ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๓๖๘-๓๖๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๒. ภูมิจาลวรรค ๖. วิโมกขสูตร

๖. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะที่ ๖ ๗. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะที่ ๗ ๘. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะที่ ๘ ภิกษุทั้งหลาย อภิภายตนะ ๘ ประการนี้แล
อภิภายตนสูตรที่ ๕ จบ
๖. วิโมกขสูตร
ว่าด้วยวิโมกข์
[๖๖] ภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์๑- ๘ ประการนี้ วิโมกข์ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. บุคคลผู้มีรูป๒- เห็นรูปทั้งหลาย นี้เป็นวิโมกข์ที่ ๑ ๒. บุคคลผู้มีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก นี้เป็นวิโมกข์ที่ ๒ @เชิงอรรถ : @ วิโมกข์(ความหลุดพ้น) หมายถึงภาวะที่จิตหลุดพ้นจากสิ่งรบกวนและน้อมดิ่งไปในอารมณ์นั้นๆ @(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๖/๒๗๒) ดู ที.ม. ๑๐/๑๒๙/๖๓, ๑๗๔/๑๐๐, ที.ปา ๑๑/๓๓๙/๒๓๑, ๓๕๘/๒๗๑-๒๗๒, @ม.ม. ๑๓/๒๔๘/๒๒๓-๒๒๔, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๒๘/๕๓๐-๕๓๑ @ มีรูป ในที่นี้หมายถึงได้รูปฌานที่เกิดจากอาการทำบริกรรมในรูปภายในตน เช่น ทำบริกรรมผม เหงื่อ เนื้อ @เลือด กระดูก ฟัน เล็บ โดยวิธีการบริกรรมเป็นสีต่างๆ มีสีเขียว เหลือง แดง เป็นต้น @(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๕/๒๗๐, ๖๖/๒๗๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๖๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๒. ภูมิจาลวรรค ๗. อนริยโวหารสูตร

๓. บุคคลเป็นผู้น้อมใจไปว่า ‘งาม’ เท่านั้น นี้เป็นวิโมกข์ที่ ๓ ๔. บุคคลบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘อากาศหา ที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ที่ ๔ ๕. บุคคลล่วงอากาสานัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุ วิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ นี้เป็นวิโมกข์ที่ ๕ ๖. บุคคลล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุ อากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ นี้เป็น วิโมกข์ที่ ๖ ๗. บุคคลล่วงอากิญจัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ที่ ๗ ๘. บุคคลล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ที่ ๘ ภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์ ๘ ประการนี้แล
วิโมกขสูตรที่ ๖ จบ
๗. อนริยโวหารสูตร๑-
ว่าด้วยอนริยโวหาร
[๖๗] ภิกษุทั้งหลาย อนริยโวหาร๒- ๘ ประการนี้ อนริยโวหาร ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้เห็นว่าได้เห็น ๒. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ฟังว่าได้ฟัง @เชิงอรรถ : @ ที.ปา. ๑๑/๓๑๓/๒๐๖, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๕๐/๓๖๘, ๒๕๒/๓๖๙, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๓๙/๕๙๐ @ อนริยโวหาร ในที่นี้หมายถึงถ้อยคำของเหล่าชนผู้ไม่ใช่พระอริยะ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๕๐/๔๔๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๖๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๓๖๘-๓๖๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=23&page=368&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=10290 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=23&A=10290#p368 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๖๘-๓๖๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]