ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

หน้าที่ ๖๒.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๓. มหาวรรค ๗. ปฐมมหาปัญหาสูตร

โดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๓ ประการนี้แล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ปัญหา ๓ อุทเทส ๓ ไวยากรณ์ ๓’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา ๔ อุทเทส ๔ ไวยากรณ์ ๔’ เพราะอาศัยอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดย ชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๔ ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรม ๔ ประการคืออะไร คือ อาหาร ๔ ๑- ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๔ ประการนี้แล้ว จึงเป็น ผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ปัญหา ๔ อุทเทส ๔ ไวยากรณ์ ๔’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา ๕ อุทเทส ๕ ไวยากรณ์ ๕’ เพราะอาศัย อะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลาย กำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๕ ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรม ๕ ประการ คืออะไร คืออุปาทานขันธ์ ๕ ๒- ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๕ ประการนี้แล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ปัญหา ๕ อุทเทส ๕ ไวยากรณ์ ๕’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา ๖ อุทเทส ๖ ไวยากรณ์ ๖’ เพราะอาศัย อะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัด @เชิงอรรถ : @ อาหาร ๔ หมายถึง (๑) กวฬิงการาหาร(อาหารคือคำข้าว) (๒) ผัสสาหาร(อาหารคือผัสสะ) (๓) มโน- @สัญเจตนาหาร(อาหารคือมโนสัญเจตนา) (๔) วิญญาณาหาร(อาหารคือวิญญาณ) ดู ที.ปา. ๑๑/๓๑๑/๒๐๓, @ม.มู. ๑๒/๙๐/๖๕ @ ดู สํ.ข. ๑๗/๔๘/๓๙, อภิ.วิ. ๓๕/๑/๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๖๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๖๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=24&page=62&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=24&A=1784 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=24&A=1784#p62 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_24 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24 https://84000.org/tipitaka/english/?index_24



จบการแสดงผล หน้าที่ ๖๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]