ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

หน้าที่ ๒๑๗-๒๑๘.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๕. อุปาสกวรรค ๓. กิงทิฏฐิกสูตร

อนาถบิณฑิกคหบดีตอบว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่ทราบทิฏฐิทั้งหมดของ พระผู้มีพระภาคเลย” “เอาเถิดท่านคหบดี ตามที่ท่านว่า ท่านไม่ทราบทิฏฐิทั้งหมดของพระสมณ- โคดม ขอท่านจงบอกเถิด พวกภิกษุมีทิฏฐิอย่างไร” “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่ทราบทิฏฐิทั้งหมดของภิกษุทั้งหลายเลย” “เอาเถิดท่านคหบดี ตามที่ท่านว่า ท่านไม่ทราบทิฏฐิทั้งหมดของพระสมณ- โคดม ทั้งไม่ทราบทิฏฐิทั้งหมดของพวกภิกษุอย่างนี้ ท่านจงบอกเถิด ท่านมีทิฏฐิ อย่างไร” “ท่านผู้เจริญ ไม่ยากที่ข้าพเจ้าจะบอกทิฏฐิของข้าพเจ้าว่ามีทิฏฐิอย่างใด เชิญ ท่านทั้งหลายบอกทิฏฐิของตนก่อนเถิด ไม่ยากที่ข้าพเจ้าจักบอกทิฏฐิของข้าพเจ้าว่า มีทิฏฐิอย่างใดในภายหลัง” เมื่ออนาถบิณฑิกคหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว ปริพาชกคนหนึ่งได้กล่าวกับอนาถ- บิณฑิกคหบดีว่า “คหบดี เรามีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” ปริพาชกคนหนึ่งกล่าวกับอนาถบิณฑิกคหบดีว่า “คหบดี เรามีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” แม้ปริพาชกอีกคนหนึ่งก็กล่าวกับอนาถบิณฑิกคหบดีว่า “โลกมีที่สุด....” อีก คนหนึ่งกล่าวว่า “โลกไม่มีที่สุด...” อีกคนหนึ่งกล่าวว่า “ชีวะ๑- กับสรีระเป็นอย่าง เดียวกัน...” อีกคนหนึ่งกล่าวว่า “ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน....” อีกคนหนึ่งกล่าวว่า “หลังจากตายแล้วตถาคต๒- เกิดอีก...” อีกคนหนึ่งกล่าวว่า “หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก...” อีกคนหนึ่งกล่าวว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่ เกิดอีกก็มี...” อีกคนหนึ่งกล่าวว่า “คหบดี เรามีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” @เชิงอรรถ : @ ชีวะ ในที่นี้หมายถึงวิญญาณอมตะหรืออาตมัน (ตามนัย อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑/๑๒๙) @ ตถาคต ในที่นี้เป็นคำที่ลัทธิอื่นใช้มาก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา (อาตมัน) ไม่ได้หมายถึงพระพุทธเจ้า @อรรถกถาอธิบายว่า หมายถึงสัตว์ (เทียบ ที.สี.อ. ๖๕/๑๐๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๑๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๕. อุปาสกวรรค ๓. กิงทิฏฐิกสูตร

เมื่อปริพาชกกล่าวอย่างนี้แล้ว อนาถบิณฑิกคหบดีจึงได้กล่าวว่า “ข้าแต่พระ คุณเจ้าผู้เจริญ ท่านผู้ใดกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘คหบดี เรามีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ทิฏฐิของท่านผู้นี้เกิดขึ้นเพราะการมนสิการโดยไม่ แยบคายของตนเป็นเหตุ หรือเพราะคำพูดของผู้อื่นเป็นเหตุ ก็ทิฏฐินี้แล เกิดขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อขึ้น อิงอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้น ถูกปัจจัย ปรุงแต่งขึ้น ก่อขึ้น อิงอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเท่านั้นที่ท่านผู้นี้ติดแล้ว เข้าถึงแล้ว แม้ท่านผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า ‘คหบดี เรามีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้น จริง อย่างอื่นไม่จริง’ ทิฏฐิของท่านผู้นี้เกิดขึ้นเพราะการมนสิการโดยไม่แยบคายของ ตนเป็นเหตุ หรือเพราะคำพูดของผู้อื่นเป็นเหตุ ก็ทิฏฐินี้แล เกิดขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ขึ้น ก่อขึ้น อิงอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อขึ้น อิงอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเท่านั้นที่ท่านผู้นี้ติดแล้ว เข้าถึงแล้ว แม้ท่านผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า ‘คหบดี เรามีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มี ที่สุด ... ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ... ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ... หลังจาก ตายแล้วตถาคตเกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีก ก็ไม่ใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ทิฏฐิของท่านผู้นี้เกิดขึ้นเพราะการมนสิการ โดยไม่แยบคายเป็นเหตุ หรือเพราะคำพูดของผู้อื่นเป็นเหตุ ก็ทิฏฐินี้แล เกิดขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อขึ้น อิงอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ถูกปัจจัย ปรุงแต่งขึ้น ก่อขึ้น อิงอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเท่านั้นที่ท่านผู้นี้ติดแล้ว เข้าถึงแล้ว” เมื่ออนาถบิณฑิกคหบดีกล่าวอย่างนี้แล้วปริพาชกเหล่านั้นจึงได้กล่าวว่า “คหบดี เราทั้งหมดบอกทิฏฐิของตนแล้ว ขอท่านจงบอกเถิด ท่านมีทิฏฐิอย่างไร” “ท่านผู้เจริญ สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อขึ้น อิงอาศัยปัจจัย เกิดขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นข้าพเจ้า มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๑๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๒๑๗-๒๑๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=24&page=217&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=24&A=6217 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=24&A=6217#p217 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_24 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24 https://84000.org/tipitaka/english/?index_24



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๑๗-๒๑๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]