ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๓๕๗-๓๖๑.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๒. ภูมิจาลวรรค ๒. อลังสูตร

๗. เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด แต่ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง ความอยากได้ลาภย่อมเกิดขึ้น แต่เธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร ไม่พยายาม เพื่อให้ได้ลาภ เมื่อเธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร ไม่พยายามเพื่อให้ ได้ลาภ ลาภก็ไม่เกิดขึ้น เพราะไม่ได้ลาภนั้น เธอก็ไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความเลอะเลือน ภิกษุนี้เราเรียกว่าผู้อยากได้ลาภอยู่ แต่ไม่หมั่น ไม่พากเพียร ไม่พยายามเพื่อให้ได้ลาภ เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่ได้ลาภ ไม่เศร้าโศก ไม่ร่ำไร และไม่เคลื่อนจากสัทธรรม ๘. เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด แต่ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง ความอยากได้ลาภย่อมเกิดขึ้น แต่เธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร ไม่ พยายามเพื่อให้ได้ลาภ เมื่อเธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร ไม่พยายาม เพื่อให้ได้ลาภ แต่ลาภก็เกิดขึ้น เพราะได้ลาภนั้น เธอไม่มัวเมา ไม่ประมาท ไม่เลินเล่อ ภิกษุนี้เราเรียกว่าผู้อยากได้ลาภอยู่ แต่ไม่ หมั่น ไม่พากเพียร ไม่พยายามเพื่อให้ได้ลาภ เธอชื่อว่าเป็นผู้ ได้ลาภ ไม่มัวเมา ไม่ประมาท และไม่เคลื่อนจากสัทธรรม ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๘ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก”
อิจฉาสูตรที่ ๑ จบ
๒. อลังสูตร
ว่าด้วยผู้สามารถทำประโยชน์ตนและผู้อื่น
[๖๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้มีความ สามารถสำหรับตนเองและมีความสามารถสำหรับผู้อื่น๑- @เชิงอรรถ : @ หมายถึงสามารถปฏิบัติให้เกื้อกูลสำหรับตนเองและผู้อื่น (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๒/๒๖๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๕๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๒. ภูมิจาลวรรค ๒. อลังสูตร

ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. ใคร่ครวญได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย๑- ๒. ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้ ๓. พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้ ๔. รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๕. มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่ สละสลวยไม่หยาบคายให้รู้ความหมายได้ ๖ ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ สำหรับตนเอง และมีความสามารถสำหรับผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ สำหรับตนเอง และมีความสามารถสำหรับผู้อื่น ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. ใคร่ครวญไม่ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้ ๒. พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้ ๓. รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๔. มีวาจางาม ฯลฯ ให้รู้ความหมายได้ ๕. ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง @เชิงอรรถ : @ ใคร่ครวญได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย หมายถึงเมื่อกล่าวถึงขันธ์ ธาตุ อายตนะ เป็นต้น ก็สามารถเข้าใจ @ได้ฉับพลัน ในสูตรนี้ มุ่งกล่าวถึงสมถะและวิปัสสนา (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๒/๒๖๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๕๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๒. ภูมิจาลวรรค ๒. อลังสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ สำหรับตนเอง และมีความสามารถสำหรับผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ สำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. ใคร่ครวญได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ๒. ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้ ๓. พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรม ๔. ไม่มีวาจางาม ไม่เจรจาถ้อยคำไพเราะ ไม่ประกอบด้วยวาจา ชาวเมืองที่สละสลวยไม่หยาบคายให้รู้ความหมายได้ ทั้งไม่ชี้แจงให้ เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ไม่ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ ไม่เร้าใจ ให้อาจหาญแกล้วกล้า ไม่ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ สำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ สำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. ใคร่ครวญได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ๒. ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้ แต่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรง จำไว้ ทั้งไม่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๓. มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ ฯลฯ ให้รู้ความหมายได้ ๔. ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๕๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๒. ภูมิจาลวรรค ๒. อลังสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ สำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ สำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. ใคร่ครวญไม่ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้ ๒. พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้ ๓. รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่ไม่มีวาจางาม ไม่เจรจาถ้อยคำไพเราะ ไม่ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่สละสลวย ไม่หยาบคายให้รู้ความหมายได้ ทั้งไม่ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารี เห็นชัด ไม่ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ ไม่เร้าใจให้อาจหาญ แกล้วกล้า ไม่ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ สำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ สำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. ใคร่ครวญไม่ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้ ๒. ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้ ทั้งไม่รู้อรรถรู้ธรรม แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่มีวาจางาม ฯลฯ ให้รู้ความ หมายได้ ๓. ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจ ให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๖๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๒. ภูมิจาลวรรค ๒. อลังสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ สำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ สำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. ใคร่ครวญไม่ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งไม่ทรงจำธรรมที่ฟัง แล้วไว้ได้ แต่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้ ๒. รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว แต่ไม่มีวาจางาม ฯลฯ ให้รู้ความหมายได้ ทั้งไม่ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ สำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ สำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. ใคร่ครวญไม่ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งไม่ทรงจำธรรมที่ฟังแล้ว ไว้ได้ ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้ ไม่รู้อรรถรู้ธรรม แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่สละสลวยไม่หยาบคายให้รู้ความหมายได้ ๒. ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ สำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง
อลังสูตรที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๖๑}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๓๕๗-๓๖๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=23&page=357&pages=5&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=9963 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=23&A=9963#p357 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๕๗-๓๖๑.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]