ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

หน้าที่ ๔๐๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๑๐. โมรนิวาปสูตร

ไม่อาศัยแม้รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่ แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจเพ่ง แต่ย่อมเพ่ง สันธะ อนึ่ง เทวดาทั้งหลายพร้อมทั้งพระอินทร์ พรหม มนุษย์ย่อมนอบน้อม บุรุษอาชาไนยผู้เจริญซึ่งมีปกติเพ่งอย่างนี้แต่ที่ไกลทีเดียวว่า ข้าแต่ท่านบุรุษอาชาไนย ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน ข้าแต่ท่านบุรุษผู้สูงสุด ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน ข้าพเจ้าทั้งหลายรู้ชัดเหตุนั้นๆ ได้ เพราะอาศัยการเพ่งของท่าน”
สันธสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. โมรนิวาปสูตร
ว่าด้วยปริพพาชการามชื่อโมรนิวาปะ
[๑๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปริพพาชการามอันเป็นที่ให้ เหยื่อแก่นกยูง เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ ทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้มีความสำเร็จสูงสุด๑- มีความเกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด เป็นผู้ประเสริฐ กว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ @เชิงอรรถ : @ มีความสำเร็จสูงสุด(อัจจันตนิฏฐะ) หมายถึงนิพพาน (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๐/๓๘๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๔๐๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๔๐๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=24&page=406&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=24&A=11415 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=24&A=11415#p406 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_24 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24 https://84000.org/tipitaka/english/?index_24



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๐๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]