ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

หน้าที่ ๗๐๑-๗๐๕.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๔. อัฏฐกวรรค]

                                                                 ๙. มาคันทิยสูตร

[๘๓๘] คนกล้าที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยของเสวยของพระราชา เขาคึกคะนอง อยากพบคนกล้าฝ่ายตรงข้ามย่อมได้พบ ฉันใด (เจ้าลัทธิย่อมได้พบเจ้าลัทธิ ฉันนั้น) ผู้กล้าเอ๋ย เจ้าลัทธิอยู่ที่ใด เธอจงไปเสียจากที่นั้นเถิด เพราะกิเลสที่เคยมีแต่ก่อนของตถาคตมิได้มีเพื่อการรบ [๘๓๙] ชนเหล่าใดถือทิฏฐิแล้ววิวาทกัน และกล่าวอ้างว่า นี้เท่านั้นจริง เธอจงพูดกับชนเหล่านั้นว่า กิเลสที่เป็นข้าศึกกัน เมื่อวาทะเกิดไม่มีในธรรมวินัยนี้ [๘๔๐] พระอรหันต์เหล่าใด กำจัดเสนาได้แล้ว ไม่เอาทิฏฐิไปกระทบทิฏฐิ เที่ยวไป พระอรหันต์เหล่าใดในธรรมวินัยนี้ ไม่มีความถือมั่นสิ่งนี้ว่า ยอดเยี่ยม ปสูระเอ๋ย เธอจะพึงได้อะไร ในพระอรหันต์เหล่านั้น [๘๔๑] อนึ่ง เธอตรึกอยู่มาแล้ว เธอคิดทิฏฐิทั้งหลายด้วยใจ มาถึงการแข่งคู่กับเราผู้มีปัญญาเครื่องกำจัดแล้ว ย่อมไม่สามารถเทียมทันได้เลย
ปสูรสูตรที่ ๘ จบ
๙. มาคันทิยสูตร๑-
ว่าด้วยมาคันทิยพราหมณ์
(พระผู้มีพระภาคตรัสแก่มาคันทิยพราหมณ์พร้อมภรรยาดังนี้) [๘๔๒] เพราะเห็นนางตัณหา นางอรดี และนางราคา ก็ไม่ได้มีความพอใจในเมถุนธรรมเลย จักมีความพอใจเพราะเห็นเรือนร่าง @เชิงอรรถ : @ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๗๐-๘๒/๒๑๗-๒๔๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๗๐๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๔. อัฏฐกวรรค]

                                                                 ๙. มาคันทิยสูตร

ที่เต็มไปด้วยปัสสาวะและอุจจาระนี้ได้อย่างไรเล่า เราไม่ปรารถนาจะถูกต้องเรือนร่างนางแม้ด้วยเท้า (มาคันทิยพราหมณ์ทูลถามดังนี้) [๘๔๓] หากท่านไม่ปรารถนานารีผู้เป็นอิตถีรัตนะเช่นนี้ ที่พระราชาผู้เป็นจอมคนจำนวนมากพากันปรารถนา ท่านจะกล่าวทิฏฐิ ศีล วัตร ชีวิต และการอุบัติขึ้นในภพว่าเป็นเช่นไร (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า มาคันทิยะ) [๘๔๔] การตกลงใจในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่นว่า เรากล่าวสิ่งนี้ ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เรา เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย จึงไม่ยึดมั่น เมื่อเลือกเฟ้น จึงได้เห็นความสงบภายใน (มาคันทิยพราหมณ์ทูลถามดังนี้) [๘๔๕] ทิฏฐิเหล่าใดที่ตกลงใจกำหนดไว้แล้ว มุนีไม่ยึดมั่นทิฏฐิเหล่านั้นแล กล่าวเนื้อความใดว่า ความสงบภายใน เนื้อความนั้น นักปราชญ์ทั้งหลายประกาศไว้อย่างไรหนอ (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มาคันทิยะ) [๘๔๖] นักปราชญ์ไม่กล่าวความหมดจดเพราะทิฏฐิ ไม่กล่าวความหมดจดเพราะสุตะ ไม่กล่าวความหมดจดเพราะญาณ ไม่กล่าวความหมดจดเพราะศีลและวัตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๗๐๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๔. อัฏฐกวรรค]

                                                                 ๙. มาคันทิยสูตร

บุคคลย่อมถึงความสงบภายใน เพราะความไม่มีทิฏฐิ๑- เพราะความไม่มีสุตะ๒- เพราะความไม่มีญาณ๓- เพราะความไม่มีศีล๔- เพราะความไม่มีวัตรนั้นก็หามิได้๕- นักปราชญ์สลัดทิ้งธรรมเหล่านี้ได้แล้ว ไม่ยึดมั่น เป็นผู้สงบ ไม่อาศัยแล้ว ไม่พึงหวังภพ (มาคันทิยพราหมณ์กราบทูลดังนี้) [๘๔๗] หากนักปราชญ์ไม่กล่าวความหมดจดเพราะทิฏฐิ ไม่กล่าวความหมดจดเพราะสุตะ ไม่กล่าวความหมดจดเพราะญาณ ไม่กล่าวความหมดจดเพราะศีลและวัตร @เชิงอรรถ : @ ทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงสัมมาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ คือ (๑) ทานที่ให้แล้วมีผล (๒) ยัญที่บูชาแล้วมีผล (๓) การ @เซ่นสรวงมีผล (๔) ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วมีอยู่ (๕) โลกนี้มี (๖) โลกหน้ามี (๗) มารดามีคุณ @(๘) บิดามีคุณ (๙) สัตว์เป็นโอปปาติกะมีอยู่ (๑๐) สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รู้แจ้งโลกนี้และ @โลกหน้า ด้วยตนเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งมีอยู่ในโลก (ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๗๔/๒๒๔) @ สุตะ ในที่นี้หมายถึงเสียงจากผู้อื่น คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม @และเวทัลละ (ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๗๔/๒๒๔) @ ญาณ หมายถึงกัมมัสสกตาญาณ (ญาณที่เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน) หมายถึงสัจจานุโลมิก- @ญาณ (ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ) และหมายถึงอภิญญาญาณ (ญาณคือความรู้ @อย่างยิ่งยวด) มี ๖ คือ (๑) อิทธิวิธิ (๒) ทิพพโสต (๓) เจโตปริยญาณ (๔) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ @(๕) ทิพพจักขุ (๖) อาสวักขยญาณ และสมาปัตติญาณ (ญาณในสมาบัติ ๘) (ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๗๔/๒๒๔) @ ศีล ในที่นี้หมายถึงปาติโมกขสังวร (สำรวมในพระปาติโมกข์) (ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๗๔/๒๒๔) @ วัตร ในที่นี้หมายถึงธุดงค์ ๘ ข้อ คือ (๑) อารัญญิกังคธุดงค์ (สมาทานการอยู่ในป่าเป็นวัตร) (๒) ปิณฑ- @ปาติกังคธุดงค์ (สมาทานการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร) (๓) ปังสุกูลิกังคธุดงค์ (สมาทานการนุ่งห่มผ้าบังสุกุล @เป็นวัตร) (๔) เตจีวริกังคธุดงค์ (สมาทานการทรงไตรจีวรเป็นวัตร) (๕) สปทานจาริกังคธุดงค์ (สมาทาน @การเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตร) (๖) ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ (สมาทานห้ามภัตที่ถวายภาย @หลังเป็นวัตร) (๗) เนสัชชิกังคธุดงค์ (สมาทานการนั่งเป็นวัตร) (๘) ยถาสันถติกังคธุดงค์ (สมาทานการอยู่ @ในเสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตร (ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๗๔/๒๒๔-๒๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๗๐๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๔. อัฏฐกวรรค]

                                                                 ๙. มาคันทิยสูตร

บุคคลย่อมถึงความสงบภายใน เพราะความไม่มีทิฏฐิ เพราะความไม่มีสุตะ เพราะความไม่มีญาณ เพราะความไม่มีศีล เพราะความไม่มีวัตรนั้น ก็หามิได้ ข้าพเจ้าจึงเข้าใจธรรมของท่านว่า เป็นเรื่องงมงายแน่นอน เพราะสมณพราหมณ์บางพวกถึงความหมดจดได้เพราะทิฏฐิ (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มาคันทิยะ) [๘๔๘] เพราะอาศัยทิฏฐิทั้งหลายท่านจึงถามเนืองๆ ได้มาถึงความลุ่มหลงในทิฏฐิทั้งหลายที่ท่านถือมั่นไว้แล้ว และท่านก็มิได้เห็นสัญญาแม้น้อยหนึ่งจากธรรมนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงประสบแต่ความงมงาย [๘๔๙] ผู้ใดสำคัญว่า เราเสมอเขา เลิศกว่าเขา หรือด้อยกว่าเขา ผู้นั้นพึงต้องวิวาทกันด้วยความถือตัวนั้น บุคคลไม่หวั่นไหวในเพราะความถือตัว ๓ อย่าง ความสำคัญว่า เราเสมอเขา เลิศกว่าเขา (หรือด้อยกว่าเขา) จึงไม่มีแก่บุคคลนั้น [๘๕๐] บุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้น พึงกล่าวอะไรว่า จริง หรือบุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้นพึงโต้เถียงว่า เท็จ ด้วยเหตุอะไร ความสำคัญว่า เราเสมอเขา เราเลิศกว่าเขา (หรือด้อยกว่าเขา) ย่อมไม่มีในพระอรหันต์ใด พระอรหันต์นั้นพึงตอบโต้วาทะด้วยเหตุอะไรเล่า [๘๕๑] บุคคลละที่อาศัยแล้ว ไม่เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย มุนีไม่ทำความเยื่อใยในกาม ว่างจากกามทั้งหลาย ไม่มุ่งหมายอัตภาพต่อไป ไม่พึงกล่าวถ้อยคำขัดแย้งกัน [๘๕๒] บุคคลผู้เป็นนาคะ สงัดจากทิฏฐิเหล่าใด พึงเที่ยวไปในโลก ไม่พึงพูดจายึดถือทิฏฐิเหล่านั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๗๐๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๔. อัฏฐกวรรค]

                                                                 ๑๐. ปุราเภทสูตร

ดอกบัวก้านมีหนามเกิดในน้ำ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำและโคลนตม ฉันใด มุนีผู้กล่าวเรื่องความสงบ ก็ไม่ยินดี ไม่แปดเปื้อนในกามและโลก ฉันนั้น [๘๕๓] มุนีผู้จบเวทนั้น ย่อมไม่ไปด้วยทิฏฐิ ไม่ถึงความถือตัวด้วยอารมณ์ที่รับรู้ มุนีนั้นผู้ไม่มีตัณหาและทิฏฐินั้น ไม่ถูกกรรมและสุตะนำไป มุนีนั้นไม่ถูกตัณหาและทิฏฐินำเข้าไปในที่อาศัยทั้งหลาย [๘๕๔] มุนีผู้เว้นจากสัญญาแล้ว ย่อมไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด มุนีผู้หลุดพ้นด้วยปัญญาแล้ว ย่อมไม่มีความลุ่มหลง ชนเหล่าใดยังยึดถือสัญญาและทิฏฐิ ชนเหล่านั้นย่อมเที่ยวกระทบกระทั่งกันในโลก
มาคันทิยสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ปุราเภทสูตร๑-
ว่าด้วยก่อนการดับขันธปรินิพพาน
(พระพุทธเนรมิตทูลถามดังนี้) [๘๕๕] บุคคลมีทัสสนะ๒- อย่างไร มีศีล๓- อย่างไร จึงเรียกว่า เป็นผู้สงบ๔- แล้ว ข้าแต่พระโคตมะ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอพระองค์โปรดตรัสบอกนรชนผู้สูงสุดนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด @เชิงอรรถ : @ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๘๓-๙๖/๒๔๖-๒๙๖ @ ทัสสนะ ในที่นี้หมายถึงอธิปัญญา (ขุ.สุ.อ. ๒/๘๕๕/๓๘๘, ขุ.ม.อ. ๘๓/๓๑๕) @ ศีล ในที่นี้หมายถึงอธิศีล (ขุ.สุ.อ. ๒/๘๕๕/๓๘๘, ขุ.ม.อ. ๘๓/๓๑๕) @ สงบ ในที่นี้หมายถึงอธิจิต (ขุ.สุ.อ. ๒/๘๕๕/๓๘๘, ขุ.ม.อ. ๘๓/๓๑๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๗๐๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๗๐๑-๗๐๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=25&page=701&pages=5&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=18905 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=25&A=18905#p701 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 https://84000.org/tipitaka/english/?index_25



จบการแสดงผล หน้าที่ ๗๐๑-๗๐๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]