ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๕๓๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๖. มหาวรรค ๑. โสณสูตร

ครั้งนั้น ท่านพระโสณะผู้ได้บรรลุอรหัตตผลแล้ว ได้มีความคิดดังนี้ว่า “ทาง ที่ดี เราควรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วพยากรณ์อรหัตตผลในสำนัก พระผู้มีพระภาคเถิด” จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ ย่อมน้อมไป๑- ในฐานะ ๖ ประการ๒- คือ ๑. น้อมไปในเนกขัมมะ ๒. น้อมไปในปวิเวก ๓. น้อมไปในความไม่เบียดเบียน ๔. น้อมไปในความสิ้นตัณหา ๕. น้อมไปในความสิ้นอุปาทาน ๖. น้อมไปในความไม่ลุ่มหลง บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัยนี้สำคัญไปว่า ‘ท่านรูปนี้อาศัยคุณเพียง ศรัทธาอย่างเดียวเป็นแน่ จึงน้อมไปในเนกขัมมะ’ แต่ข้อนี้ไม่พึงเห็นอย่างนั้น เพราะพระขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่เห็นว่าตน ยังจะต้องทำกิจอะไรอีก หรือต้องไปสั่งสมกิจที่ทำแล้ว๓- ย่อมน้อมไปในเนกขัมมะ เพราะสิ้นราคะ เพราะปราศจากราคะ ย่อมน้อมไปในเนกขัมมะเพราะสิ้นโทสะ เพราะ ปราศจากโทสะ ย่อมน้อมไปในเนกขัมมะเพราะสิ้นโมหะ เพราะปราศจากโมหะ @เชิงอรรถ : @ คำว่า น้อมไป แปลจากบาลีว่า ‘อธิมุตฺโต’ หมายถึง ‘ปฏิวิชฺฌิตฺวา ปจฺจกฺขํ กตฺวา ฐิโต’ แปลว่า “แทงตลอด @แล้ว ทำให้ประจักษ์ชัดแล้ว ดำรงอยู่” (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๕/๑๓๗) @ ฐานะ ในที่นี้หมายถึงเหตุ ๖ ประการเป็นคำใช้แทนอรหัตตผล ที่มีชื่อเรียกว่า เนกขัมมะ เพราะออกไป @จากกิเลสทั้งปวงได้ ที่มีชื่อเรียกว่า ปวิเวก เพราะสงัดจากกิเลสทั้งหลาย ที่มีชื่อเรียกว่า ความไม่เบียด @เบียนกัน (อัพยาบาท) เพราะไม่มีความเบียดเบียน ที่มีชื่อเรียกว่า ความสิ้นตัณหา (ตัณหักขยะ) เพราะ @เกิดขึ้นในที่สุดแห่งการสิ้นตัณหา ที่มีชื่อเรียกว่า ความสิ้นอุปาทาน (อุปาทานักขยะ) เพราะเกิดขึ้น @ในที่สุดแห่งการสิ้นอุปาทาน ที่มีชื่อเรียกว่า ความไม่ลุ่มหลง (อสัมโมหะ) เพราะปราศจากความลุ่มหลง @(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๕/๑๓๗) @ หมายถึงไม่เห็นว่าจะต้องทำกิจ ๔ อย่าง มีปริญญากิจ (หน้าที่กำหนดรู้ทุกข์) เป็นต้น (ดูรายละเอียด @ในเชิงอรรถข้อ ๕๖ หน้า ๙๘) และไม่เห็นว่าจะต้องเพิ่มพูนกุศลธรรมและอกุศลธรรมที่เคยทำมาก่อนอีก @(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๕/๑๓๗, ขุ.เถร.อ. ๒/๖๔๔/๒๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๓๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๕๓๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=22&page=536&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=15154 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=22&A=15154#p536 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22



จบการแสดงผล หน้าที่ ๕๓๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]