ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๒๗๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๓. คหปติวรรค ๙. อักขณสูตร

๗. ตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท เป็นคน มีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นคนเซอะ๑- ไม่สามารถจะรู้เนื้อความแห่ง สุภาษิตและทุพภาษิตได้ นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัยที่จะอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ประการที่ ๗ ๘. ตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็น พระผู้มีพระภาค ไม่อุบัติขึ้นแล้วในโลก และไม่แสดงธรรมที่นำ ความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการตรัสรู้ ที่พระสุคต ทรงประกาศแล้ว ถึงบุคคลนี้จะกลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท และ เป็นผู้มีปัญญา ไม่โง่เขลา ไม่เป็นคนเซอะ สามารถรู้เนื้อความ แห่งสุภาษิตและทุพภาษิตได้ นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัยที่จะอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ประการที่ ๘ ภิกษุทั้งหลาย กาลที่มิใช่ขณะมิใช่สมัยที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ๘ ประการนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ขณะและสมัยที่ควรอยู่ประพฤติพรหมจรรย์มีประการเดียวเท่านั้น ขณะและสมัยประการเดียวนั้น เป็นอย่างไร คือ ตถาคตเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อม ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค @เชิงอรรถ : @ เป็นคนเซอะ แปลจากบาลีว่า ‘เอฬมูโค’ อรรถกถาอธิบายว่า ‘ปคฺฆริตเขฬมูโค’ แปลว่า ‘เป็นใบ้มี @น้ำลายไหล’ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๑๒/๔๘) หมายถึงใช้ปากพูดได้แต่เป็นใบ้ พูดไม่ชัด (สํ.ม.อ. ๓/๒๒๕-๒๓๑/ @๒๒๓ แต่ในอภิธานปฺปทีปิกาฏีกา อธิบายว่า หมายถึงผู้ไม่ฉลาดพูดและไม่ฉลาดฟัง และไม่ฉลาดในภาษา @ที่จะพูด (วตฺตุํ โสตุญฺจ อกุสโล, วจเน จ อกุสโล) และแยกอธิบายอีกว่า เอโฬ หมายถึง พธิโร (คนหูหนวก) @มูโค หมายถึง อวจโน (พูดไม่ได้) หรือหมายถึงคนโอ้อวด (สเฐปิ เอฬมูโค) (อภิธา.ฏีกา คาถา ๗๓๔) @พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉบับ “PALI TEXT SOCIETY” ให้ความหมายว่า Idiot (โง่ บ้า จิตทราม) @หรือ lack-wit (ขาดสติ) (The Book of the Gradual sayings, VOL. 111 PP. 106, 132) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๗๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๒๗๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=23&page=276&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=7618 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=23&A=7618#p276 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๗๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]