ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๕๕๕-๕๕๘.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๒. สติปัฏฐานวรรค ๙. เจโตขีลสูตร

๙. เจโตขีลสูตร๑-
ว่าด้วยกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู
[๗๑] ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการนี้ กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในศาสดา๒- จิตของ ภิกษุผู้เคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในศาสดานั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำ ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการ ที่ ๑ ของภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ๒. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในธรรม ฯลฯ ๓. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสงฆ์ ฯลฯ ๔. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสิกขา (ข้อที่จะต้องศึกษา) ฯลฯ ๕. เป็นผู้โกรธ ไม่พอใจ มีจิตถูกโทสะ (ความคิดประทุษร้าย) กระทบ มีจิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้โกรธ ไม่พอใจ มีจิตถูกโทสะกระทบ มีจิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารี @เชิงอรรถ : @ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๑๙/๒๑๑, ม.มู. ๑๒/๑๘๕-๑๘๙/๑๕๖-๑๖๑, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๐๕/๓๔๗, @องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๔/๒๒-๒๓, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๑/๕๙๓-๕๙๔ @ ไม่เลื่อมใสในศาสดา ในที่นี้หมายถึงไม่เชื่อว่าพระสรีระของพระพุทธเจ้าประดับด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ @ประการ ไม่เชื่อว่าพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธเจ้าสามารถรู้อดีต อนาคต และปัจจุบัน @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๕/๘๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๕๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๒. สติปัฏฐานวรรค ๑๐. เจตโสวินิพันธสูตร

ทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจ ตะปูประการที่ ๕ ของภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อ ประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพื่อละกิเลสเครื่องตรึง จิตดุจตะปู ๕ ประการนี้แล ฯลฯ
เจโตขีลสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. เจตโสวินิพันธสูตร๑-
ว่าด้วยกิเลสเครื่องผูกใจ
[๗๒] ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้ กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความ เร่าร้อน ไม่ปราศจากความอยากในกามทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ยัง ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจาก ความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความอยากในกามทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญ เพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ ๑ ของภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไป @เชิงอรรถ : @ ที.ปา. ๑๑/๓๒๐/๒๑๑-๒๑๒, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๐๖/๓๔๘, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๔/๒๓-๒๔, @อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๑/๕๙๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๕๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๒. สติปัฏฐานวรรค ๑๐. เจตโสวินิพันธสูตร

เพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ๒. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาย ฯลฯ ๓. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในรูป ฯลฯ ๔. ฉันอาหารตามต้องการจนอิ่มเกินไป ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอกเขนก ความสุขในการหลับอยู่ ฯลฯ ๕. ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่ หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้๑- เราจักเป็นเทพเจ้า หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง’ จิตของภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วย ความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพเจ้า หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง’ ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำ ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ ๕ ของ ผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำ ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ เพื่อละกิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้แล @เชิงอรรถ : @ ศีล หมายถึงปาริสุทธิศีล ๔ ประการ คือ (๑) ปาติโมกขสังวรศีล ศีลคือความสำรวมในพระปาติโมกข์ @เว้นจากข้อห้ามทำตามข้ออนุญาต ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย (๒) อินทรียสังวรศีล คือ ความ @สำรวมอินทรีย์ระวังไม่ให้บาปอกุศลครอบงำ เมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๖ (๓) อาชีวปาริสุทธิศีล ศีล @คือความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ เลี้ยงชีวิตโดยทางที่ชอบไม่ประกอบอเนสนา(การแสวงหาอันไม่สมควร) มีหลอกลวง @เขาเลี้ยงชีพเป็นต้น (๔) ปัจจยสันนิสิตศีล ศีลที่เกี่ยวกับปัจจัย ๔ ได้แก่ ปัจจัยปัจจเวกขณะ คือ พิจารณา @ใช้สอยปัจจัย ๔ ให้เป็นไปตามความหมายและประโยชน์ของสิ่งนั้น ไม่บริโภคด้วยตัณหา @(วิสุทฺธิ. ๑/๑๔-๑๘/๑๗-๓๖) @วัตร หมายถึงวัตตสมาทาน (การประพฤติข้อปฏิบัติ) @ตบะ หมายถึงตปจรณะ (การประพฤติตบะ) @พรหมจรรย์ หมายถึงเมถุนวิรัติ (การงดเว้นจากการร่วมประเวณี) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๖/๘๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๕๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๒. สติปัฏฐานวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัย ๑. พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ฯลฯ ๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ ๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพื่อละกิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้แล
เจตโสวินิพันธสูตรที่ ๑๐ จบ
สติปัฏฐานวรรคที่ ๒ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สิกขาทุพพัลยสูตร ๒. นีวรณสูตร ๓. กามคุณสูตร ๔. อุปาทานักขันธสูตร ๕. โอรัมภาคิยสูตร ๖. คติสูตร ๗. มัจฉริยสูตร ๘. อุทธัมภาคิยสูตร ๙. เจโตขีลสูตร ๑๐. เจตโสวินิพันธสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๕๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๕๕๕-๕๕๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=23&page=555&pages=4&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=15472 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=23&A=15472#p555 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23



จบการแสดงผล หน้าที่ ๕๕๕-๕๕๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]