ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๓๗-๔๓.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓. วัชชิสัตตกวรรค ๓. ปฐมสัตตกสูตร

๓. ปฐมสัตตกสูตร
ว่าด้วยอปริหานิยธรรม ๗ ประการ๑- สูตรที่ ๑
[๒๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง อปริหานิยธรรม ๗ ประการแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจัก กล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า ที่ภิกษุยังหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ประชุมกันมากครั้ง ๒. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า ที่ภิกษุยังพร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม และ พร้อมเพรียงกันทำกิจที่สงฆ์พึงทำ ๓. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า ที่ภิกษุยังไม่บัญญัติสิ่งที่เรามิได้บัญญัติไว้ ไม่ล้มล้างสิ่งที่เราบัญญัติ ไว้แล้ว ถือปฏิบัติมั่นในสิกขาบทที่บัญญัติไว้ ๔. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า ที่ภิกษุยังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุผู้เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู๒- บวชมานาน เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก และสำคัญถ้อยคำของ ท่านเหล่านั้นว่าเป็นสิ่งควรรับฟัง ๕. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า ที่ภิกษุยังไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งตัณหาก่อให้เกิดภพใหม่ ที่เกิดขึ้นแล้ว @เชิงอรรถ : @ ดู ที.ม. ๑๐/๑๓๖-๑๔๐/๖๙-๗๒ @ เป็นเถระในที่นี้หมายถึงเป็นผู้มีความมั่นคง(ถิรภาวะ)ในพระศาสนาไม่หวนคืนไปสู่เพศคฤหัสถ์อีกประกอบ @ด้วยคุณธรรมที่ให้เป็นพระเถระคือศีลเป็นต้น รัตตัญญู เป็นตำแหน่งเอตทัคคะที่พระอัญญาโกณฑัญญะ @ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้า มีความหมายว่ารู้ราตรีนาน คือบวช รู้แจ้งธรรม และเป็นพระขีณาสพก่อน @พระสาวกทั้งหลาย (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๘๘/๑๒๒, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๓/๑๗๔, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๓/๒๐๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓. วัชชิสัตตกวรรค ๔. ทุติยสัตตกสูตร

๖. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า ที่ภิกษุยังเป็นผู้มุ่งหวังเสนาสนะป่า ๗. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า ที่ภิกษุตั้งสติมั่นไว้ในภายในว่า ‘ทำอย่างไร เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ผู้มีศีลงามที่ยังไม่มา ขอให้มา และท่านที่มาแล้ว พึงอยู่อย่างผาสุก’ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่ และใส่ใจอปริหานิยธรรม ทั้ง ๗ ประการนี้อยู่”
ปฐมสัตตกสูตรที่ ๓ จบ
๔. ทุติยสัตตกสูตร
ว่าด้วยอปริหานิยธรรม ๗ ประการ สูตรที่ ๒
[๒๔] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการแก่เธอทั้งหลาย ฯลฯ๑- อปริหานิยธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า ที่ภิกษุยังเป็นผู้ไม่ชอบการงาน๒- ไม่ยินดีในการงาน ไม่หมั่นประกอบ ความเป็นผู้ชอบการงาน ๒. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า ที่ภิกษุยังเป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย๓- ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ เครื่องหมาย “ฯลฯ” ที่ปรากฏในตอนต้นข้อความของข้อ ๒๔-๒๗ นี้ ดูความเต็มในข้อ ๒๓ (ปฐมสัตตกสูตร) @หน้า ๓๗ ในเล่มนี้ @ ไม่ชอบการงาน ในที่นี้หมายถึงการหยุดพักทำกิจมีการทำจีวร ประคตเอว ผ้ากรองน้ำ ไม้กวาด และผ้า @เช็ดเท้า หรืองานก่อสร้างต่างๆ เช่นก่อสร้างวิหารเป็นต้น ที่เป็นเหตุให้ละเลยต่อการบำเพ็ญคันถธุระและ @วิปัสสนาธุระ หันมามุ่งบำเพ็ญสมณธรรม (ที.ม.อ. ๒/๑๓๗/๑๒๘, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๔/๑๗๖-๑๗๗, @องฺ.ฉกฺก. ฏีกา ๓/๑๔-๑๕/๑๑๘) @ ไม่ชอบการพูดคุย ในที่นี้หมายถึงไม่มุ่งสนทนาเรื่องนอกธรรมวินัย เช่น เรื่องบุรุษ สตรี เป็นต้น แต่ @สนทนาเรื่องธรรม ถามปัญหา ตอบปัญหาเกี่ยวกับธรรมวินัย พูดน้อย พูดมีที่จบ ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า @ภิกษุผู้นั่งประชุม มีหน้าที่ ๒ อย่าง คือ (๑) สนทนาธรรม (๒) เป็นผู้นิ่งอย่างพระอริยะ (ที.ม.อ. ๒/๑๓๗/๑๒๘, @องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๔/๑๗๗) และดู ม.มู. ๑๒/๒๗๓/๒๓๕, องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๒๒/๔๕๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓. วัชชิสัตตกวรรค ๕. ตติยสัตตกสูตร

๓. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า ที่ภิกษุยังเป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ๑- ฯลฯ ๔. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า ที่ภิกษุยังเป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ฯลฯ ๕. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า ที่ภิกษุยังเป็นผู้ไม่มีความปรารถนาชั่ว ไม่ตกไปสู่อำนาจของความ ปรารถนาชั่ว ๖. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า ที่ภิกษุยังไม่มีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว มีเพื่อนชั่ว ๗. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบ เท่าที่ภิกษุยังไม่ถึงความหยุดชงักเสียในระหว่างเพียงเพราะได้บรรลุ คุณวิเศษชั้นต่ำ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่ และใส่ใจอปริหานิยธรรม ทั้ง ๗ ประการนี้อยู่
ทุติยสัตตกสูตรที่ ๔ จบ
๕. ตติยสัตตกสูตร
ว่าด้วยอปริหานิยธรรม ๗ ประการ สูตรที่ ๓
[๒๕] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการแก่เธอทั้งหลาย ฯลฯ อปริหานิยธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบ เท่าที่ภิกษุยังมีศรัทธา๒- @เชิงอรรถ : @ ไม่ชอบการนอนหลับ ในที่นี้หมายถึงจะยืนก็ตาม จะเดินก็ตาม จะนั่งก็ตาม จะมีจิตตกภวังค์เพราะร่างกาย @เจ็บป่วยก็ตาม ก็ไม่ถูกถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) ครอบงำ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๔/๑๗๗) @และดู ม.มู. ๑๒/๓๘๗/๓๔๕ (มหาสัจจกสูตร) ประกอบ @ ศรัทธา มี ๔ ประการ คือ (๑) อาคมนียะ (ศรัทธาของพระโพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญเพื่อพระสัพพัญญุตญาณ) @(๒) อธิคมะ (ศรัทธาของพระอริยบุคคล) (๓) ปสาทะ (ศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์) @(๔) โอกัปปนะ (ศรัทธาอย่างมั่นคง) แต่ในที่นี้หมายถึงปสาทะและโอกัปปนะเท่านั้น (ที.ม.อ. ๒/๑๓๘/๑๒๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓. วัชชิสัตตกวรรค ๖. โพชฌังคสูตร

๒. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบ เท่าที่ภิกษุยังมีหิริ ๓. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า ที่ภิกษุยังมีโอตตัปปะ ๔. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า ที่ภิกษุยังเป็นพหูสูต๑- ๕. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า ที่ภิกษุยังปรารภความเพียร ๖. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า ที่ภิกษุยังมีสติตั้งมั่น ๗. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า ที่ภิกษุยังมีปัญญา ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่ และใส่ใจอปริหานิยธรรม ทั้ง ๗ ประการนี้อยู่
ตติยสัตตกสูตรที่ ๕ จบ
๖. โพชฌังคสูตร
ว่าด้วยโพชฌงค์ที่เป็นอปริหานิยธรรม
[๒๖] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการแก่เธอทั้งหลาย ฯลฯ อปริหานิยธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า ที่ภิกษุยังเจริญสติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือ ความระลึกได้) @เชิงอรรถ : @ พหูสูต มี ๒ ประการ คือ (๑) ปริยัตติพหูสูต (แตกฉานในพระไตรปิฎก) (๒) ปฏิเวธพหูสูต (บรรลุสัจจะ @ทั้งหลาย) แต่ในที่นี้หมายถึงปริยัตติพหูสูต (ที.ม.อ. ๒/๑๓๘/๑๓๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓. วัชชิสัตตกวรรค ๖. โพชฌังคสูตร

๒. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า ที่ภิกษุยังเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือความเฟ้นธรรม) ๓. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า ที่ภิกษุยังเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือ ความเพียร) ๔. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า ที่ภิกษุยังเจริญปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือ ความอิ่มใจ) ๕. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า ที่ภิกษุยังเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือความสงบกายสงบใจ) ๖. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า ที่ภิกษุยังเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือ ความตั้งจิตมั่น) ๗. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า ที่ภิกษุยังเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือความวางใจเป็นกลาง) ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่ และใส่ใจอปริหานิยธรรม ทั้ง ๗ ประการนี้อยู่
โพชฌังคสูตรที่ ๖ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓. วัชชิสัตตกวรรค ๗. สัญญาสูตร

๗. สัญญาสูตร
ว่าด้วยสัญญาที่เป็นอปริหานิยธรรม
[๒๗] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการแก่เธอทั้งหลาย ฯลฯ อปริหานิยธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบ เท่าที่ภิกษุยังเจริญอนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร) ๒. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบ เท่าที่ภิกษุยังเจริญอนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตา แห่งธรรมทั้งปวง) ๓. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบ เท่าที่ภิกษุยังเจริญอสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย) ๔. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบ เท่าที่ภิกษุยังเจริญอาทีนวสัญญา (กำหนดหมายโทษทุกข์ของกาย อันมีความเจ็บไข้ต่างๆ) ๕. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบ เท่าที่ภิกษุยังเจริญปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตก และบาปธรรมทั้งหลาย) ๖. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบ เท่าที่ภิกษุยังเจริญวิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรม ละเอียดประณีต) ๗. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบ เท่าที่ภิกษุยังเจริญนิโรธสัญญา (กำหนดหมายนิโรธว่าเป็นธรรม ละเอียดประณีต) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓. วัชชิสัตตกวรรค ๘. ปฐมปริหานิสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่ และใส่ใจอปริหานิยธรรม ทั้ง ๗ ประการนี้อยู่
สัญญาสูตรที่ ๗ จบ
๘. ปฐมปริหานิสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุแห่งความเสื่อม สูตรที่ ๑
[๒๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก- เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้ เป็นเสขะ ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความเป็นผู้ชอบการงาน ๒. ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย ๓. ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ ๔. ความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ๕. ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๖. ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค ๗. กิจที่สงฆ์จะต้องทำมีอยู่ในสงฆ์ ภิกษุผู้เป็นเสขะไม่เห็นประจักษ์ในกิจนั้น อย่างนี้ว่า ‘พระเถระผู้เป็นรัตตัญญู บวชมานาน เป็นผู้รับภาระมีอยู่ ในสงฆ์ ท่านเหล่านั้นจักปรากฏด้วยกิจนั้น‘๑- จึงต้องขวนขวายด้วย ตนเอง @เชิงอรรถ : @ ท่านเหล่านั้นจักปรากฏด้วยกิจนั้น หมายถึงท่านจะรับภาระหน้าที่ตามสมควรแก่ภาวะของท่านเอง @(องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๘/๑๗๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๓}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๓๗-๔๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=23&page=37&pages=7&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=976 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=23&A=976#p37 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๗-๔๓.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]