ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๓๐๗-๓๐๘.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๕. อุโปสถวรรค ๒. วิตถตุโปสถสูตร

อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เพียงไร คือ เปรียบเหมือนพระราชาพระองค์ใดพึงครองราชย์ เป็นอิสราธิบดี (เป็น ผู้ยิ่งใหญ่เหนือผู้อื่น)แห่งชนบทใหญ่ ๑๖ แคว้นที่สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการนี้ คือ อังคะ มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ เจตี วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี คันธาระ กัมโพชะ การครองราชย์ของพระราชาพระองค์นั้น ยังมีค่า ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะราช สมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย ๕๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ๓๐ ราตรี โดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๕๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือ สตรีหรือ บุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิด ร่วมกับเทวดาชั้นจาตุมหาราช ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของ มนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย ๑๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ๓๐ ราตรีโดย ราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือน โดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๑,๐๐๐ ปีทิพย์โดย ปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือ สตรี หรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงไป เกิดร่วมกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของ มนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย ๒๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นยามา ๓๐ ราตรีโดย ราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๒,๐๐๐ ปีทิพย์โดย ปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นยามา ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือ สตรีหรือ บุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิด ร่วมกับเทวดาชั้นยามา ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของมนุษย์ เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย ๔๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นดุสิต ๓๐ ราตรีโดย ราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๔,๐๐๐ ปีทิพย์โดย ปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดุสิต ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือ สตรีหรือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๐๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๕. อุโปสถวรรค ๓. วิสาขาสูตร

บุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิด ร่วมกับเทวดาชั้นดุสิต ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อ นำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย ๘๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นนิมมานรดี ๓๐ ราตรี โดยราตรีนั้นเป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๘,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นนิมมานรดี ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือ สตรีหรือ บุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิด ร่วมกับเทวดาชั้นนิมมานรดี ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของ มนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย ๑,๖๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์ โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือ สตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตาย แล้วพึงไปเกิดร่วมกับเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย บุคคลไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงลักทรัพย์ ไม่พึงพูดเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา พึงงดเว้นจากเมถุนที่เป็นความประพฤติไม่ประเสริฐ ไม่พึงบริโภคอาหารในเวลาวิกาล ในเวลากลางคืน ไม่พึงทัดทรงดอกไม้ ไม่พึงลูบไล้ของหอม และพึงนอนบนเตียง บนพื้น หรือบนที่ที่ปูลาดไว้ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า อุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล ที่พระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดทุกข์ทรงประกาศไว้ ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ทั้งสอง งดงามส่องสว่าง โคจรไปทั่วสถานที่ประมาณเท่าใด ก็ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้น กำจัดความมืดไปในอากาศ ทำให้ทิศสว่างไสว ส่องแสงอยู่ในอากาศ ทั่วสถานที่ประมาณเท่าใด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๐๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๓๐๗-๓๐๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=23&page=307&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=8533 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=23&A=8533#p307 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๐๗-๓๐๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]