ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๕๑๕.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๔. มหาวรรค ๗. โลกายติกสูตร

ผู้มีอายุ ครั้งหนึ่ง ผมพักอยู่ ณ อัญชนมิคทายวัน เมืองสาเกต ครั้งนั้นแล ภิกษุณีชื่อชฏิลภาคิกาเข้าไปหาผมจนถึงที่อยู่ ไหว้แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ครั้นแล้ว ได้กล่าวกับผมดังนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ผู้เจริญ สมาธิใดอันกิเลสน้อมไปไม่ได้๑- นำไป ไม่ได้๒- ไม่มีการข่มห้ามกิเลสด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง ชื่อว่าตั้งมั่นแล้วเพราะ หลุดพ้น ชื่อว่ายินดีเพราะตั้งมั่น ชื่อว่าไม่สะดุ้งเพราะยินดี สมาธินี้พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า มีอะไรเป็นผล’ เมื่อชฏิลภาคิกาภิกษุณีกล่าวอย่างนี้แล้ว ผมได้กล่าวกับ ภิกษุณีนั้นว่า ‘น้องหญิง สมาธิใดอันกิเลสน้อมไปไม่ได้ นำไปไม่ได้ ไม่มีการข่ม ห้ามกิเลสด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง ชื่อว่าตั้งมั่นแล้วเพราะหลุดพ้น ชื่อว่ายินดี เพราะตั้งมั่น ชื่อว่าไม่สะดุ้งเพราะยินดี สมาธินี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีอรหัต เป็นผล’ ผู้มีอายุ ภิกษุผู้มีสัญญาอย่างนี้ ย่อมไม่รับรู้อายตนะนั้น”
อานันทสูตรที่ ๖ จบ
๗. โลกายติกสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ผู้ชำนาญคัมภีร์โลกายัต๓-
[๓๘] ครั้งนั้น พราหมณ์ผู้ชำนาญในคัมภีร์โลกายัต ๒ คน เข้าไปเฝ้าพระ ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ท่านปูรณะ กัสสปะ เป็นสัพพัญญู เห็นสิ่งทั้งปวง ปฏิญญาญาณทัสสนะอย่างเบ็ดเสร็จว่า ‘เมื่อเราเดิน ยืน หลับ และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะได้ปรากฏต่อเนื่องตลอดไป’ เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เรารู้เห็นโลกอันไม่มี ที่สุดด้วยญาณอันไม่มีที่สุด’ ท่านพระโคดม แม้แต่ท่านนิครนถ นาฎบุตรนี้ก็เป็น สัพพัญญู เห็นสิ่งทั้งปวง ปฏิญญาญาณทัสสนะอย่างเบ็ดเสร็จว่า ‘เมื่อเราเดิน ยืน หลับ และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะได้ปรากฏต่อเนื่องตลอดไป’ เธอกล่าวอย่างนี้ว่า @เชิงอรรถ : @ น้อมไปไม่ได้ ในที่นี้หมายถึงไม่น้อมไปตามอำนาจราคะ (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๗/๓๑๑) @ นำไปไม่ได้ ในที่นี้หมายถึงไม่ถูกชักนำไปตามอำนาจโทสะ (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๗/๓๑๑) @ โลกายัต หมายถึงวิตัณฑวาทศาสตร์ คือ ศิลปะแห่งการเอาชนะผู้อื่นในเชิงวาทศิลป์ โดยการอ้างทฤษฎีและ @ประเพณีทางสังคมมาหักล้างสัจธรรม มุ่งแสดงให้เห็นว่าตนฉลาดกว่า มิได้มุ่งสัจธรรมแต่อย่างใด @(ที.สี.อ. ๑/๒๕๖/๒๒๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๑๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๕๑๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=23&page=515&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=14428 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=23&A=14428#p515 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23



จบการแสดงผล หน้าที่ ๕๑๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]