ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๑๐.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑. ธนวรรค ๖. วิตถตธนสูตร

สีลธนะ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ๑- เป็นผู้เว้นขาด จากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย๒- อันเป็นเหตุแห่งความประมาท นี้เรียกว่า สีลธนะ หิริธนะ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีหิริ คือ ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ละอายต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า หิริธนะ โอตตัปปธนะ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีโอตตัปปะ คือ สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า โอตตัปปธนะ สุตธนะ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นพหูสูต ทรงสุตะ๓- สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมาก ซึ่งธรรมทั้งหลายที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงาม @เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มและความพิสดารในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๔๑ (สังขิตตุโปสถสูตร) หน้า ๓๐๓-๓๐๔ ในเล่มนี้ @ สุราและเมรัย หมายถึงสุรา ๕ อย่าง คือ (๑) สุราแป้ง (๒) สุราขนม (๓) สุราข้าวสุก (๔) สุราใส่เชื้อ @(๕) สุราผสมเครื่องปรุง และเมรัย ๕ อย่าง คือ (๑) เครื่องดองดอกไม้ (๒) เครื่องดองผลไม้ (๓) เครื่องดอง @น้ำอ้อย (๔) เครื่องดองผสมเครื่องปรุง (๕) เครื่องดองน้ำผึ้ง (ขุ.ขุ.อ. ๒/๑๗-๑๘) @ส่วนใน องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๙/๖๙, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๗๙/๖๖ อธิบายว่า เมรัยมี ๔ อย่าง กล่าวคือ @ไม่มีเครื่องดองผสมเครื่องปรุง @คำว่า ‘เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย’ อาจแปลได้อีกว่า ‘เว้นขาดจากการเสพสุรา @เมรัยและของมึนเมา’ ตามนัยนี้คือ ‘ตทุภยเมว (สุราเมรยํ) มทนียฏฺเฐน มชฺชํ, ยํ วา ปนญฺญมฺปิ กิญฺจิ @มทนียํ’ แปลว่า สุราและเมรัยทั้งสองนั้นแหละ เป็นของมึนเมา เพราะเป็นเหตุให้เมา และยังมีสิ่งอื่นอีกที่ @เป็นของมึนเมา (ขุ.ขุ.อ. ๒/๑๘) @ สุตะ ในที่นี้หมายถึงนวังคสัตถุศาสน์ คำสอนของพระศาสดามีองค์ ๙ คือ (๑) สุตตะ ได้แก่ อุภโตวิภังค์ @นิทเทส ขันธกะ ปริวาร พระสูตรในสุตตนิบาต และพุทธวจนะอื่นๆ ที่มีชื่อว่าสุตตะ หรือสุตตันตะ @(๒) เคยยะ ได้แก่ ความที่มีร้อยแก้ว และร้อยกรองผสมกัน หมายถึงพระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด โดยเฉพาะ @สคาถวรรค ในสังยุตตนิกาย (๓) เวยยากรณะ ได้แก่ ความร้อยแก้วล้วน หมายเอาอภิธรรมปิฎกทั้งหมด @พระสูตรที่ไม่มีคาถา และพระพุทธพจน์อื่นใดที่ไม่จัดเข้าในองค์ ๘ ข้อที่เหลือ (๔) คาถา ได้แก่ ความ @ร้อยกรองล้วน หมายเอาธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วนในสุตตนิบาตที่ไม่มีชื่อว่าเป็นสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=23&page=10&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=219 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=23&A=219#p10 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]