวัน ข้างหน้า’ ท่านพระโมคคัลลานะผู้ไม่มีทุกข์ ส่วนเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีเหล่าใด มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ มีศีลที่พระอริยะใคร่ เทวดาชั้นปรนิม- มิตวสวัตดีเหล่านั้นจึงมีญาณอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่ นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า” ลำดับนั้น ท่านพระโมคคัลลานะชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของติสสพรหมแล้ว หายไปจากพรหมโลกมาปรากฏ ณ พระเชตวัน เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออก หรือคู้แขนเข้า
มหาโมคคัลลานสูตรที่ ๔ จบ
๕. วิชชาภาคิยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นส่วนแห่งวิชชา
[๓๕] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้ เป็นส่วนแห่งวิชชา ธรรม๑- ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อนิจจสัญญา ๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา ๓. ทุกเข อนัตตสัญญา @เชิงอรรถ : @ อนิจจสัญญา หมายถึงสัญญาที่เกิดขึ้นในญาณที่พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง @อนิจเจ ทุกขสัญญา หมายถึงสัญญาที่เกิดขึ้นในญาณที่พิจารณาเห็นความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยง @ทุกเข อนัตตสัญญา หมายถึงสัญญาที่เกิดขึ้นในญาณที่พิจารณาเห็นความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์ @ปหานสัญญา หมายถึงสัญญาที่เกิดขึ้นในญาณที่พิจารณาเห็นการละกิเลส @วิราคสัญญา หมายถึงสัญญาที่เกิดขึ้นในญาณที่พิจารณาเห็นวิราคะ (ความคลายกำหนัด) @นิโรธสัญญา หมายถึงสัญญาที่เกิดขึ้นในญาณที่พิจารณาเห็นนิโรธ (ความดับแห่งกิเลส) @(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๓๕/๑๑๖) และดู องฺ.สตฺตก. ๒๓/๔๘-๔๙/๔๐-๔๖, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๕๖/๑๒๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๘๓}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๔๘๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=22&page=483&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=13610 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=22&A=13610#p483 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๘๓.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]