ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

หน้าที่ ๑๗๒-๑๗๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๑. โพธิวรรค]

                                                                 ๑. ปฐมโพธิสูตร

เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน๑-
เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย๒- ปรากฏแก่พราหมณ์๓- ผู้มีความเพียร เพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะได้รู้ธรรมพร้อมทั้งเหตุ๔-
ปฐมโพธิสูตรที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ พุทธอุทานนี้ ทรงเปล่งแสดงการเกิดขึ้นแห่งญาณที่ประกอบด้วยโสมนัส แสดงอานุภาพแห่งการรู้เหตุและธรรม @ที่เกิดขึ้นจากเหตุด้วยอำนาจพิจารณาปัจจยาการ หรือปฏิจจสมุปบาท (วิ.อ. ๓/๓/๖, ขุ.อุ.อ. ๓/๔๕-๕๒) @ ธรรมทั้งหลาย หมายถึงโพธิปักขิยธรรมที่ให้สำเร็จการตรัสรู้ปัจจยาการ หรือปฏิจจสมุปบาท โดยอนุโลม @(ขุ.อุ.อ. ๑/๔๖) @ พราหมณ์ ในที่นี้หมายถึงพระขีณาสพผู้ลอยบาปได้แล้ว (ขุ.อุ.อ. ๑/๔๖) @ รู้ธรรมพร้อมทั้งเหตุ หมายถึงรู้กองทุกข์ และรู้เหตุแห่งทุกข์ (ขุ.อุ.อ. ๑/๔๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๗๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๑. โพธิวรรค]

                                                                 ๒. ทุติยโพธิสูตร

๒. ทุติยโพธิสูตร
ว่าด้วยเหตุการณ์แรกตรัสรู้ สูตรที่ ๒
[๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค เมื่อแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ ณ ควงต้นโพธิพฤกษ์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เขตตำบลอุรุเวลา สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคได้ประทับนั่ง โดยบัลลังก์เดียว เสวยวิมุตติสุขอยู่เป็นเวลา ๗ วัน ครั้นล่วงไป ๗ วัน พระผู้มี พระภาคทรงออกจากสมาธินั้นแล้ว ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท โดยปฏิโลม อย่างละเอียด ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรีว่า
ปฏิจจสมุปบาทโดยปฏิโลม
เพราะเมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ คือ เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ กองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีการดับด้วยอาการอย่างนี้ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๗๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๑. โพธิวรรค]

                                                                 ๓. ตติยโพธิสูตร

พุทธอุทาน๑-
เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียร เพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะได้รู้ความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย
ทุติยโพธิสูตรที่ ๒ จบ
๓. ตติยโพธิสูตร
ว่าด้วยเหตุการณ์แรกตรัสรู้ สูตรที่ ๓
[๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค เมื่อแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ ณ ควงต้นโพธิพฤกษ์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เขตตำบลอุรุเวลา สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งโดย บัลลังก์เดียว เสวยวิมุตติสุขอยู่เป็นเวลา ๗ วัน ครั้นล่วงไป ๗ วัน พระผู้มีพระภาค ทรงออกจากสมาธินั้นแล้ว ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาทโดยอนุโลมและปฏิโลมอย่าง ละเอียด ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรีว่า
ปฏิจจสมุปบาทโดยอนุโลม
เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะเมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี @เชิงอรรถ : @ พุทธอุทานนี้ ทรงเปล่งด้วยอำนาจพิจารณาพระนิพพาน (ขุ.อุ.อ. ๑/๕๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๗๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๑. โพธิวรรค]

                                                                 ๓. ตติยโพธิสูตร

เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
ปฏิจจสมุปบาทโดยปฏิโลม
อนึ่ง เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ กองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีการดับด้วยอาการอย่างนี้ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๗๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๑. โพธิวรรค]

                                                                 ๔. นิหุหุงกสูตร

พุทธอุทาน๑-
เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียร เพ่งอยู่ เมื่อนั้น พราหมณ์นั้นย่อมกำจัดมารและเสนาเสียได้ ดุจดวงอาทิตย์อุทัยขึ้นสาดส่องท้องฟ้าให้สว่างไสว ฉะนั้น
ตติยโพธิสูตรที่ ๓ จบ
๔. นิหุหุงกสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่ตวาดว่า หึ หึ
[๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค เมื่อแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ ณ ควงต้นอชปาลนิโครธ๒- ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เขตตำบลอุรุเวลา สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งโดย บัลลังก์เดียว เสวยวิมุตติสุขอยู่เป็นเวลา ๗ วัน ครั้นล่วงไป ๗ วัน พระผู้มีพระภาค ก็ทรงออกจากสมาธินั้น ครั้งนั้น พราหมณ์หุหุกชาติ๓- ผู้หนึ่ง ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่สมควร พราหมณ์นั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระโคดม ผู้เจริญ บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ด้วยเหตุเพียงไรหนอ และธรรมเหล่าไหนที่ทำ บุคคลให้เป็นพราหมณ์” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า @เชิงอรรถ : @ พุทธอุทานนี้ ทรงเปล่งด้วยอำนาจพิจารณามรรค พุทธอุทานที่ ๑-๓ นี้ ทรงเปล่งในราตรีที่ ๗ นับแต่วัน @ตรัสรู้ (ขุ.อุ.อ. ๑/๕๒-๕๓) @ นิโครธ แปลว่า ต้นไทร ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Banyan” หรือ “Indian Fig-tree” ไม้จำพวกไทร หรือ @กร่างของอินเดีย พวกคนเลี้ยงแพะชอบมานั่งที่ร่มเงาของต้นนิโครธนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อชปาลนิโครธ @(ขุ.อุ.อ. ๑/๕๓, Pali-English Dictionary, P.355, Edited by T.W. RHYS DAVIDS and WILLIAM STEDE) @ พราหมณ์หุหุกชาติ เป็นพราหมณ์โดยชาติกำเนิด พราหมณ์นี้มีทิฏฐิว่า “สิ่งที่เห็นแล้วเป็นมงคล” ชอบ @เที่ยวตวาดว่า หึหึ เพราะความถือตัวและเพราะความโกรธ (ขุ.อุ.อ. ๑/๕๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๗๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๑๗๒-๑๗๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=25&page=172&pages=5&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=4413 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=25&A=4413#p172 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 https://84000.org/tipitaka/english/?index_25



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๗๒-๑๗๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]