ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๑๘๙-๑๙๐.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ราคเปยยาล

ราคเปยยาล๑-
[๖๒๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๗ ประการ เพื่อรู้ยิ่ง ราคะ(ความกำหนัด) ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือ ความระลึกได้) ฯลฯ๒- ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความวางใจ เป็นกลาง) ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๗ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๑) [๖๒๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๗ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร) ๒. อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง) ๓. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย) @เชิงอรรถ : @ ราคเปยยาล หมายถึงหมวดธรรมที่ทรงแสดงโดยย่อมีราคะเป็นต้น หมายความว่านอกจากราคะแล้วยังมี @อกุศลธรรมอีก ๑๖ ประการ รวมเป็น ๑๗ ประการ แต่ละประการมีเป้าหมาย ๑๐ เป้าหมาย (๑๐ เพื่อ เช่น @เพื่อรู้ยิ่ง) มีการคำนวณพระสูตรด้วยเป้าหมายละ ๑ สูตร จึงเป็น ๑๗๐ สูตร (๑๐ เป้าหมาย x อกุศลธรรม @๑๗ ประการ) นี้เป็นการคำนวณพระสูตรจากการเจริญหมวดธรรมเพียง ๑ หมวด แต่ในราคเปยยาลของ @สัตตกนิบาตนี้มีหมวดธรรมที่ต้องเจริญ ๓ หมวด จึงรวมเป็น ๕๑๐ สูตร (๑๗๐ สูตร x ๓ หมวดธรรม) @ ดูความเต็มในสัตตกนิบาต ข้อ ๒๖ (โพชฌังคสูตร) หน้า ๔๐-๔๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๘๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สันตตกนิบาต ราคเปยยาล

๔. อาทีนวสัญญา (กำหนดหมายโทษทุกข์ของกายอันมีความเจ็บไข้ต่างๆ) ๕. ปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย) ๖. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต) ๗. นิโรธสัญญา (กำหนดหมายนิโรธว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต) ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๗ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๒) [๖๒๕] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๗ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย) ๒. มรณสัญญา (กำหนดหมายความตายที่จะต้องมาถึงเป็นธรรมดา) ๓. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร) ๔. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา (กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินใน โลกทั้งปวง) ๕. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร) ๖. อนิจเจ ทุกขสัญญา (กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยง แห่งสังขาร) ๗. ทุกเข อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์) ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๗ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๓) [๖๒๖-๖๕๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๗ ประการ เพื่อกำหนดรู้ราคะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๙๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๘๙-๑๙๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=23&page=189&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=5156 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=23&A=5156#p189 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๘๙-๑๙๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]