ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๕๔๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๖. มหาวรรค ๔. อาสวสูตร

เพื่อปกปิดอวัยวะที่น่าละอาย พิจารณาโดยแยบคายแล้วฉันบิณฑบาต ไม่ใช่เพื่อ เล่น ไม่ใช่เพื่อความมัวเมา๑- ไม่ใช่เพื่อประดับ๒- ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง๓- แต่เพื่อกายนี้ดำรง อยู่ได้ เพื่อให้ชีวิตินทรีย์เป็นไป เพื่อบำบัดความหิว เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดเห็นว่า ‘โดยอุบายนี้เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสียได้ และจักไม่ให้เวทนาใหม่ เกิดขึ้น ความดำรงอยู่แห่งชีวิต ความไม่มีโทษ และการอยู่โดยผาสุกจักมีแก่เรา’ พิจารณาโดยแยบคายแล้วใช้สอยเสนาสนะเพื่อป้องกันความหนาว ความร้อน เหลือบ ยุง ลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลาน เพื่อบรรเทาอันตรายที่เกิด จากฤดู และยินดีในการหลีกเร้น พิจารณาโดยแยบคายแล้วใช้สอยคิลานปัจจัย- เภสัชชบริขาร๔- เพื่อบรรเทาเวทนาที่เกิดจากอาพาธต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อไม่มี ความเบียดเบียนเป็นที่สุด๕- ซึ่งเมื่อเธอไม่ใช้สอยอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อ ความคับแค้นก็จะพึงเกิดขึ้น เมื่อเธอใชัสอยอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความ คับแค้น ย่อมไม่มีแก่เธอ ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภิกษุละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการใช้สอย ภิกษุละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยความอดกลั้น เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วเป็นผู้อดทนต่อความหนาว ความร้อน ความหิว กระหาย เหลือบ ยุง ลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลาน @เชิงอรรถ : @ เพื่อความมัวเมา หมายถึงความถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเห่อเหิม ในที่นี้หมายถึง @ความถือตัวว่ามีกำลังเหมือนนักมวยปล้ำ ความถือตัวเพราะมานะ และความถือตัวว่าเป็นชาย @(องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๕๘/๑๕๕) และดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๔๕/๕๕๐ @ เพื่อประดับ ในที่นี้หมายถึงเพื่อให้ร่างกายอ้วนพีอวบอิ่มเหมือนหญิงแพศยา (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา. ๓/๕๘/๑๕๕, @วิสุทฺธิ. ๑/๑๘/๓๓) @ เพื่อตกแต่ง ในที่นี้หมายถึงเพื่อประเทืองผิวให้งดงามเหมือนหญิงนักฟ้อน (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา. ๓/๕๘/๑๕๕, @วิสุทฺธิ. ๑/๑๘/๓๓) @ คำว่า คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร แยกอธิบายความหมายดังนี้ ยาที่ชื่อว่า คิลานปัจจัย เพราะเป็นเครื่อง @ปราบโรค ที่ชื่อว่า เภสัช เพราะเป็นวัตถุที่หมออนุญาตให้ใช้ได้ และที่ชื่อว่า บริขาร เพราะเป็นสัมภาระ @เครื่องนำชีวิตให้ดำรงอยู่ได้ (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๕๘/๑๕๗, วิสุทฺธิ. ๑/๑๘/๓๖) @ เพื่อไม่มีความเบียดเบียนเป็นที่สุด หมายถึงเพื่อไม่ให้มีความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง @(องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๕๘/๑๕๗, วิสุทฺธิ. ๑/๑๘/๓๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๔๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๕๔๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=22&page=549&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=15550 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=22&A=15550#p549 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22



จบการแสดงผล หน้าที่ ๕๔๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]