ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

หน้าที่ ๒๓๑-๒๓๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๔. เมฆิยวรรค]

                                                                 ๑. เมฆิยสูตร

๔. เมฆิยวรรค
หมวดว่าด้วยพระเมฆิยเถระ
๑. เมฆิยสูตร๑-
ว่าด้วยพระเมฆิยเถระ๒-
[๓๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ จาลิกบรรพต เขตเมืองจาลิกา สมัยนั้น ท่านพระเมฆิยะเป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาค ครั้งนั้นแล ท่านพระ เมฆิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ปรารถนาจะ เข้าไปยังชันตุคามเพื่อบิณฑบาต” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เมฆิยะ จงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด” ครั้งนั้น ในเวลาเช้า ท่านพระเมฆิยะครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไป ยังชันตุคามเพื่อบิณฑบาต กลับจากบิณฑบาตหลังจากฉันอาหารเสร็จแล้ว เดินไป ตามฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ขณะที่เที่ยวเดินพักผ่อนอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬานั้น ได้เห็น ป่ามะม่วงที่งดงาม น่ารื่นรมย์ จึงมีความคิดดังนี้ว่า “ป่ามะม่วงนี้ช่างงดงาม น่ารื่นรมย์จริง เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรสำหรับกุลบุตรผู้ต้องการบำเพ็ญเพียร โดยแท้ ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตเรา เราจะกลับมาบำเพ็ญเพียรในป่า มะม่วงนี้” ต่อมา ท่านพระเมฆิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๓/๔๓๐-๔๓๔ @ พระเมฆิยเถระ เป็นพระอุปัฏฐากรูปหนึ่งของพระผู้มีพระภาค ในต้นพุทธกาล(๒๐ พรรษาแรก) พระผู้มี @พระภาคไม่มีพระอุปัฏฐากประจำ บางคราวได้พระนาคสมาละ บางคราวได้พระนาคิตะ บางคราวได้พระ- @อุปวาหนะ บางคราวได้พระสุนักขัตตะ บางคราวได้พระสาคตะ บางคราวได้สามเณรจุนทะ (ขุ.อุ.อ. ๓๑/๒๓๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๓๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๔. เมฆิยวรรค]

                                                                 ๑. เมฆิยสูตร

เข้าไปยังชันตุคามเพื่อบิณฑบาต กลับจากบิณฑบาตหลังจากฉันอาหารเสร็จแล้ว เดินไปตามฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ขณะที่เที่ยวเดินพักผ่อนอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬานั้น ได้เห็นป่ามะม่วงที่งดงาม น่ารื่นรมย์ จึงมีความคิดดังนี้ว่า ‘ป่ามะม่วงนี้ช่างงดงาม น่ารื่นรมย์จริง เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรสำหรับกุลบุตรผู้ต้องการบำเพ็ญเพียร โดยแท้ ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตเรา เราจะกลับมาบำเพ็ญเพียรในป่ามะม่วงนี้’ ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตข้าพระองค์ ข้าพระองค์จะกลับไปบำเพ็ญเพียรในป่า มะม่วงนั้น พระพุทธเจ้าข้า” เมื่อท่านพระเมฆิยะกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านดังนี้ว่า “เมฆิยะ เราอยู่คนเดียว เธอจงรอจนกว่าภิกษุรูปอื่นจะมา๑-” แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระเมฆิยะกราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงมีกิจที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีก๒- ทั้งไม่มีการสั่งสม กิจที่ทำแล้ว๓- ส่วนข้าพระองค์ยังมีกิจที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีก ทั้งยังต้องสั่งสมกิจที่ ทำแล้ว ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตข้าพระองค์ ข้าพระองค์จะกลับไปบำเพ็ญ เพียรในป่ามะม่วงนั้น พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เมฆิยะ เราอยู่คนเดียว เธอจงรอจนกว่าภิกษุรูปอื่นจะมา” แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระเมฆิยะก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงมีกิจที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีก ทั้งไม่มีการสั่งสมกิจ ที่ทำแล้ว ส่วนข้าพระองค์ยังมีกิจที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีก ทั้งยังต้องสั่งสมกิจ @เชิงอรรถ : @ นัยว่า พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ ก็ด้วยพระประสงค์ที่จะประวิงเวลารอให้จิตของท่านพระเมฆิยะอ่อนโยน @เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร (องฺ.นวก.อ. ๓/๓/๒๘๗) @ ไม่มีกิจที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีก ในที่นี้หมายถึงไม่มีกิจ ๔ อย่างในอริยสัจ ๔ ประการ ดูเชิงอรรถที่ ๑ @หน้า ๒๑๓ ประกอบ @ ไม่มีการสั่งสมกิจที่ทำแล้ว ในที่นี้หมายถึงไม่ต้องเพิ่มพูนกุศลธรรมและอกุศลธรรมที่เคยทำมาก่อน หรือ @อีกนัยหนึ่ง หมายถึงไม่ต้องเจริญมรรคที่เจริญได้แล้ว และไม่ต้องละกิเลสที่ละได้แล้วอีก @(ขุ.เถร.อ. ๖๔๔/๒๖๒, องฺ.นวก.อ. ๓/๓/๒๘๗) และดู องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๕๕/๕๓๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๓๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๔. เมฆิยวรรค]

                                                                 ๑. เมฆิยสูตร

ที่ทำแล้ว ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตข้าพระองค์ ข้าพระองค์จะกลับไปบำเพ็ญ เพียรในป่ามะม่วงนั้น พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “เมฆิยะ เมื่อเธอพูดว่า ‘จะไปบำเพ็ญเพียร’ เราจะ พึงว่าอะไร เธอจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด” ลำดับนั้น ท่านพระเมฆิยะลุกจากที่นั่งถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ แล้วเข้าไปยังป่ามะม่วงนั้น อาศัยป่ามะม่วงนั้นนั่งพักกลางวันอยู่ ณ โคนไม้มะม่วง ต้นหนึ่ง เมื่อท่านพักอยู่ในป่ามะม่วงนั้น บาปอกุศลวิตก ๓ ประการ คือ กามวิตก (ความตรึกในทางกาม) พยาบาทวิตก(ความตรึกในทางพยาบาท) วิหิงสาวิตก (ความตรึกในทางเบียดเบียน) เกิดขึ้นโดยมาก ครั้งนั้นแล ท่านพระเมฆิยะได้มีความคิดดังนี้ว่า “น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย ปรากฏ เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธาแท้ๆ แต่กระนั้นก็ยังถูกบาป อกุศลวิตก ๓ ประการ คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตกรุมเร้าจิตได้” ครั้งนั้น ในเวลาเย็น ท่านพระเมฆิยะก็ออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เมื่อข้าพระองค์ พักอยู่ในป่ามะม่วงนั้น บาปอกุศลวิตก ๓ ประการ คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก เกิดขึ้นโดยมาก ข้าพระองค์จึงมีความคิดดังนี้ว่า ‘น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย ปรากฏ เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธาแท้ๆ แต่กระนั้น ก็ยังถูก บาปอกุศลวิตก ๓ ประการ คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตกรุมเร้าจิตได้” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เมฆิยะ ธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความ แก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นธรรม ประการที่ ๑ ที่เป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๓๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๔. เมฆิยวรรค]

                                                                 ๑. เมฆิยสูตร

๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เป็นธรรมประการที่ ๒ ที่เป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า ๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ได้กถาเป็นเครื่องขัดเกลาอย่างยิ่ง๑- ที่เป็น สัปปายะแห่งความเป็นไปของจิต เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อ นิพพาน คือ อัปปิจฉกถา(เรื่องความมักน้อย) สันตุฏฐิกถา(เรื่อง ความสันโดษ) ปวิเวกกถา(เรื่องความสงัด) อสังสัคคกถา(เรื่อง ความไม่คลุกคลี) วิริยารัมภกถา(เรื่องการปรารภความเพียร) สีลกถา(เรื่องศีล) สมาธิกถา(เรื่องสมาธิ) ปัญญากถา(เรื่องปัญญา) วิมุตติกถา(เรื่องวิมุตติ) วิมุตติญาณทัสสนกถา(เรื่องความรู้ความ เห็นในวิมุตติ) ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก นี้เป็นธรรมประการที่ ๓ ที่เป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ ยังไม่แก่กล้า ๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อ ให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระ ในกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เป็นธรรมประการที่ ๔ ที่เป็นไปเพื่อความ แก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า ๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็น เครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรก กิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เป็นธรรมประการที่ ๕ ที่เป็นไป เพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๙๐/๑๖๐-๑๖๑, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๖๙/๑๕๒, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๘๕/๒๕๗-๒๕๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๓๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๔. เมฆิยวรรค]

                                                                 ๑. เมฆิยสูตร

เมฆิยะ ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติ ที่ยังไม่แก่กล้า ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้มีศีล สำรวม ด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษ แม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้ได้กถา เป็นเครื่องขัดเกลาอย่างยิ่งที่เป็นสัปปายะแห่งความเป็นไปของจิต เป็นไปเพื่อความ เบื่อหน่ายอย่างเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา ตามความ ปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้ปรารภความ เพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ เมฆิยะ ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้แล้ว พึงเจริญธรรม ๔ ประการ ให้ยิ่งขึ้นไปอีก คือ ๑. พึงเจริญอสุภะเพื่อละราคะ ๒. พึงเจริญเมตตาเพื่อละพยาบาท {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๓๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๔. เมฆิยวรรค]

                                                                 ๑. เมฆิยสูตร

๓. พึงเจริญอานาปานสติเพื่อตัดวิตก ๔. พึงเจริญอนิจจสัญญาเพื่อถอนอัสมิมานะ๑- เมฆิยะ อนัตตสัญญาย่อมปรากฏแก่ภิกษุผู้ได้อนิจจสัญญา ภิกษุผู้ได้อนัตตสัญญา ย่อมบรรลุนิพพานที่ถอนอัสมิมานะได้ในปัจจุบัน” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน๒-
วิตกที่หยาบ๓- และวิตกที่ละเอียด๔- เป็นไปแล้ว ทำใจให้ฟุ้งซ่าน บุคคลผู้มีจิตสับสน ไม่รู้วิตกแห่งใจเหล่านี้ ย่อมแล่นไปสู่ภพน้อยภพใหญ่ ส่วนผู้ที่เพียรระวัง มีสติอยู่เสมอ รู้เท่าทันวิตกที่เกิดแก่จิตเหล่านี้ ย่อมสำรวมระวัง บุคคลผู้ตรัสรู้แล้วเท่านั้น ย่อมละวิตกที่เป็นไปแล้วทำใจให้ฟุ้งซ่านได้โดยไม่เหลือ
เมฆิยสูตรที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ อัสมิมานะ หมายถึงมานะ ๙ ประการ (องฺ.นวก.อ. ๓/๑/๒๘๖) และดู องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๑/๔๒๘, @ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๗๘/๕๐๘, อภิ.สงฺ. (แปล) ๓๔/๑๒๓๙/๓๑๔, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๓๒/๕๓๖ ประกอบ @ พุทธอุทานนี้ ทรงเปล่งแสดงโทษแห่งการไม่บรรเทา และอานิสงส์แห่งการบรรเทากามวิตก เป็นต้น @(ขุ.อุ.อ. ๓๑/๒๕๒) @ วิตกที่หยาบ หมายถึงอกุศลวิตก มี ๓ คือ กามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก (ขุ.อุ.อ. ๓๑/๒๕๒) @ วิตกที่ละเอียด หมายถึงญาติวิตก(ความตรึกถึงญาติ) ชนปทวิตก(ความตรึกถึงชนบท) อมราวิตก(ความ @ตรึกถึงเทพเจ้า) เป็นต้น (ขุ.อุ.อ. ๓๑/๒๕๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๓๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๒๓๑-๒๓๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=25&page=231&pages=6&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=6041 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=25&A=6041#p231 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 https://84000.org/tipitaka/english/?index_25



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๓๑-๒๓๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]