ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

หน้าที่ ๑๐๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๔. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส

เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ในกาลใด ในกาลนั้น พราหมณ์นั้น ย่อมไม่ติด ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติดในบุญและบาป ได้แก่ เป็นผู้ไม่ติดแล้ว ไม่ติดพัน แล้ว ไม่เข้าไปติดแล้ว ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องแล้ว มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ รวมความว่า ผู้ไม่เข้าไปติดในบุญและบาป
ว่าด้วยการละตน
คำว่า ละตนได้ ในคำว่า ละตนได้ เรียกว่า ผู้ไม่ทำเพิ่มเติมในโลกนี้ ได้แก่ ละความเห็นว่า เป็นตน คำว่า ละตนได้ ได้แก่ ละความยึดมั่นถือมั่น อีกนัยหนึ่ง คำว่า ละตนได้ อธิบายว่า ความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความติดใจ ความน้อมใจเชื่อ ด้วยอำนาจตัณหา ด้วยอำนาจทิฏฐิทั้งปวง เป็นสิ่งที่ พราหมณ์นั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดทิ้งแล้ว คำว่า เรียกว่า ผู้ไม่ทำเพิ่มเติมในโลกนี้ อธิบายว่า เรียกว่า ผู้ไม่ทำเพิ่มเติม คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้น ซึ่งปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร หรืออาเนญชาภิสังขาร รวมความว่า ละตนได้ เรียกว่าผู้ไม่ทำ เพิ่มเติมในโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า พราหมณ์ไม่กล่าวความหมดจดในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน ศีลวัตร หรืออารมณ์ที่รับรู้โดยมรรคอื่น พราหมณ์นั้นผู้ไม่เข้าไปติดในบุญและบาป ละตนได้ เรียกว่า ผู้ไม่ทำเพิ่มเติมในโลกนี้ [๒๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) สมณพราหมณ์เหล่านั้นละสิ่งแรก อาศัยสิ่งหลัง ไปตามความพลุ่งพล่าน ย่อมข้ามกิเลสเครื่องข้องไม่ได้ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมยึดถือ ย่อมสลัดทิ้ง เหมือนลิงจับกิ่งไม้แล้วก็ปล่อยฉะนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๐๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๑๐๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=29&page=109&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=3272 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=29&A=3272#p109 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 29 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๐๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]