ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

หน้าที่ ๑๔๗.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๕. ภิกขุวรรค ๕. อัญญตรวิปักขเสวกภิกขุวัตถุ

๓. โกกาลิกวัตถุ
เรื่องพระโกกาลิกะ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๓๖๓] ภิกษุรูปใดสำรวมปาก พูดโดยใช้มันตา๑- เสมอ ไม่ฟุ้งซ่าน แสดงแต่อรรถ๒- และธรรม๓- เท่านั้น ภาษิตของภิกษุนั้นไพเราะ
๔. ธัมมารามเถรวัตถุ
เรื่องพระเถระผู้ยินดีในธรรม
[๓๖๔] ภิกษุมีธรรมเป็นที่มายินดี๔- ยินดีแล้วในธรรม พิจารณาใคร่ครวญถึงธรรม ระลึกถึงธรรมอยู่ ย่อมไม่เสื่อมจากสัทธรรม๕-
๕. อัญญตรวิปักขเสวกภิกขุวัตถุ
เรื่องภิกษุผู้คบฝ่ายผิดรูปใดรูปหนึ่ง
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุที่เป็นฝักฝ่ายของพระเทวทัต ดังนี้) [๓๖๕] ภิกษุไม่ควรดูหมิ่นลาภของตน ไม่ควรเที่ยวปรารถนาลาภของคนอื่น เมื่อภิกษุปรารถนาลาภของคนอื่น ย่อมไม่บรรลุสมาธิ๖- @เชิงอรรถ : @ มันตา หมายถึงปัญญา (ขุ.ธ.อ. ๘/๕๘) @ อรรถ หมายถึงเนื้อความแห่งภาษิต (ขุ.ธ.อ. ๘/๕๘) @ ธรรม หมายถึงธรรมเทศนา (ขุ.ธ.อ. ๘/๕๘) @ ธรรมเป็นที่มายินดี ในที่นี้หมายถึงสมถะและวิปัสสนา (ขุ.ธ.อ. ๘/๕๙-๖๐) @ สัทธรรม หมายถึงโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ และโลกุตตรธรรม ๙ ประการ (ขุ.ธ.อ. ๘/๖๐) @และดูเทียบ ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๑๐๓๕/๕๐๙ @ สมาธิ หมายถึงอัปปนาสมาธิ หรืออุปจารสมาธิ (ขุ.ธ.อ. ๘/๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๔๗}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๑๔๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=25&page=147&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=3793 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=25&A=3793#p147 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 https://84000.org/tipitaka/english/?index_25



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๔๗.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]