ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

หน้าที่ ๒๐-๒๒.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ๙. เมตตสูตร

[๑๖] บุญสัมปทา๑- นี้มีประโยชน์มากอย่างนี้ เพราะฉะนั้น บัณฑิตผู้เป็นปราชญ์ จึงสรรเสริญภาวะแห่งบุญที่ทำไว้แล้ว
นิธิกัณฑสูตร จบ
๙. เมตตสูตร
ว่าด้วยการแผ่เมตตา
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ป่า ดังนี้) [๑] ผู้ฉลาดในประโยชน์มุ่งหวังบรรลุสันตบท๒- ควรบำเพ็ญกรณียกิจ๓- ควรเป็นผู้อาจหาญ ซื่อตรง เคร่งครัด ว่าง่าย อ่อนโยน และไม่เย่อหยิ่ง [๒] ควรเป็นผู้สันโดษ เลี้ยงง่าย มีกิจน้อย๔- มีความประพฤติเบา๕- มีอินทรีย์สงบ มีปัญญารักษาตน ไม่คะนอง๖- ไม่ยึดติดในตระกูลทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ บุญสัมปทา หมายถึงความถึงพร้อมแห่งบุญ (ขุ.ขุ.อ. ๘/๒๐๖) @ สันตบท หมายถึงนิพพาน (ขุ.ขุ.อ. ๙/๒๑๒) @ กรณียกิจ หมายถึงการศึกษาในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ตรงกันข้ามกับ อกรณียกิจ คือ สีลวิบัติ @ทิฏฐิวิบัติ อาจารวิบัติ อาชีววิบัติ (ขุ.ขุ.อ. ๙/๒๑๒) @ มีกิจน้อย ในที่นี้หมายถึงไม่ขวนขวายการงานต่างๆ ที่จะทำให้จิตฟุ้งซ่าน ไม่พูดคุยเพ้อเจ้อ ไม่คลุกคลี @หมู่คณะ ปล่อยวางหน้าที่รับผิดชอบงานก่อสร้าง งานบริหารคณะสงฆ์ เป็นต้น มุ่งบำเพ็ญสมณธรรมเป็น @หลัก (ขุ.ขุ.อ. ๙/๒๑๖) @ มีความประพฤติเบา ในที่นี้หมายถึงมีเพียงบริขาร ๘ เช่น บาตร จีวร เป็นต้น ไม่สะสมสิ่งของมากให้เป็น @ภาระ เหมือนนกมีเพียงปีกบินไปฉะนั้น (ขุ.ขุ.อ. ๙/๒๑๖) @ ไม่คะนอง หมายถึงไม่คะนองกาย วาจา และใจ (ขุ.ขุ.อ. ๙/๒๑๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ๙. เมตตสูตร

[๓] อนึ่ง ไม่ควรประพฤติความเสียหายใดๆ ที่จะเป็นเหตุให้วิญญูชนเหล่าอื่นตำหนิเอาได้ (ควรแผ่เมตตาไปในสรรพสัตว์อย่างนี้ว่า) ขอสัตว์ทั้งปวงจงมีความสุข มีความเกษม มีตนเป็นสุขเถิด [๔] คือ เหล่าสัตว์ที่ยังเป็นผู้หวาดสะดุ้งหรือเป็นผู้มั่นคง๑- ขอสัตว์เหล่านั้นทั้งหมดจงมีตนเป็นสุขเถิด เหล่าสัตว์ที่มีขนาดกายยาว ขนาดกายใหญ่ ขนาดกายปานกลาง ขนาดกายเตี้ย ขนาดกายผอม หรือขนาดกายอ้วน ขอสัตว์เหล่านั้นทั้งหมดจงมีตนเป็นสุขเถิด [๕] เหล่าสัตว์ที่เคยเห็นก็ดี เหล่าสัตว์ที่ไม่เคยเห็นก็ดี เหล่าสัตว์ที่อยู่ใกล้และอยู่ไกลก็ดี ภูตหรือสัมภเวสี๒- ก็ดี ขอสัตว์เหล่านั้นทั้งหมดจงมีตนเป็นสุขเถิด [๖] ไม่ควรข่มเหง ไม่ควรดูหมิ่นกันและกันในทุกโอกาส ไม่ควรปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน เพราะความโกรธและความแค้น @เชิงอรรถ : @ หวาดสะดุ้ง หมายถึงมีตัณหาและความกลัวภัย มั่นคง หมายถึงบรรลุอรหัตตผล เพราะละตัณหาและ @ความกลัวภัยได้ (ขุ.ขุ.อ. ๙/๒๒๐) @ ในที่นี้ ภูต หมายถึงพระอรหันตขีณาสพ สัมภเวสี หมายถึงพระเสขะและปุถุชนผู้ยังต้องแสวงหาที่เกิด @ต่อไป เพราะยังละภวสังโยชน์ไม่ได้ @อีกนัยหนึ่ง ในกำเนิด ๔ สัตว์ที่เกิดในไข่และเกิดในครรภ์ ถ้ายังไม่เจาะเปลือกไข่หรือคลอดจากครรภ์ @ออกมา ยังเรียกว่า สัมภเวสี ต่อเมื่อเจาะเปลือกไข่หรือคลอดออกมา เรียกว่า ภูต, พวกสังเสทชะ (เกิดที่ @ชื้นแฉะ) และพวกโอปปาติกะ (เกิดผุดขึ้น) ในขณะจิตแรก ก็เรียกว่า สัมภเวสี ตั้งแต่ขณะจิตที่ ๒ เป็นต้นไป @เรียกว่า ภูต (ขุ.ขุ.อ. ๙/๒๒๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ๙. เมตตสูตร

[๗] ควรแผ่เมตตาจิตอย่างไม่มีประมาณไปยังสรรพสัตว์ ดุจมารดาเฝ้าถนอมบุตรคนเดียวด้วยชีวิต ฉะนั้น [๘] อนึ่ง ควรแผ่เมตตาจิตอย่างไม่มีประมาณ กว้างขวาง ไม่มีเวร ไม่มีศัตรูไปยังสัตว์โลกทั่วทั้งหมด ทั้งชั้นบน๑- ชั้นล่าง๒- และชั้นกลาง๓- [๙] ผู้แผ่เมตตาจะยืน เดิน นั่ง หรือนอน ควรตั้งสติ๔- นี้ไว้ตลอดเวลาที่ยังไม่ง่วง นักปราชญ์เรียกการอยู่ด้วยเมตตานี้ว่า พรหมวิหาร [๑๐] อนึ่ง ผู้แผ่เมตตาที่ไม่ยึดถือทิฏฐิ๕- มีศีล ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ๖- กำจัดความยินดีในกามคุณได้แล้ว ก็จะไม่เกิดในครรภ์อีกต่อไป
เมตตสูตร จบ
ขุททกปาฐะ จบ
@เชิงอรรถ : @ ชั้นบน หมายถึงอรูปภพ (ขุ.ขุ.อ. ๙/๒๒๓) @ ชั้นล่าง หมายถึงกามภพ (ขุ.ขุ.อ. ๙/๒๒๓) @ ชั้นกลาง หมายถึงรูปภพ (ขุ.ขุ.อ. ๙/๒๒๓) @ สติ หมายถึงเมตตาฌานัสสติ คือสติที่ประกอบด้วยเมตตาฌาน (ขุ.ขุ.อ. ๙/๒๒๔) @ ทิฏฐิ หมายถึงทิฏฐิที่ว่า “กองแห่งสังขารล้วนๆ จัดเป็นสัตว์ไม่ได้” (ขุ.ขุ.อ. ๙/๒๒๕) @และดู สํ.ส. (แปล) ๑๕/๑๗๑/๒๒๘ @ ทัสสนะ หมายถึงโสดาปัตติมัคคสัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นพื้นฐานแห่งการบรรลุสกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค @อันเป็นเหตุให้ไปเกิดในชั้นสุทธาวาส แล้วบรรลุอรหัตตผลในที่นั้น ไม่กลับมาเกิดในครรภ์อีกต่อไป @(ขุ.ขุ.อ. ๙/๒๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๒๐-๒๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=25&page=20&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=533 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=25&A=533#p20 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 https://84000.org/tipitaka/english/?index_25



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๐-๒๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]