ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา

หน้าที่ ๕๐๕.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๗. ติงสนิบาต]

                                                                 ๒. สารีปุตตเถรคาถา

[๑๐๐๗] ภิกษุผู้สงบระงับ ไม่มีความคับแค้น มีใจผ่องใสไม่ขุ่นมัว มีศีลอันงาม เป็นปราชญ์ พึงทำที่สุดทุกข์ได้ (พระสารีบุตรเถระปรารภพวกภิกษุวัชชีบุตรที่เชื่อพระเทวทัตต์ จึงได้กล่าว ภาษิตทั้งหลายไว้ว่า) [๑๐๐๘] บุคคลไม่พึงไว้ใจในปุถุชนบางพวก ทั้งที่เป็นคฤหัสถ์และบรรพชิต แม้เบื้องต้นเขาจะเป็นคนดี ภายหลังจะเป็นคนไม่ดี หรือเบื้องต้นเป็นคนไม่ดี ภายหลังจะกลับเป็นคนดีก็ตาม [๑๐๐๙] นิวรณธรรม ๕ เหล่านี้ คือ (๑) กามฉันทะ (๒) พยาบาท (๓) ถีนมิทธะ (๔) อุทธัจจกุกกุจจะ (๕) วิจิกิจฉา เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองใจของภิกษุ [๑๐๑๐] สมาธิของภิกษุใดผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท ย่อมไม่หวั่นไหวด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ (๑) ด้วยมีผู้สักการะ (๒) ด้วยไม่มีผู้สักการะ [๑๐๑๑] ภิกษุผู้เข้าฌาน มีความเพียรต่อเนื่อง พิจารณาเห็นด้วยปัญญาที่สุขุม ยินดีในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปาทาน๑- นั้น นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกว่า สัตบุรุษ [๑๐๑๒] มหาสมุทร ๑ แผ่นดิน ๑ ภูเขา ๑ ลม ๑ ไม่ควรที่จะเปรียบเทียบกับความหลุดพ้นอย่างประเสริฐ ของพระศาสดา @เชิงอรรถ : @ ความยึดมั่นถือมั่น (ขุ.เถร.อ. ๒/๑๐๑๑/๔๓๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๕๐๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๖ หน้าที่ ๕๐๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=26&page=505&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=26&A=14056 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=26&A=14056#p505 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 26 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_26 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu26 https://84000.org/tipitaka/english/?index_26



จบการแสดงผล หน้าที่ ๕๐๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]