ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

หน้าที่ ๗๖๘-๗๗๐.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๕. ปารายนวรรค]

                                                                 ๑๓. อุทยมาณวกปัญหา

หวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ฟังพระดำรัสของพระองค์ ขอพระองค์โปรดตรัสตอบปัญหา แก่ชนเหล่านั้นให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด เพราะว่าธรรมนี้พระองค์ทรงรู้ชัดแล้ว [๑๑๑๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภัทราวุธ) นรชนควรทำลายเครื่องยึดมั่น๑- ทั้งปวง ทั้งชั้นสูง ชั้นต่ำ และชั้นกลาง เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายเข้าไปยึดถือขันธ์ใดๆ ในโลก มารย่อมติดตามสัตว์ เพราะสิ่งที่ยึดถือนั้นนั่นแล [๑๑๑๑] เพราะเหตุนั้น ภิกษุเมื่อรู้ชัด เพ่งพิจารณาหมู่สัตว์นี้ผู้ติดอยู่ในบ่วงแห่งมัจจุราช๒- ว่าเป็นผู้ข้องอยู่ในเครื่องยึดมั่น ควรเป็นผู้มีสติ ไม่เข้าไปยึดถือเครื่องกังวลในโลกทั้งปวง
ภัทราวุธมาณวกปัญหาที่ ๑๒ จบ
๑๓. อุทยมาณวกปัญหา๓-
ว่าด้วยปัญหาของอุทัยมาณพ
[๑๑๑๒] (อุทัยมาณพทูลถามดังนี้) ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถาม จึงมาเฝ้าพระองค์ผู้ทรงมีฌาน ปราศจากธุลี ประทับนั่งอยู่ ผู้ทรงทำกิจสำเร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ @เชิงอรรถ : @ เครื่องยึดมั่น หมายถึงรูปตัณหา คือ ยึดมั่น ถือมั่นในรูปเป็นต้น (ขุ.สุ.อ. ๒/๑๑๑๐/๔๔๙) @ บ่วงแห่งมัจจุราช หมายถึงกิเลส ขันธ์ และอภิสังขาร (ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๗๓/๒๖๖) @ ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๓๐-๑๓๖/๓๐-๓๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๗๖๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๕. ปารายนวรรค]

                                                                 ๑๓. อุทยมาณวกปัญหา

ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ขอพระองค์โปรดตรัสบอกอัญญาวิโมกข์๑- อันเป็นเครื่องทำลายอวิชชาด้วยเถิด [๑๑๑๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุทัย) เราจะบอกอัญญาวิโมกข์ อันเป็นเครื่องละความพอใจในกาม และโทมนัสทั้ง ๒ อย่าง เป็นเครื่องบรรเทาความย่อท้อ และเป็นเครื่องกั้นความคะนอง [๑๑๑๔] เราจะบอกอัญญาวิโมกข์ที่บริสุทธิ์ เพราะมีอุเบกขาและสติ ที่มีธรรมตรรกะเป็นเบื้องต้น เป็นเครื่องทำลายอวิชชา๒- [๑๑๑๕] (อุทัยมาณพทูลถามอีกดังนี้) สัตว์โลกมีอะไรเป็นเครื่องประกอบไว้ อะไรเล่าเป็นเหตุเที่ยวไปของสัตว์โลกนั้น เพราะละอะไรได้เล่า พระองค์จึงตรัสว่า นิพพาน [๑๑๑๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้) สัตว์โลกมีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องประกอบไว้ ความตรึก๓- เป็นเหตุเที่ยวไปของสัตว์โลกนั้น เพราะละตัณหาได้ เราจึงเรียกว่า นิพพาน @เชิงอรรถ : @ อัญญาวิโมกข์ หมายถึงความหลุดพ้นด้วยอรหัตตผล (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๓/๑๑๕-๑๑๖) @และดู ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๗๔-๗๕/๒๖๘-๒๗๕ ประกอบ @ ข้อ ๑๑๑๓-๑๑๑๔ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๓๓/๑๘๖, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๗๕-๗๖/๒๗๒-๒๗๗ @ ความตรึก (วิตก) มี ๙ อย่าง (๑) กามวิตก (ความตรึกในกาม) (๒) พยาบาทวิตก (ความตรึกในพยาบาท) @(๓) วิหิงสาวิตก (ความตรึกในความเบียดเบียน) (๔) ญาติวิตก (ความตรึกถึงญาติ) (๕) ชนปทวิตก @(ความตรึกถึงชนบท) (๖) อมราวิตก (ความตรึกถึงเทพเจ้า) (๗) ปรานุทยตาปฏิสังยุตตวิตก (ความตรึก @ที่ประกอบด้วยความเป็นผู้เอ็นดูผู้อื่น) (๘) ลาภสักการสิโลกปฏิสังยุตตวิตก (ความตรึกที่ประกอบด้วย @ลาภสักการะและความสรรเสริญ) (๙) อนวัญญัตติปฏิสังยุตตวิตก (ความตรึกที่ประกอบด้วยความไม่ถูก @ดูหมิ่น) (ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๗๘/๒๗๘-๒๗๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๗๖๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๕. ปารายนวรรค]

                                                                 ๑๔. โปสาลมาณวกปัญหา

[๑๑๑๗] (อุทัยมาณพทูลถามอีกดังนี้) ข้าพระองค์มาเฝ้าเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า สัตว์โลกมีสติเที่ยวไปอยู่อย่างไร วิญญาณจึงดับสนิท ขอฟังพระดำรัสนั้นของพระองค์ [๑๑๑๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้) สัตว์โลกไม่ยินดีเวทนาภายในและภายนอก มีสติเที่ยวไปอยู่อย่างนี้ วิญญาณ๑- จึงดับสนิท
อุทยมาณวกปัญหาที่ ๑๓ จบ
๑๔.โปสาลมาณวกปัญหา๒-
ว่าด้วยปัญหาของโปสาลมาณพ
[๑๑๑๙] (โปสาลมาณพทูลถามดังนี้) พระผู้มีพระภาคพระองค์ใด ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว ตัดความสงสัยได้แล้ว ทรงแสดงอดีตธรรม ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถาม จึงมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง @เชิงอรรถ : @ วิญญาณ หมายถึงอภิสังขารวิญญาณ (วิญญาณที่เกิดพร้อมกับอภิสังขาร) (ขุ.สุ.อ. ๒/๑๑๑๘/๔๕๐) @ ดู ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๓๗-๑๔๐/๓๒-๓๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๗๗๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๗๖๘-๗๗๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=25&page=768&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=20780 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=25&A=20780#p768 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 https://84000.org/tipitaka/english/?index_25



จบการแสดงผล หน้าที่ ๗๖๘-๗๗๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]