![]() |
|||||
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |||||
![]() | |||||
![]() | |||||
|
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต หน้าที่ ๑๕๘-๑๖๘.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๖. พราหมณวรรค ๑๔. อุคคเสนวัตถุ
๑๓. อัญญตรพราหมณวัตถุ เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พราหมณ์คนหนึ่ง ดังนี้) [๓๙๖] เราไม่เรียกบุคคลผู้ถือกำเนิด เกิดในครรภ์มารดาว่า พราหมณ์ ถ้าเขายังมีกิเลสเครื่องกังวลอยู่ เขาเป็นเพียงผู้ชื่อว่า โภวาที๑- เท่านั้น เราเรียกผู้หมดกิเลสเครื่องกังวล หมดความยึดมั่นถือมั่นเท่านั้นว่า พราหมณ์๒-๑๔. อุคคเสนวัตถุ เรื่องนายอุคคเสน (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๓๙๗] ผู้ตัดสังโยชน์ได้หมดสิ้น ไม่สะดุ้ง๓- ผู้ล่วงพ้นกิเลสเครื่องข้อง๔- ได้ ผู้ปราศจากโยคะ๕- เราเรียกว่า พราหมณ์ @เชิงอรรถ : @๑ โภวาที หมายถึงบุคคลผู้มีปกติเที่ยวร้องเรียกตนเองว่า เป็นผู้เจริญ (ขุ.ธ.อ. ๘/๑๒๐) @๒ ม.ม. (แปล) ๑๓/๔๕๗/๕๗๗ @๓ ไม่สะดุ้ง หมายถึงไม่สะดุ้งหวาดกลัวเพราะตัณหา (ขุ.ธ.อ. ๘/๑๒๑) @๔ ดูเชิงอรรถที่ ๑ หน้า ๑๔๙ ในเล่มนี้ @๕ ดูเชิงอรรถที่ ๖ หน้า ๓๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๕๘}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๖. พราหมณวรรค ๑๗. สารีปุตตเถรวัตถุ
๑๕. เทฺวพราหมณวัตถุ เรื่องพราหมณ์ ๒ คน (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป ดังนี้) [๓๙๘] ผู้ตัดชะเนาะ เชือกหนัง และเงื่อน๑- พร้อมทั้งสายรัดได้ ถอดลิ่มสลัก๒- เป็นผู้ตรัสรู้แล้ว เราเรียกว่า พราหมณ์๑๖. อักโกสกภารทวาชวัตถุ เรื่องอักโกสกภารทวาชพราหมณ์ (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๓๙๙] ผู้ไม่ประทุษร้าย อดกลั้นคำด่า การฆ่า และการจองจำได้ มีขันติเป็นพลัง มีขันติเป็นกำลังพล เราเรียกว่า พราหมณ์๑๗. สารีปุตตเถรวัตถุ เรื่องพระสารีบุตรเถระ (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๔๐๐] ผู้ไม่มักโกรธ มีศีล มีวัตร ไม่มีตัณหาเครื่องฟูขึ้น ฝึกตนได้แล้ว มีสรีระเป็นร่างกายสุดท้าย เราเรียกว่า พราหมณ์ @เชิงอรรถ : @๑ ชะเนาะ หมายถึงความโกรธ เชือกหนัง หมายถึงตัณหา เงื่อน หมายถึงทิฏฐิ ๖๒ (ขุ.ธ.อ. ๘/๑๒๒) @๒ สายรัด หมายถึงอนุสัยกิเลส ลิ่มสลัก หมายถึงอวิชชา (ขุ.ธ.อ. ๘/๑๒๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๕๙}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๖. พราหมณวรรค ๒๐. เขมาภิกขุนีวัตถุ
๑๘. อุปปลวัณณาเถรีวัตถุ เรื่องพระอุบลวัณณาเถรี (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๔๐๑] ผู้ใดไม่ติดในกามทั้งหลาย เหมือนน้ำไม่ติดอยู่บนใบบัว เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาดไม่ติดอยู่บนปลายเหล็กแหลม เราเรียกผู้นั้นว่า พราหมณ์๑๙. อัญญตรพราหมณวัตถุ เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พราหมณ์คนหนึ่ง ดังนี้) [๔๐๒] ผู้ใดในศาสนานี้ รู้ชัดความสิ้นทุกข์ของตน ปลงภาระได้แล้ว ปราศจากโยคะ เราเรียกผู้นั้นว่า พราหมณ์๒๐. เขมาภิกขุนีวัตถุ เรื่องพระเขมาภิกษุณี (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ท้าวสักกะจอมเทพและเทวดาทั้งหลาย ดังนี้) [๔๐๓] ผู้มีปัญญาลึกซึ้ง เป็นปราชญ์ ฉลาดในทางและมิใช่ทาง๑- บรรลุประโยชน์สูงสุด เราเรียกว่า พราหมณ์ @เชิงอรรถ : @๑ ฉลาดในทางและมิใช่ทาง หมายถึงรู้ว่าธรรมนี้เป็นทางไปทุคติ ธรรมนี้เป็นทางไปสุคติ ธรรมนี้เป็นทาง @ไปนิพพาน และรู้ว่าธรรมนี้มิใช่ทาง (ขุ.ธ.อ. ๘/๑๒๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๖๐}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๖. พราหมณวรรค ๒๓. สามเณรวัตถุ
๒๑. ปัพภารวาสีติสสเถรวัตถุ เรื่องพระติสสเถระผู้อยู่ที่เงื้อมเขา (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๔๐๔] ผู้ไม่คลุกคลี๑- กับคน ๒ จำพวก คือ คฤหัสถ์ และบรรพชิต ไม่มีความอาลัยเที่ยวไป มีความปรารถนาน้อย เราเรียกว่า พราหมณ์๒๒. อัญญตรภิกขุวัตถุ เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๔๐๕] ผู้ใดละวางโทษทัณฑ์ในสัตว์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ที่ยังหวาดสะดุ้ง๒- และสัตว์ที่มั่นคง๓- ไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้ให้คนอื่นฆ่า เราเรียกผู้นั้นว่า พราหมณ์๒๓. สามเณรวัตถุ เรื่องสามเณร (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๔๐๖] ผู้ไม่มุ่งร้ายในหมู่คนผู้มุ่งร้าย ผู้สงบในหมู่คนผู้ชอบหาเรื่องใส่ตน ผู้ไม่ถือมั่นในหมู่คนผู้ถือมั่น เราเรียกว่า พราหมณ์ @เชิงอรรถ : @๑ คลุกคลี ในที่นี้หมายถึงการคลุกคลีทางกายคือการเห็น การฟัง การเจรจาปราศรัย การร่วมกิน ร่วมดื่ม @(ขุ.ธ.อ. ๘/๑๓๓) @๒ สัตว์ที่ยังหวาดสะดุ้ง หมายถึงสัตว์ที่ยังมีตัณหา (ขุ.ธ.อ. ๘/๑๓๕) @๓ สัตว์ที่มั่นคง หมายถึงสัตว์ที่หมดตัณหา (ขุ.ธ.อ. ๘/๑๓๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๖๑}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๖. พราหมณวรรค ๒๖. อัญญตรภิกขุวัตถุ
๒๔. มหาปันถกเถรวัตถุ เรื่องพระมหาปันถกเถระ (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๔๐๗] ผู้ใดทำราคะ โทสะ โมหะ มานะ และมักขะให้ตกไป๑- เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาดตกไปจากปลายเหล็กแหลม เราเรียกผู้นั้นว่า พราหมณ์๒๕. ปิลินทวัจฉเถรวัตถุ เรื่องพระปิลินทวัจฉเถระ (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๔๐๘] ผู้กล่าวคำที่ไม่หยาบคาย สื่อความหมายได้ เป็นคำจริง ไม่เป็นเหตุให้ใครๆ ขัดเคือง เราเรียกว่า พราหมณ์๒๖. อัญญตรภิกขุวัตถุ เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๔๐๙] ผู้ใดในโลกนี้ ไม่ถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ ไม่ว่ายาวหรือสั้น เล็กหรือใหญ่ งามหรือไม่งาม เราเรียกผู้นั้นว่า พราหมณ์ @เชิงอรรถ : @๑ ตกไป หมายถึงไม่ให้ตั้งอยู่ในใจ (ขุ.ธ.อ. ๘/๑๔๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๖๒}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๖. พราหมณวรรค ๒๙. เรวตเถรวัตถุ
๒๗. สารีปุตตเถรวัตถุ เรื่องพระสารีบุตรเถระ (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๔๑๐] ผู้ใดไม่มีความหวัง๑- ในโลกนี้และโลกหน้า ปราศจากความหวัง ปราศจากโยคะ เราเรียกผู้นั้นว่า พราหมณ์๒๘. มหาโมคคัลลานวัตถุ เรื่องพระมหาโมคคัลลานะ (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๔๑๑] ผู้ใดไม่มีความอาลัย๒- หมดความสงสัยเพราะรู้ชัด หยั่งลงสู่อมตะ๓- บรรลุแล้ว เราเรียกผู้นั้นว่า พราหมณ์๒๙. เรวตเถรวัตถุ เรื่องพระเรวตเถระ (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๔๑๒] ผู้ใดในโลกนี้ ละบุญและบาปทั้งสองได้ พ้นจากกิเลสเครื่องข้องได้ ไม่เศร้าโศก ปราศจากกิเลสดุจธุลี เป็นผู้บริสุทธิ์ เราเรียกผู้นั้นว่า พราหมณ์ @เชิงอรรถ : @๑ ความหวัง (อาสา) หมายถึงตัณหา (ขุ.ธ.อ. ๘/๑๔๔) @๒ อาลัย ในที่นี้หมายถึงตัณหา (ขุ.ธ.อ. ๘/๑๔๕) @๓ ดูเชิงอรรถที่ ๒ หน้า ๓๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๖๓}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๖. พราหมณวรรค ๓๑. สีวลิเถรวัตถุ
๓๐. จันทาภเถรวัตถุ เรื่องพระจันทาภเถระ (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๔๑๓] ผู้บริสุทธิ์ดุจจันทร์แจ่ม มีจิตผ่องใส ไม่ขุ่นมัว๑- เป็นผู้สิ้นความเพลิดเพลินในภพ๒- เราเรียกว่า พราหมณ์๓๑. สีวลิเถรวัตถุ เรื่องพระสีวลีเถระ (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๔๑๔] ผู้ใดก้าวพ้นทางอ้อม๓- ทางหล่ม๔- สงสาร๕- และโมหะได้แล้ว ข้ามไปถึงฝั่งแล้ว เจริญฌาน ไม่หวั่นไหว หมดความสงสัย ดับเย็น เพราะไม่ถือมั่น เราเรียกผู้นั้นว่า พราหมณ์ @เชิงอรรถ : @๑ ไม่ขุ่นมัว หมายถึงปราศจากมลทินคือกิเลส (ขุ.ธ.อ. ๘/๑๕๑) @๒ ความเพลิดเพลินในภพ หมายถึงตัณหาในภพทั้ง ๓ (กามภพ รูปภพ อรูปภพ) (ขุ.ธ.อ. ๘/๑๕๑) @๓ ทางอ้อม หมายถึงราคะ @๔ ทางหล่ม หมายถึงกิเลส (ขุ.ธ.อ. ๘/๑๕๒) @๕ สงสาร หมายถึงสังสารวัฏ (การเวียนว่ายตายเกิด) (ขุ.ธ.อ. ๘/๑๕๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๖๔}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๖. พราหมณวรรค ๓๔. โชติกเถรวัตถุ
๓๒. สุนทรสมุททเถรวัตถุ เรื่องพระสุนทรสมุทรเถระ (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๔๑๕] ผู้ใดในโลกนี้ ละกามได้แล้ว ออกบวชเป็นบรรพชิต เป็นผู้สิ้นกามและภพ เราเรียกผู้นั้นว่า พราหมณ์๓๓. ชฏิลวัตถุ เรื่องพระชฎิลเถระ (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๔๑๖] ผู้ใดในโลกนี้ ละตัณหาได้ขาด ออกบวชเป็นบรรพชิต เป็นผู้สิ้นตัณหาและภพ เราเรียกผู้นั้นว่า พราหมณ์๓๔. โชติกเถรวัตถุ เรื่องพระโชติกเถระ (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๔๑๖] ผู้ใดในโลกนี้ ละตัณหาได้ขาด ออกบวชเป็นบรรพชิต เป็นผู้สิ้นตัณหาและภพ เราเรียกผู้นั้นว่า พราหมณ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๖๕}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๖. พราหมณวรรค ๓๖. ทุติยนฏปุพพกเถรวัตถุ
๓๕. ปฐมนฏปุพพกเถรวัตถุ เรื่องพระเถระผู้เคยเป็นนักฟ้อนรูปที่ ๑ (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๔๑๗] ผู้ละกิเลสเครื่องประกอบอันเป็นของมนุษย์ได้๑- ล่วงพ้นกิเลสเครื่องประกอบอันเป็นทิพย์ได้แล้ว เป็นผู้ปราศจากโยคะ๒- ทั้งปวง เราเรียกผู้นั้นว่า พราหมณ์๓๖. ทุติยนฏปุพพกเถรวัตถุ เรื่องพระเถระผู้เคยเป็นนักฟ้อนรูปที่ ๒ (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๔๑๘] ผู้ละทั้งความยินดี๓- และความไม่ยินดี๔- เป็นผู้เยือกเย็น หมดอุปธิกิเลส ครอบงำโลกทั้งหมด๕- เป็นผู้แกล้วกล้า เราเรียกว่า พราหมณ์ @เชิงอรรถ : @๑ กิเลสเครื่องประกอบอันเป็นของมนุษย์ หมายถึงอายุและกามคุณ ๕ (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) @อันเป็นของมนุษย์ (ขุ.ธ.อ. ๘/๑๘๒) @๒ ดูเชิงอรรถที่ ๖ หน้า ๓๑ ในเล่มนี้ @๓ ความยินดี หมายถึงความยินดีในกามคุณ ๕ (ขุ.ธ.อ. ๘/๑๘๓) @๔ ความไม่ยินดี หมายถึงความระอาในการอยู่ป่า (ขุ.ธ.อ. ๘/๑๘๓) @๕ ครอบงำโลกทั้งหมด หมายถึงครอบงำโลกคือขันธ์ ๕ (ขุ.ธ.อ. ๘/๑๘๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๖๖}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๖. พราหมณวรรค ๓๘. ธัมมทินนาเถรีวัตถุ
๓๗. วังคีสเถรวัตถุ เรื่องพระวังคีสเถระ (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๔๑๙] ผู้ใดรู้การจุติและการอุบัติ ของสัตว์ทั้งหลายโดยประการทั้งปวง เราเรียกผู้นั้น ซึ่งเป็นผู้ไม่ติดข้อง ไปดีแล้ว และตรัสรู้แล้วว่า พราหมณ์ [๔๒๐] ผู้ใดมีคติที่เทวดา คนธรรพ์ และมนุษย์ ก็รู้ไม่ได้ เราเรียกผู้นั้นซึ่งเป็นอรหันตขีณาสพว่า พราหมณ์๓๘. ธัมมทินนาเถรีวัตถุ เรื่องพระธัมมทินนาเถรี (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่วิสาขอุบาสก อดีตสามีของพระธัมมทินนาเถรี ดังนี้) [๔๒๑] ผู้ใดไม่มีกิเลสเครื่องกังวล๑- ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เราเรียกผู้นั้นซึ่งเป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล หมดความยึดมั่นถือมั่นว่า พราหมณ์ @เชิงอรรถ : @๑ กิเลสเครื่องกังวล หมายถึงความถือมั่นด้วยอำนาจตัณหา (๘/๑๘๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๖๗}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๖. พราหมณวรรค ๔๐. เทวหิตพราหมณวัตถุ
๓๙. อังคุลิมาลเถรวัตถุ เรื่องพระองคุลิมาลเถระ (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๔๒๒] ผู้องอาจ ผู้ประเสริฐ ผู้แกล้วกล้า ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้ชำนะแล้ว ผู้ไม่หวั่นไหว ผู้ชำระแล้ว และตรัสรู้แล้ว เราเรียกว่า พราหมณ์๔๐. เทวหิตพราหมณวัตถุ เรื่องเทวหิตพราหมณ์ (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่เทวหิตพราหมณ์ ดังนี้) [๔๒๓] ผู้ใดระลึกอดีตชาติได้๑- เห็นสวรรค์และอบาย บรรลุภาวะที่สิ้นสุดการเกิด๒- หมดภารกิจ๓- เพราะรู้ยิ่ง เป็นมุนี เป็นผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว เราเรียกผู้นั้นว่า พราหมณ์พราหมณวรรคที่ ๒๖ จบ @เชิงอรรถ : @๑ ระลึกอดีตชาติได้ หมายถึงมีทิพยจักษุญาณเห็นสวรรค์ ๒๖ ชั้น และอบายภูมิ ๔ เป็นต้น (ขุ.ธ.อ. ๘/๑๙๑) @๒ ภาวะที่สิ้นสุดการเกิด หมายถึงอรหัตตผล (ขุ.ธ.อ. ๘/๑๙๑) @๓ หมดภารกิจ หมายถึงหมดหน้าที่กำหนดรู้(ปริญญากิจ) หมดหน้าที่ละ(ปหานกิจ) และหมดหน้าที่ทำ @ให้แจ้ง(สัจฉิกิริยากิจ) (ขุ.ธ.อ. ๘/๑๙๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๖๘}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๑๕๘-๑๖๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=25&page=158&pages=11&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=4078 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=25&A=4078#p158 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 https://84000.org/tipitaka/english/?index_25
จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๕๘-๑๖๘.
![]() | ![]() ![]() |
บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]