ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

หน้าที่ ๑๒๘-๑๓๑.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๑. สจิตตวรรค ๑๐. คิริมานันทสูตร

๑๐. คิริมานันทสูตร
ว่าด้วยการหายอาพาธของพระคิริมานนท์
[๖๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล ท่านพระคิริมานนท์อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านพระอานนท์จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระคิริมานนท์อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดอนุเคราะห์เสด็จไปเยี่ยมท่านพระ คิริมานนท์ยังที่อยู่เถิด พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้าเธอเข้าไปหาแล้วกล่าวสัญญา ๑๐ ประการแก่คิริมานนท์ภิกษุ เป็นไปได้ที่การอาพาธของคิริมานนท์ภิกษุจะสงบระงับ โดยฉับพลันเพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนี้ สัญญา ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อนิจจสัญญา ๒. อนัตตสัญญา ๓. อสุภสัญญา ๔. อาทีนวสัญญา ๕. ปหานสัญญา ๖. วิราคสัญญา ๗. นิโรธสัญญา ๘. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา ๙. สัพพสังขาเรสุ อนิจจสัญญา ๑๐. อานาปานสติ อนิจจสัญญา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี พิจารณา ว่า ‘รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง’ เป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้อยู่อย่างนี้ นี้เรียกว่า อนิจจสัญญา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๒๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๑. สจิตตวรรค ๑๐. คิริมานันทสูตร

อนัตตสัญญา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี พิจารณา เห็นว่า ตาเป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา หูเป็นอนัตตา เสียงเป็นอนัตตา จมูกเป็น อนัตตา กลิ่นเป็นอนัตตา ลิ้นเป็นอนัตตา รสเป็นอนัตตา กายเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะ เป็นอนัตตา ใจเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา เป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความ เป็นอนัตตาในอายตนะทั้งหลายที่เป็นภายในและภายนอก ๖ ประการนี้อยู่อย่างนี้ นี้เรียกว่า อนัตตสัญญา อสุภสัญญา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกายนี้เท่านั้น ตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป ตั้งแต่ ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า ‘ในกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต๑- หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม๒- ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร’ เป็นผู้พิจารณาเห็นโดย ความเป็นของไม่งามในกายนี้อยู่อย่างนี้ นี้เรียกว่า อสุภสัญญา อาทีนวสัญญา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี พิจารณา เห็นว่า ‘กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก เพราะฉะนั้น อาพาธต่างๆ จึงเกิดขึ้นในกายนี้ คือ โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคที่ใบหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เชื่อมซึม โรคท้อง โรคลมสลบ @เชิงอรรถ : @ ไต แปลจากคำว่า “วกฺก” (โบราณแปลว่า ม้าม) ได้แก่ ก้อนเนื้อ ๒ ก้อน มีขั้วเดียวกัน รูปร่างคล้ายลูก @สะบ้าของเด็กๆ หรือคล้ายผลมะม่วง ๒ ผลที่ติดอยู่ในขั้วเดียวกัน มีเอ็นใหญ่รึงรัดจากลำคอลงไปถึงหัวใจ @แล้วแยกออกห้อยอยู่ทั้ง ๒ ข้าง (ขุ.ขุ.อ. ๓/๔๓) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้บท @นิยามของคำว่า “ไต” ว่า “อวัยวะคู่หนึ่งของคนและสัตว์อยู่ในช่องท้องใกล้กระดูกสันหลัง ทำหน้าที่ขับของ @เสียออกมากับน้ำปัสสาวะ Buddhadatta Mahathera, A. Concise Pali-English Dictionary, 1985, (224); @และ Rhys Davids, T.W. Pali-English Dictionary, 1921-1925,(591) ให้ความหมายคำว่า “วกฺก” @ตรงกับคำว่า “ไต” (Kidney) @ ม้าม แปลจากคำว่า “ปิหก” ตาม (ขุ.ขุ.อ. ๓/๔๕) (โบราณแปลว่า ไต); พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน @พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้บทนิยามไว้ว่า “อวัยวะภายในร่างกาย ริมกระเพาะอาหารข้างซ้าย มีหน้าที่ทำลายเม็ด @เลือดแดงสร้างเม็ดเลือดเหลืองและสร้างภูมิคุ้มกันแก่ร่างกาย” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๒๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๑. สจิตตวรรค ๑๐. คิริมานันทสูตร

โรคลงแดง๑- โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลม บ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด โรคหูด โรคละอองบวม โรค อาเจียนเป็นเลือด โรคดี โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดี เป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสลดเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีไข้ สันนิบาตเป็นสมุฏฐาน อาพาธที่เกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธที่เกิดแต่การบริหารที่ ไม่สม่ำเสมอ อาพาธที่เกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธที่เกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ’ เป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความเป็นโทษในกายนี้อยู่อย่างนี้ นี้เรียกว่า อาทีนวสัญญา ปหานสัญญา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่รับกามวิตกที่เกิดขึ้น ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ทำให้ ถึงความเกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป ไม่รับพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้น ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ทำให้ถึงความเกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป ไม่รับวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้น ละ บรรเทา ทำให้ สิ้นสุด ทำให้ถึงความเกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป ไม่รับบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นอีก ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ทำให้ถึงความเกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป นี้เรียกว่า ปหานสัญญา วิราคสัญญา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี พิจารณา เห็นว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต คือความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนซึ่งอุปธิ ทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด นิพพาน’ นี้เรียกว่า วิราคสัญญา นิโรธสัญญา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี พิจารณา เห็นว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต คือความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนซึ่งอุปธิ ทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความดับ นิพพาน’ นี้เรียกว่า นิโรธสัญญา สัพพโลเก อนภิรตสัญญา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละอุปาทานในโลกที่เป็นเหตุตั้งมั่น ยึดมั่น และเป็น อนุสัยแห่งจิต งดเว้น ไม่ถือมั่น นี้เรียกว่า สัพพโลเก อนภิรตสัญญา @เชิงอรรถ : @ โรคลงแดง หมายถึงโรคที่ถ่ายอุจจาระท้องเดินเป็นเลือด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๓๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๑. สจิตตวรรค ๑๐. คิริมานันทสูตร

สัพพสังขาเรสุ อนิจจสัญญา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมอึดอัด ระอา รังเกียจในสังขารทั้งปวง นี้เรียกว่า สัพพสังขาเรสุ อนิจจสัญญา อานาปานสติ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้ บัลลังก์๑- ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า๒- มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก๓-
อานาปานสติ ๑๖ ขั้น๔-
๑. เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว ๒. เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น ๓. สำเหนียกว่า จะรู้ชัดกองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะรู้ชัดกองลมทั้งปวง หายใจออก ๔. สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร หายใจออก ๕. สำเหนียกว่า จะรู้ชัดปีติ หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะรู้ชัดปีติ หายใจออก @เชิงอรรถ : @ นั่งคู้บัลลังก์ หมายถึงนั่งพับขาเข้าหากันทั้ง ๒ ข้าง เรียกว่านั่งขัดสมาธิ (วิ.อ. ๑/๑๖๕/๔๔๕) @ ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า หมายถึงตั้งสติกำหนดอารมณ์กัมมัฏฐาน (วิ.อ. ๑/๑๖๕/๔๔๕) @ ตามอรรถกถาพระสูตรนี้ อัสสาสะ หมายถึง หายใจเข้า ปัสสาสะ หมายถึงหายใจออก (อสฺสาโสติ อนฺโต- @ปวิสนนาสิกวาโต. ปสฺสาโสติ พหินิกฺขมนนาสิกวาโต. ม.มู.อ. ๒/๓๐๕/๑๓๖) ส่วนตามอรรถกถาวินัยกลับกัน @คือ อัสสาสะ หมายถึงหายใจออก ปัสสาสะ หมายถึงหายใจเข้า (อสฺสาโสติ พหินิกฺขมนวาโต ปสฺสาโสติ @อนฺโตปวิสนวาโต. วิ.อ. ๑/๑๖๕/๔๔๖) @ ดู ม.ม. ๑๓/๑๒๑/๙๕-๙๖, ม.อุ. ๑๔/๑๔๗/๑๓๐-๑๓๑, สํ.ม. ๑๙/๙๗๗/๒๖๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๓๑}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๑๒๘-๑๓๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=24&page=128&pages=4&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=24&A=3639 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=24&A=3639#p128 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_24 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24 https://84000.org/tipitaka/english/?index_24



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๒๘-๑๓๑.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]