ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๔๕๒.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๒. สีหนาทวรรค ๑. สีหนาทสูตร

ครั้นท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกับท่านพระสารีบุตรว่า “สารีบุตร เพื่อนพรหมจารีรูปหนึ่งในธรรมวินัยนี้กล่าวหาเธอว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระ สารีบุตรกระทบข้าพระองค์แล้ว ไม่ขอโทษ ก็จาริกไป” ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใดไม่ตั้งมั่นกาย- คตาสติ(สติไปในกาย)ไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่งใน ธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ ก็พึงจาริกไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ๑. ชนทั้งหลายย่อมทิ้งของสะอาดบ้าง ทิ้งของไม่สะอาดบ้าง ทิ้งคูถบ้าง ทิ้งมูตรบ้าง ทิ้งน้ำลายบ้าง ทิ้งหนองบ้าง ทิ้งเลือดบ้าง ลงบน แผ่นดิน แต่แผ่นดินก็ไม่อึดอัด ระอา หรือรังเกียจสิ่งนั้น แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีใจเสมอด้วยแผ่นดิน ไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ๑- ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ เบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใดไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ ไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่งในพระธรรม- วินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงจาริกไป ๒. ชนทั้งหลายย่อมล้างของสะอาดบ้าง ล้างของไม่สะอาดบ้าง ล้างคูถ บ้าง ล้างมูตรบ้าง ล้างน้ำลายบ้าง ล้างหนองบ้าง ล้างเลือดบ้าง ในน้ำ แต่น้ำก็ไม่อึดอัด ระอา หรือรังเกียจสิ่งนั้น แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีใจเสมอด้วยน้ำ ไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใดไม่ตั้งมั่นกายคตาสติไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารี รูปใดรูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงจาริกไป ๓. ไฟย่อมไหม้ของสะอาดบ้าง ไหม้ของไม่สะอาดบ้าง ไหม้คูถบ้าง ไหม้มูตรบ้าง ไหม้น้ำลายบ้าง ไหม้หนองบ้าง ไหม้เลือดบ้าง แต่ไฟก็ @เชิงอรรถ : @ มหัคคตะ แปลว่าถึงความเป็นใหญ่ กล่าวคือเป็นรูปาวจรกุศลและอรูปาวจรกุศล เพราะสามารถข่มกิเลสได้ @หรือดำเนินไปด้วยฉันทะ วิริยะ จิตตะและปัญญาที่กว้างขวาง (ขุ.ป.อ. ๑/๑๐๔/๓๖๖, อภิ.สงฺ.อ. ๑๒/๙๒) @และดู อภิ.สงฺ. (แปล) ๓๔/๑๖๐-๒๖๘/๕๗-๘๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๕๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๔๕๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=23&page=452&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=12642 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=23&A=12642#p452 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๕๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]