ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑

หน้าที่ ๒๙๑-๒๙๒.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๘. อัฏฐกนิบาต]

                                                                 กัจจานิวรรค ๕. คังคมาลชาดก (๔๒๑)

๕. คังคมาลชาดก (๔๒๑)
ว่าด้วยพระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าคังคมาละ
(พระเจ้าอุทัยตรัสถามชายคนหนึ่งว่า) [๓๖] แผ่นดินร้อนเหมือนถ่านเพลิง ระอุด้วยทรายที่ร้อนราวกับเถ้าถ่าน ถึงอย่างนั้น เจ้าก็ยังพากเพียรร้องเพลงอยู่ แดดไม่แผดเผาเจ้าหรือ [๓๗] เบื้องบนดวงอาทิตย์ก็ร้อน เบื้องล่างทรายก็ร้อน ถึงอย่างนั้น เจ้าก็ยังพากเพียรร้องเพลงอยู่ แดดไม่แผดเผาเจ้าหรือ (ชายคนนั้นกราบทูลว่า) [๓๘] แดดหาแผดเผาข้าพระองค์ไม่ แต่แดดคือกามทั้งหลายย่อมแผดเผาข้าพระองค์ ขอเดชะพระมหาราชเจ้า เพราะว่าความต้องการมีหลายอย่าง ความต้องการเหล่านั้นย่อมแผดเผาข้าพระองค์ หาใช่แดดไม่ (พระเจ้าอัฑฒมาสกทรงเปล่งอุทานว่า) [๓๙] นี่กาม เราได้เห็นรากเหง้าของเจ้าแล้ว เจ้าเกิดได้เพราะความดำริ เราจะไม่ดำริถึงเจ้าอีก เจ้าจะไม่มีอย่างนี้อีกต่อไป (พระเจ้าอัฑฒมาสกทรงแสดงธรรมแก่พสกนิกรว่า) [๔๐] กามแม้เพียงเล็กน้อยก็ไม่เพียงพอ แม้มากก็ไม่อิ่ม โอหนอ กามทั้งหลายคนพาลเพ้อรำพันถึง กุลบุตรนักปฏิบัติพึงเว้นได้ขาด (พระเจ้าอุทัยทรงเปล่งอุทานว่า) [๔๑] การที่เราเป็นพระอุทัยราชาได้บรรลุถึงความเป็นใหญ่ นี้เป็นผลแห่งกรรมอันเล็กน้อยของเรา การที่มาณพละกามราคะบวชนั้นชื่อว่าได้ลาภดีแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๒๙๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๘. อัฏฐกนิบาต]

                                                                 กัจจานิวรรค ๖. เจติยราชชาดก (๔๒๒)

(พระราชชนนีของพระเจ้าพรหมทัตตรัสว่า) [๔๒] สัตว์ทั้งหลายละกรรมชั่วได้ด้วยตบะ แต่จะละภาวะแห่งช่างกัลบกและช่างหม้อด้วยตบะได้หรือ คังคมาละ วันนี้เจ้าใช้ตบะข่มขี่ ร้องเรียกพระเจ้าพรหมทัตโดยพระนาม จะสมควรแลหรือ (พระเจ้าพรหมทัตทรงห้ามพระราชชนนีว่า) [๔๓] ขอเดชะเสด็จแม่ จงทอดพระเนตรผลในปัจจุบันเถิด นี้เป็นผลแห่งขันติและโสรัจจะ พวกหม่อมฉันพร้อมทั้งพระราชวงศ์และเสนาอำมาตย์ ไหว้ท่านผู้ที่ชนทั้งปวงไหว้แล้ว (พระเจ้าพรหมทัตทรงชี้แจงแก่พสกนิกรว่า) [๔๔] ท่านทั้งหลายอย่าได้ว่าอะไรๆ ท่านคังคมาลมุนี ผู้ศึกษาอยู่ในข้อปฏิบัติของมุนี เพราะพระคุณเจ้ารูปนี้ได้ข้ามมหาสมุทรคือสังสารวัฏ ซึ่งผู้ที่ข้ามได้แล้วปราศจากความเศร้าโศกเที่ยวไป
คังคมาลชาดกที่ ๕ จบ
๖. เจติยราชชาดก (๔๒๒)
ว่าด้วยพระเจ้าเจติยราช
(ดาบสถวายโอวาทแด่พระราชาว่า) [๔๕] ธรรมย่อมฆ่าผู้ทำลายธรรม ย่อมไม่ฆ่าใครๆ ที่ไม่ทำลายธรรม เพราะเหตุนั้นแล บุคคลไม่ควรทำลายธรรม ขอธรรมที่พระองค์ทรงทำลายแล้วอย่าได้ฆ่าพระองค์เลย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๒๙๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๗ หน้าที่ ๒๙๑-๒๙๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=27&page=291&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=27&A=8056 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=27&A=8056#p291 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 27 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_27 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu27 https://84000.org/tipitaka/english/?index_27



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๙๑-๒๙๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]