ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๔๙๑-๔๙๒.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๔. เทวตาวรรค ๑๐. กิมมิลสูตร

โทสะไม่เกิดขึ้นเพราะอโทสะ แท้จริง อโทสะเท่านั้นเกิดขึ้นเพราะอโทสะ โมหะไม่เกิดขึ้นเพราะอโมหะ แท้จริง อโมหะเท่านั้นเกิดขึ้นเพราะอโมหะ นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน แดนเปรต หรือแม้ทุคติอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ปรากฏ เพราะกรรมที่เกิดจากอโลภะ เพราะกรรมที่เกิดจากอโทสะ และเพราะกรรมที่เกิด จากอโมหะ แท้จริง เทวดา มนุษย์ทั้งหลาย หรือแม้สุคติอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมปรากฏ เพราะกรรมที่เกิดจากอโลภะ เพราะกรรมที่เกิดจากอโทสะ และเพราะกรรมที่เกิด จากอโมหะ ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการนี้แล
นิทานสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. กิมมิลสูตร
ว่าด้วยท่านพระกิมมิละ
[๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าไผ่ เขตเมืองกิมมิลา ครั้งนั้น ท่านพระกิมมิละเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุปัจจัยให้พระสัทธรรมไม่ดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “กิมมิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้ ๑. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในศาสดา ๒. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในธรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๙๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๔. เทวตาวรรค ๑๐. กิมมิลสูตร

๓. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสงฆ์ ๔. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสิกขา ๕. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในความไม่ประมาท ๖. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในปฏิสันถาร กิมมิละ นี้แล เป็นเหตุปัจจัยให้สัทธรรมไม่ดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อตถาคต ปรินิพพานแล้ว” ท่านกิมมิละทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุปัจจัยให้ พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “กิมมิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้ ๑. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในศาสดา ๒. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในธรรม ๓. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในสงฆ์ ๔. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในสิกขา ๕. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในความไม่ประมาท ๖. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในปฏิสันถาร กิมมิละ นี้แล เป็นเหตุปัจจัยให้สัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อตถาคต ปรินิพพานแล้ว”
กิมมิลสูตรที่ ๑๐ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๙๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๔๙๑-๔๙๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=22&page=491&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=13850 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=22&A=13850#p491 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๙๑-๔๙๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]