ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๔๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๔. สุมนวรรค ๒. จุนทีสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราชกุมารพระนามว่าจุนทะ พระภาดาของหม่อมฉัน กล่าวอย่างนี้ว่า ‘หญิงหรือชายก็ตาม ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่า เป็นสรณะ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการ ประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ และเว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือ สุราและเมรัย๑- อันเป็นเหตุแห่งความประมาท ผู้นั้นหลังจากตายแล้วย่อมไปเกิดใน สุคติอย่างเดียว ไม่เกิดในทุคติ’ หม่อมฉันจึงขอทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ‘ผู้เลื่อม ใสในศาสดาเช่นไร หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติอย่างเดียว ไม่เกิดในทุคติ ผู้เลื่อมใสในธรรมเช่นไร หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติอย่างเดียว ไม่เกิดในทุคติ ผู้เลื่อมใสในสงฆ์เช่นไร หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติอย่างเดียว ไม่เกิดในทุคติ ผู้ที่ทำให้ศีลเช่นไรบริบูรณ์ หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติอย่างเดียว ไม่เกิดใน ทุคติ’ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “จุนที สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้า มีสองเท้า มีสี่เท้า หรือมีเท้ามากก็ตาม มีรูปหรือไม่มีรูปก็ตาม มีสัญญา ไม่มีสัญญา หรือมีสัญญา ก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ก็ตาม มีประมาณเท่าใด ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าสัตว์มีประมาณเท่านั้น ผู้ที่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ชื่อว่า เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ @เชิงอรรถ : @ สุราและเมรัย หมายถึงสุรา ๕ อย่าง คือ (๑) สุราแป้ง (๒) สุราขนม (๓) สุราข้าวสุก (๔) สุราใส่เชื้อ @(๕) สุราผสมเครื่องปรุง และเมรัย ๕ อย่าง คือ (๑) เครื่องดองดอกไม้ (๒) เครื่องดองผลไม้ (๓) เครื่องดอง @น้ำอ้อย (๔) เครื่องดองผสมเครื่องปรุง (๕) เครื่องดองน้ำผึ้ง (ขุ.ขุ.อ. ๒/๑๗-๑๘) @ส่วนใน องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๙/๖๙, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๗๙/๖๖ อธิบายว่าเมรัยมี ๔ อย่าง กล่าวคือ @ไม่มีเครื่องดองผสมเครื่องปรุง @คำว่า ‘เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย’ อาจแปลได้อีกว่า ‘เว้นขาดจากการเสพสุรา @เมรัยและของมึนเมา’ ตามนัยนี้คือ ‘ตทุภยเมว (สุราเมรยํ) มทนียฏฺเฐน มชฺชํ, ยํ วา ปนญฺญมฺปิ กญฺจิ มทนียํ’ @แปลว่า สุราและเมรัย ทั้งสองนั้นแหละเป็นของมึนเมา เพราะเป็นเหตุให้เมา และยังมีสิ่งอื่นอีกที่เป็นของ @มึนเมา (ขุ.ขุ.อ. ๒/๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๔๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=22&page=49&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=1411 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=22&A=1411#p49 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]