ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๒๔๘-๒๕๕.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๒. มหาวรรค ๙. ปหาราทสูตร

๘. มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิติมิงคละ ปลาติมิรมิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์ มีลำตัว ๑๐๐ โยชน์ก็มี มีลำตัว ๒๐๐ โยชน์ก็มี มีลำตัว ๓๐๐ โยชน์ก็มี มีลำตัว ๔๐๐ โยชน์ก็มี มีลำตัว ๕๐๐ โยชน์ก็มี การที่มหาสมุทรเป็นที่อยู่ อาศัยของสัตว์ขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิติมิงคละ ปลาติมิรมิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์ มีลำตัว ๑๐๐ โยชน์ก็มี ฯลฯ มีลำตัว ๓๐๐ โยชน์ก็มี มีลำตัว ๔๐๐ โยชน์ก็มี มีลำตัว ๕๐๐ โยชน์ก็มี นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๘ ในมหาสมุทรที่ พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในมหาสมุทรมีสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการนี้แล ที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุทั้งหลายต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้บ้างไหม” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ปหาราทะ ภิกษุทั้งหลายต่างพากันยินดีใน ธรรมวินัยนี้” ท้าวปหาราทะจอมอสูรทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในธรรมวินัยนี้มี ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏเท่าไร ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากัน ยินดีในธรรมวินัย” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ปหาราทะ ในธรรมวินัยนี้ มีธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัย ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ธรรมวินัยนี้มีการศึกษาไปตามลำดับ๑- มีการบำเพ็ญไปตามลำดับ๒- มีการปฏิบัติไปตามลำดับ๓- ไม่ใช่มีการบรรลุอรหัตตผลโดยทันที @เชิงอรรถ : @ การศึกษาไปตามลำดับในที่นี้หมายถึงการศึกษาสิกขา ๓ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา @(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑๙/๒๔๔) @ การบำเพ็ญไปตามลำดับ ในที่นี้หมายถึงการบำเพ็ญธุดงค์ ๑๓ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑๙/๒๔๔) @ การปฏิบัติไปตามลำดับ ในที่นี้หมายถึง อนุปัสสนา ๙ มหาวิปัสสนา ๑๘ อารัมมณวิภัตติ ๓๘ @และโพธิปักขิยธรรม ๓๗ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑๙/๒๔๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๔๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๒. มหาวรรค ๙. ปหาราทสูตร

เหมือนมหาสมุทรต่ำไปโดยลำดับ ลาดไปโดยลำดับ ลึกลงไปโดย ลำดับ ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที การที่ธรรมวินัยนี้มีการศึกษาไปตาม ลำดับ มีการบำเพ็ญไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ ไม่ใช่ มีการบรรลุอรหัตตผลโดยทันที นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคย ปรากฏประการที่ ๑ ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่าง พากันยินดีในธรรมวินัยนี้ ๒. สาวกทั้งหลายของเราย่อมไม่ละเมิดสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้ แม้เพราะ เหตุแห่งชีวิต เหมือนมหาสมุทรที่มีปกติคงที่ ไม่ล้นฝั่ง การที่สาวก ทั้งหลายของเราไม่ละเมิดสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้ แม้เพราะเหตุแห่ง ชีวิต นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๒ ใน ธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้ ๓. บุคคลใดผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด มีความประพฤติที่ น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด ไม่ใช่สมณะ แต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่พรหมจารี๑- แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายใน ชุ่มด้วย ราคะ เป็นเหมือนหยากเยื่อ สงฆ์ก็ไม่อยู่ร่วมกับบุคคลนั้น ย่อม ประชุมกันนำเธอออกไปทันที แม้เธอจะนั่งอยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ก็ยังห่างไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ห่างไกลจากเธอ เหมือนมหาสมุทร ไม่อยู่ร่วมกับซากศพ ย่อมซัดซากศพขึ้นฝั่งจนถึงบนบกทันที การที่ บุคคลใดผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด มีความประพฤติที่ น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด ไม่ใช่สมณะ แต่ปฏิญญาว่าเป็น สมณะ ไม่ใช่พรหมจารี แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเหมือนหยากเยื่อ สงฆ์ไม่อยู่ร่วมกับบุคคลนั้น ย่อมประชุมกันนำเธอออกไปทันที แม้เธอจะนั่งอยู่ในท่ามกลาง ภิกษุสงฆ์ ก็ยังห่างไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ห่างไกลจากเธอ นี้เป็น @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๗๒ หน้า ๑๕๙ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๔๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๒. มหาวรรค ๙. ปหาราทสูตร

ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๓ ในธรรมวินัยนี้ที่ ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้ ๔. วรรณะ ๔ เหล่านี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ออกจาก เรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละ ชื่อและโคตรเดิมของตน รวมเรียกว่า ‘สมณศากยบุตร’ ทั้งสิ้น เหมือนมหานทีทุกสาย คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลลงสู่มหาสมุทรแล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิมของตน รวม เรียกว่า ‘มหาสมุทร’ ทั้งสิ้น การที่วรรณะ ๔ เหล่านี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัย ที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิมของตน รวมเรียกว่า ‘สมณศากยบุตร’ ทั้งสิ้น นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ประการที่ ๔ ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากัน ยินดีในธรรมวินัยนี้ ๕. แม้หากภิกษุจำนวนมากปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ก็ไม่ทำให้นิพพานพร่องหรือเต็มได้ เหมือนแม่น้ำสายใดสายหนึ่งในโลก ที่ไหลรวมลงสู่มหาสมุทร และสายฝนตกลงจากฟากฟ้า ก็ไม่ทำ ให้มหาสมุทรพร่องหรือเต็มได้ การที่แม้หากภิกษุจำนวนมาก ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ก็ไม่ทำให้นิพพานพร่องหรือ เต็มได้ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๕ ใน ธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้ ๖. ธรรมวินัยนี้มีรสเดียว คือ วิมุตติรส เหมือนมหาสมุทรมีรสเดียวคือ รสเค็ม การที่ธรรมวินัยนี้มีรสเดียว คือ วิมุตติรส นี้เป็นธรรมที่ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๖ ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุ ทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๕๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๒. มหาวรรค ๙. ปหาราทสูตร

๗. ธรรมวินัยนี้มีรัตนะมาก มีรัตนะหลายชนิด คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เหมือนมหาสมุทรที่มีรัตนะมาก มีรัตนะ หลายชนิด คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม แก้วตาแมว การที่ธรรมวินัยนี้ มีรัตนะมาก มีรัตนะหลายชนิด คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๗ ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้ ๘. ธรรมวินัยนี้เป็นที่อยู่ของผู้ใหญ่ คือ พระโสดาบัน บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล พระสกทาคามี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำ ให้แจ้งสกทาคามิผล พระอนาคามี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง อนาคามิผล พระอรหันต์ บุคคคลผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล เหมือน มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิติมิงคละ ปลาติมิรมิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์ มีลำตัว ๑๐๐ โยชน์ก็มี มีลำตัว ๒๐๐ โยชน์ก็มี มีลำตัว ๓๐๐ โยชน์ก็มี มีลำตัว ๔๐๐ โยชน์ก็มี มีลำตัว ๕๐๐ โยชน์ก็มี การที่ธรรมวินัยนี้เป็น ที่อยู่ของผู้ใหญ่ คือ พระโสดาบัน บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง โสดาปัตติผล พระสกทาคามี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง สกทาคามิผล พระอนาคามี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง อนาคามิผล พระอรหันต์ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล๑- นี้เป็น ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ประการที่ ๘ ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้ ปหาราทะ ในธรรมวินัยนี้ มีธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการนี้แล ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้
ปหาราทสูตรที่ ๙ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๓๓/๒๒๔, อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๒๐๗/๒๒๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๕๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

๑๐. อุโปสถสูตร๑-
ว่าด้วยเหตุที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงแสดงปาติโมกข์
[๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ บุพพาราม ปราสาทของ นางวิสาขามิคารมาตา เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ แวดล้อม ประทับนั่ง ในวันอุโบสถ เมื่อราตรีผ่านไป๒- แล้ว ปฐมยามผ่านไปแล้ว ท่านพระอานนท์ลุกจากอาสนะ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่า ประนมมือไปทางที่พระผู้มี พระภาคประทับอยู่ ได้กราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีผ่านไปแล้ว ปฐมยามผ่านไปแล้ว ภิกษุสงฆ์ นั่งรออยู่นานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคทรงโปรดยกพระปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุ ทั้งหลายเถิด พระพุทธเจ้าข้า” เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคทรงนิ่ง๓- แม้ครั้งที่ ๒ เมื่อราตรีผ่านไปแล้ว มัชฌิมยามผ่านไปแล้ว ท่านพระอานนท์ ลุกจากอาสนะ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่า ประนมมือไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ได้กราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีผ่านไปแล้ว มัชฌิมยามผ่านไปแล้ว ภิกษุสงฆ์ นั่งรออยู่นานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคทรงโปรดยกพระปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุ ทั้งหลายเถิด พระพุทธเจ้าข้า” แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคก็ทรงนิ่ง @เชิงอรรถ : @ ดู วิ.จู. (แปล) ๗/๓๘๓-๓๘๕/๒๗๘-๒๘๕, ขุ.อุ. ๒๕/๔๕/๑๖๓-๑๗๐, อภิ.ก. ๓๗/๓๔๖/๑๘๘ @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๓๒ หน้า ๔๙ ในเล่มนี้ @ เหตุที่ทรงนิ่ง ไม่ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง เพราะพระองค์ทรงมุ่งอนุเคราะห์ภิกษุผู้ทุศีลที่มีอยู่ในบริษัท @หากพระองค์ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ศีรษะของภิกษุผู้ทุศีลนั้นก็จักแตก ๗ เสี่ยง จึงทรงนิ่งเสีย @(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๐/๒๔๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๕๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

แม้ครั้งที่ ๓ เมื่อราตรีผ่านไปแล้ว ปัจฉิมยามผ่านไปแล้ว ยามรุ่งอรุณ เริ่มสว่าง ท่านพระอานนท์ลุกจากอาสนะ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่า ประนมมือไปทางที่พระผู้มี พระภาคประทับอยู่ ได้กราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีผ่านไปแล้ว ปัจฉิมยามผ่านไปแล้ว ยามรุ่งอรุณ เริ่มสว่าง ภิกษุสงฆ์นั่งรออยู่นานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคทรงโปรดยกพระปาติโมกข์ ขึ้นแสดงแก่ภิกษุทั้งหลายเถิด พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ บริษัทไม่บริสุทธิ์” ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาค ตรัสอย่างนี้ว่า ‘อานนท์ บริษัทไม่บริสุทธิ์’ ทรงหมายถึงใครกัน แล้วจึงกำหนดจิต (ของภิกษุ)ด้วยจิต(ของตน)แล้วตรวจดูภิกษุสงฆ์ทุกรูป จึงได้เห็นบุคคลผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด มีความประพฤติที่น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด ไม่ใช่ สมณะแต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่พรหมจารี แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเหมือนหยากเยื่อ นั่งอยู่ในท่ามกลางสงฆ์นั้น ครั้นเห็นแล้ว จึงลุกจากอาสนะเข้าไปหาบุคคลนั้น ได้กล่าวกับบุคคลนั้นว่า “ท่าน จงลุกขึ้น พระผู้มีพระภาคทรงเห็นท่านแล้ว ท่านไม่มีสังวาส๑- กับภิกษุทั้งหลาย” เมื่อพระมหาโมคคัลลานะกล่าวอย่างนี้แล้ว บุคคลนั้นก็ยังนิ่งอยู่ แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็ได้กล่าวกับบุคคลนั้นว่า “ท่านจง ลุกขึ้น พระผู้มีพระภาคทรงเห็นท่านแล้ว ท่านไม่มีสังวาสกับภิกษุทั้งหลาย” แม้ครั้งที่ ๒ บุคคลนั้นก็ยังนิ่งอยู่ แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็ได้กล่าวกับบุคคลนั้นว่า “ท่านจง ลุกขึ้น พระผู้มีพระภาคทรงเห็นท่านแล้ว ท่านไม่มีสังวาสกับภิกษุทั้งหลาย” แม้ครั้งที่ ๓ บุคคลนั้นก็ยังนิ่งอยู่ ครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงจับแขนเขาฉุดให้ออกไปภายนอกซุ้มประตู ใส่กลอนแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค @เชิงอรรถ : @ สังวาส ในที่นี้หมายถึงกรรมที่ทำร่วมกัน อุทเทส(ปาติโมกข์ที่ยกขึ้นแสดง)ที่สวดร่วมกัน ความมีสิกขา @เสมอกัน (วิ.มหา. (แปล) ๑/๕๕/๔๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๕๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ให้บุคคลนั้นออกไปพ้นแล้ว บริษัทบริสุทธิ์ แล้ว ขอพระผู้มีพระภาคทรงโปรดยกพระปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุทั้งหลายเถิด พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ โมคคัลลานะ โมฆบุรุษ นี้ดื้ออยู่จนต้องฉุดแขนไล่ออกไป” ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่บัดนี้ไป เธอทั้งหลายพึงทำอุโบสถ พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราจักไม่ทำอุโบสถ จักไม่ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้ที่ตถาคตจะยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในเมื่อบริษัทไม่บริสุทธิ์๑- ภิกษุทั้งหลาย ในมหาสมุทรมีสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการที่ พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร สิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. มหาสมุทรต่ำไปโดยลำดับ ลาดไปโดยลำดับ ลึกลงไปโดยลำดับ ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที การที่มหาสมุทรต่ำไปโดยลำดับ ลาดไปโดย ลำดับ ลึกลงไปโดยลำดับ ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ @เชิงอรรถ : @ ข้อความพระดำรัสนี้ เป็นพระดำรัสที่ตรัสมอบหมายให้ภิกษุสาวกยกอาณาปาติโมกข์ (ปาติโมกข์เกี่ยวกับ @ศีลบัญญัติ) ขึ้นแสดง (ดู วิ.ม. (แปล) ๔/๑๓๓/๒๐๙, ๑๕๐/๒๒๘) หลังจากที่พระองค์ได้ทรงยกโอวาท- @ปาติโมกข์ (ปาติโมกข์คือพระโอวาท) ขึ้นแสดงทุกกึ่งเดือนมาเป็นเวลา ๒๐ ปีบริบูรณ์ (ดู ที.ม. ๑๐/๙๐/๔๓, @ขุ.ธ. ๒๕/๑๘๓-๑๘๕/๔๙-๕๐) @อนึ่ง เหตุที่ทรงงดแสดงเอง เพราะทรงประสงค์รักษาพุทธประเพณีว่า เมื่อทรงเห็นว่าบริษัท @ไม่บริสุทธิ์แล้ว พระพุทธเจ้าทุกพระองค์จะไม่ทรงทำอุโบสถ ไม่ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง แต่เพื่อป้องกัน @ไม่ให้อุโบสถกรรมของภิกษุสงฆ์ขาดไป จึงทรงอนุญาตให้สงฆ์ยกอาณาปาติโมกข์ขึ้นแสดงแทน @(องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๒๐/๒๘๖-๒๘๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๕๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

ไม่เคยปรากฏ ประการที่ ๑ ในมหาสมุทรที่พวกอสูรพบเห็นแล้ว ต่างพากันยินดีในมหาสมุทร ฯลฯ๑- ๘. มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิติมิงคละ ปลาติมิรมิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์ มีลำตัว ๑๐๐ โยชน์ก็มี ฯลฯ มีลำตัว ๕๐๐ โยชน์ก็มี การที่มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ ขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิติมิงคละ ปลาติมิรมิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์ มีลำตัว ๑๐๐ โยชน์ก็มี ฯลฯ มีลำตัว ๕๐๐ โยชน์ก็มี นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๘ ในมหาสมุทรที่ พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร ภิกษุทั้งหลาย ในมหาสมุทรมีสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการนี้แล ที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน ในธรรมวินัยนี้ มีธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคย ปรากฏ ๘ ประการ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้ ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ธรรมวินัยนี้มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการบำเพ็ญไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ ไม่ใช่มีการบรรลุอรหัตตผลโดยทันที เหมือนมหาสมุทรที่ต่ำไปโดยลำดับ ลาดไปโดยลำดับ ลึกลงไป โดยลำดับ ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที การที่ธรรมวินัยนี้มีการศึกษาไปตาม ลำดับ มีการบำเพ็ญไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ ไม่ใช่ มีการบรรลุอรหัตตผลโดยทันที นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคย ปรากฏประการที่ ๑ ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่าง พากันยินดีในธรรมวินัยนี้ ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ เครื่องหมาย ฯลฯ ที่ปรากฏในสูตรนี้ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๙ (ปหาราทสูตร) @หน้า ๒๔๖-๒๕๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๕๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๒๔๘-๒๕๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=23&page=248&pages=8&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=6803 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=23&A=6803#p248 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๔๘-๒๕๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]