ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๑๗๑-๑๗๘.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๘. วินยวรรค ๑. ปฐมวินยธรสูตร

๘. วินยวรรค
หมวดว่าด้วยวินัย๑-
๑. ปฐมวินยธรสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของพระวินัยธร สูตรที่ ๑
[๗๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นพระวินัยธรได้ ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รู้จักอาบัติ ๒. รู้จักอนาบัติ ๓. รู้จักลหุกาบัติ ๔. รู้จักครุกาบัติ๒- ๕. มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์๓- เพียบพร้อมด้วยอาจาระ @เชิงอรรถ : @ พระสูตรที่ ๑-๘ ในวรรคนี้ ดูเปรียบเทียบกับคัมภีร์บริวาร (วิ.ป. ๘/๓๒๗/๒๘๘-๒๙๑) @ รู้จักอาบัติ หมายถึงรู้อาบัติที่ท่านแสดงไว้ในสิกขาบทและสิกขาบทวิภังค์ (อธิบายสิกขาบท) @รู้จักอนาบัติ หมายถึงสามารถวินิจฉัยเรื่องที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับอาบัติแต่ไม่ถึงกับต้องอาบัติ เช่น นางภิกษุณี @อุบลวรรณาถูกข่มขืน ท่านไม่ยินดี จึงไม่ต้องอาบัติ ดู วิ.มหา (แปล) ๑/๖๘/๕๖-๕๗ @รู้จักลหุกาบัติ หมายถึงรู้ว่าอาบัติ ๕ อย่าง คือ ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต จะพ้น @ได้ด้วยวินัยกรรมเบาคือการแสดงอาบัติ(เทสนาวิธี) @รู้จักครุกาบัติ หมายถึงรู้ว่าสังฆาทิเสสจะพ้นได้ด้วยวินัยกรรมหนักคือวุฏฐานวิธี (ระเบียบเครื่องออกจาก @อาบัติ ๔ อย่าง คือ ปริวาส มานัต อัพภาน และปฏิกัสสนา) และรู้ว่าปาราชิกไม่สามารถจะพ้นได้ด้วยวินัย @กรรมอะไรๆ (วิ.อ. ๓/๓๒๑/๔๔๒) @ สังวรในปาติโมกข์ มีอรรถาธิบายแต่ละคำดังนี้ สังวร หมายถึงการไม่ล่วงละเมิดทางกาย ทางวาจา @ปาติโมกข์ หมายถึงศีลสิกขาบทที่เป็นเหตุให้ผู้รักษาหลุดพ้นจากทุกข์ (ปาติ = รักษา + โมกขะ = ความ @หลุดพ้น) (วิสุทฺธิ. ๑/๑๔/๑๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๗๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๘. วินยวรรค ๓. ตติยวินยธรสูตร

และโคจร๑- มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย ๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตาม ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ๗. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธรได้
ปฐมวินยธรสูตรที่ ๑ จบ
๒. ทุติยวินยธรสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของพระวินัยธร สูตรที่ ๒
[๗๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นพระวินัยธรได้ ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รู้จักอาบัติ ๒. รู้จักอนาบัติ @เชิงอรรถ : @ อาจาระ หมายถึงการไม่ล่วงละเมิดทางกาย การไม่ล่วงละเมิดทางวาจา การไม่ล่วงละเมิดทางกายและทาง @วาจา หรือการสำรวมศีลทั้งหมด คือ การไม่เลี้ยงชีพด้วยอาชีพที่ผิดที่พระพุทธเจ้าทรงรังเกียจ เช่น ไม่ @เลี้ยงชีพด้วยการให้ไม้ไผ่ ให้ใบไม้ ดอกไม้ ผลไม้ เครื่องสาน ไม้สีฟัน ไม่เลี้ยงชีพด้วยการทำตนต่ำกว่า @คฤหัสถ์ ด้วยการพูดเล่นเป็นแกงถั่ว(จริงบ้างไม่จริงบ้าง) ไม่เลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงเด็ก และการรับส่งข่าว @(วิสุทฺธิ. ๑/๑๔/๑๘) @โคจร หมายถึงสถานที่เที่ยวไปของภิกษุซึ่งไม่มีหญิงแพศยา(โสเภณี) ไม่มีหญิงหม้าย ไม่มีสาวเทื้อ (สาวแก่) @ไม่มีบัณเฑาะก์ ไม่มีภิกษุณี ไม่มีร้านสุรา ไม่เป็นสถานที่ต้องคลุกคลีกับพระราชา มหาอำมาตย์ และพวก @เดียรถีย์ ตรงกันข้าม ต้องเป็นสถานที่ของตระกูลที่มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นดุจบ่อน้ำ รุ่งเรืองด้วยผ้ากาสาวะ @อบอวลด้วยกลิ่นฤาษี มุ่งหวังความผาสุกแก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เป็นสถานที่ที่ภิกษุสำรวม @อินทรีย์ ๖ งดเว้นการขวนขวายในการดูการละเล่นที่เป็นข้าศึกต่อกุศล เช่น การฟ้อน ขับร้อง ประโคมดนตรี @อนึ่ง คำว่า โคจร นี้หมายถึงธรรมที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนากัมมัฏฐาน คือ สติปัฏฐาน ๔ @(ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๙๖/๕๗๑-๕๗๒, วิสุทฺธิ. ๑/๑๔/๑๗-๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๗๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๘. วินยวรรค ๓. ตติยวินยธรสูตร

๓. รู้จักลหุกาบัติ ๔. รู้จักครุกาบัติ ๕. ทรงจำปาติโมกข์ทั้งสอง๑- ได้ดี จำแนกได้ดี ให้เป็นไปได้ดีโดยพิสดาร วินิจฉัยได้ดีโดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ๒- ๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตาม ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ๗. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธรได้
ทุติยวินยธรสูตรที่ ๒ จบ
๓. ตติยวินยธรสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของพระวินัยธร สูตรที่ ๓
[๗๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นพระวินัยธรได้ ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รู้จักอาบัติ ๒. รู้จักอนาบัติ @เชิงอรรถ : @ ปาติโมกข์ทั้งสอง ในที่นี้หมายถึงวิภังค์ ๒ คือ ภิกขุวิภังค์ ว่าด้วยภิกขุปาติโมกข์ กล่าวคือสิกขาบทใน @ปาติโมกข์ฝ่ายภิกษุ ๒๒๗ ข้อ และภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยภิกขุนีปาติโมกข์ กล่าวคือสิกขาบทฝ่ายภิกษุณี @๓๑๑ ข้อ (วิ.อ. ๒/๑๔๕-๑๔๗/๓๑๙) @ วินิจฉัยได้ดีโดยสูตร ในที่นี้หมายถึงวินิจฉัยได้ดีด้วยคัมภีร์ขันธกะและปริวารแห่งพระวินัยปิฎก วินิจฉัยได้ @ดีโดยอนุพยัญชนะ หมายถึงวินิจฉัยบทอักษรให้สมบูรณ์ ไม่ตกหล่น (วิ.อ. ๒/๑๔๕-๑๔๗/๓๑๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๗๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๘. วินยวรรค ๔.จตุตถวินยธรสูตร

๓. รู้จักลหุกาบัติ ๔. รู้จักครุกาบัติ ๕. เป็นผู้ตั้งมั่น ไม่ง่อนแง่นในวินัย๑- ๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตาม ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ๗. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธรได้
ตติยวินยธรสูตรที่ ๓ จบ
๔. จตุตถวินยธรสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของพระวินัยธร สูตรที่ ๔
[๗๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นพระวินัยธรได้ ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รู้จักอาบัติ ๒. รู้จักอนาบัติ ๓. รู้จักลหุกาบัติ @เชิงอรรถ : @ ตั้งมั่นไม่ง่อนแง่น หมายถึงหนักแน่นมั่นคงและมั่นใจในเรื่องที่ตนวินิจฉัยไว้ดีแล้ว ไม่กวัดแกว่งโอนเอียง @คล้อยตามความคิดของผู้อื่น เมื่อถูกถามในเรื่องบาลี อรรถกถาตอนต้น ตอนปลาย ตามลำดับบท ก็ไม่ @หวั่นไหวสะทกสะท้าน สามารถยืนยันได้ด้วยว่า ‘ข้าพเจ้าพูดอย่างนี้ อาจารย์ของข้าพเจ้าพูดอย่างนี้’ แยก @ตอบเป็นประเด็นได้ชัดเจน ดุจการใช้แหนบถอนขนที่ละเส้น (องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๗๕-๘๒/๒๔๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๗๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๘. วินยวรรค ๕. ปฐมวินยธรโสภณสูตร

๔. รู้จักครุกาบัติ ๕. ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ๑- ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติ อย่างนี้ ๖. เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ๒- รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้ ๗. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธรได้
จตุตถวินยธรสูตรที่ ๔ จบ
๕. ปฐมวินยธรโสภณสูตร
ว่าด้วยเหตุให้พระวินัยธรสง่างาม สูตรที่ ๑
[๗๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นพระวินัยธร ย่อมสง่างาม ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รู้จักอาบัติ ๒. รู้จักอนาบัติ @เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๑ หน้า ๒๒๓ ในเล่มนี้ @ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๑ หน้า ๒๒๔ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๗๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๘. วินยวรรค ๖. ทุติยวินยธรโสภณสูตร

๓. รู้จักลหุกาบัติ ๔. รู้จักครุกาบัติ ๕. มีศีล ฯลฯ๑- สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๖. ได้ฌาน ๔ ฯลฯ ได้โดยไม่ลำบาก ๗. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธร ย่อมสง่างาม
ปฐมวินยธรโสภณสูตรที่ ๕ จบ
๖. ทุติยวินยธรโสภณสูตร
ว่าด้วยเหตุให้พระวินัยธรสง่างาม สูตรที่ ๒
[๘๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นพระวินัยธร ย่อมสง่างาม ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รู้จักอาบัติ ๒. รู้จักอนาบัติ ๓. รู้จักลหุกาบัติ ๔. รู้จักครุกาบัติ ๕. ทรงจำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดี จำแนกได้ดี ให้เป็นไปได้ดีโดยพิสดาร วินิจฉัยได้ดีโดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ @เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มในสัตตกนิบาต ข้อ ๗๕ (ปฐมวินยธรสูตร) หน้า ๑๗๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๗๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๘. วินยวรรค ๗. ตติยวินยธรโสภณสูตร

๖. ได้ฌาน ๔ ฯลฯ ได้โดยไม่ลำบาก ๗. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธร ย่อมสง่างาม
ทุติยวินยธรโสภณสูตรที่ ๖ จบ
๗. ตติยวินยธรโสภณสูตร
ว่าด้วยเหตุให้พระวินัยธรสง่างาม สูตรที่ ๓
[๘๑] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นพระวินัยธร ย่อมสง่างาม ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รู้จักอาบัติ ๒. รู้จักอนาบัติ ๓. รู้จักลหุกาบัติ ๔. รู้จักครุกาบัติ ๕. เป็นผู้ตั้งมั่น ไม่ง่อนแง่นในวินัย ๖. ได้ฌาน ๔ ฯลฯ ได้โดยไม่ลำบาก ๗. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธร ย่อมสง่างาม
ตติยวินยธรโสภณสูตรที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๗๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๘. วินยวรรค ๙. สัตถุสาสนสูตร

๘. จตุตถวินยธรโสภณสูตร
ว่าด้วยเหตุให้พระวินัยธรสง่างาม สูตรที่ ๔
[๘๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นพระวินัยธร ย่อมสง่างาม ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รู้จักอาบัติ ๒. รู้จักอนาบัติ ๓. รู้จักลหุกาบัติ ๔. รู้จักครุกาบัติ ๕. ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติ อย่างนี้ ๖. เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ รู้ชัดถึง หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้ ๗. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธร ย่อมสง่างาม
จตุตถวินยธรโสภณสูตรที่ ๘ จบ
๙. สัตถุสาสนสูตร
ว่าด้วยสัตถุศาสน์
[๘๓] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรม โดยย่อแก่ข้าพระองค์ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะพึงหลีกออกไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๗๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๗๑-๑๗๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=23&page=171&pages=8&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=4697 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=23&A=4697#p171 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๗๑-๑๗๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]