ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

หน้าที่ ๑๘๕-๑๘๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

คำว่า นี้แหละเป็นเครื่องทำให้ติดใหญ่ของเธอ อธิบายว่า การกล่าวเท็จ ทั้งที่รู้อยู่เป็นเครื่องทำให้ติดใหญ่ คือ เป็นป่าใหญ่ เป็นดงใหญ่ เป็นทางกันดารใหญ่ เป็นดุจทางขรุขระมาก เป็นทางคดมาก เป็นดุจหล่มใหญ่ เป็นดุจบ่อใหญ่ เป็นความ กังวลมากมาย เป็นเครื่องผูกพันใหญ่ของเธอ รวมความว่า นี้แหละเป็นเครื่องทำให้ ติดใหญ่ของเธอ
ว่าด้วยมุสาวาท
คำว่า ย่อมก้าวลงสู่ความเป็นคนพูดเท็จ อธิบายว่า มุสาวาท ตรัสเรียกว่า ความเป็นคนพูดเท็จ คนบางคนในโลกนี้ อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่ท่ามกลาง หมู่ญาติ อยู่ท่ามกลางหมู่ทหาร หรืออยู่ท่ามกลางราชสำนัก ถูกเขาอ้างเป็นพยาน ซักถามว่า “ท่านรู้สิ่งใด จงกล่าวสิ่งนั้น” บุคคลนั้นไม่รู้ก็พูดว่า “รู้” หรือรู้ก็พูดว่า “ไม่รู้” ไม่เห็นก็พูดว่า “เห็น” หรือเห็นก็พูดว่า “ไม่เห็น” เขาพูดเท็จทั้งที่รู้เพราะตน เป็นเหตุบ้าง เพราะบุคคลอื่นเป็นเหตุบ้าง เพราะเหตุคือเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง ด้วยประการฉะนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความเป็นคนพูดเท็จ อีกนัยหนึ่ง มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ ๑. ก่อนพูดเธอก็รู้ว่า เราจักพูดเท็จ ๒. กำลังพูดก็รู้ว่า เรากำลังพูดเท็จ ๓. พูดแล้วก็รู้ว่า เราพูดเท็จแล้ว มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ ๓ อย่างเหล่านี้ อีกนัยหนึ่ง มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ... ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ ๘ อย่าง คือ ๑. ก่อนพูดเธอก็รู้อยู่ว่า เราจักพูดเท็จ ๒. กำลังพูดก็รู้ว่า เรากำลังพูดเท็จ ๓. พูดแล้วก็รู้ว่า เราพูดเท็จแล้ว ๔. ปิดบังทิฏฐิ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๘๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

๕. ปิดบังความพอใจ ๖. ปิดบังความชอบใจ ๗. ปิดบังความสำคัญ ๘. ปิดบังความจริง มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ ๘ อย่างเหล่านี้ คำว่า ย่อมก้าวลงสู่ความเป็นคนพูดเท็จ ได้แก่ ย่อมก้าวลง คือ ย่อมหยั่งลง หยั่งลงเฉพาะ เข้าถึงความเป็นคนพูดเท็จ รวมความว่า ย่อมก้าวลงสู่ความเป็นคน พูดเท็จ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ลำดับนั้น ภิกษุนั้นถูกถ้อยคำของคนอื่นตักเตือนแล้ว ย่อมสร้างศัสตรา เธอย่อมก้าวลงสู่ความเป็นคนพูดเท็จ นี้แหละเป็นเครื่องทำให้ติดใหญ่ของเธอ [๕๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ภิกษุ (ในเบื้องต้น) ได้สมญานามว่า เป็นบัณฑิต อธิษฐานการเที่ยวไปผู้เดียว ต่อมา เธอประกอบในเมถุนธรรม ก็จักมัวหมอง เหมือนกับคนโง่ ฉะนั้น
ว่าด้วยต้นตรงปลายคด
คำว่า ภิกษุ(ในเบื้องต้น)ได้สมญานามว่า เป็นบัณฑิต อธิบายว่า ภิกษุ บางรูปในธรรมวินัยนี้ ได้รับการสรรเสริญเกียรติคุณว่า เป็นบัณฑิต คือ เป็นผู้ฉลาด มีปัญญา เป็นพหูสูต มีถ้อยคำไพเราะ มีปฏิภาณดี เป็นผู้ทรงจำพระสูตรบ้าง เป็นผู้ ทรงจำพระวินัยบ้าง เป็นพระธรรมกถึกบ้าง ... เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตน- สมาบัติบ้าง ในเบื้องต้น คือ ในคราวที่เป็นสมณะ ซึ่งผู้คนรู้จักกัน รู้จักกันทั่ว ชื่อว่า ได้สมญานามอย่างนี้ รวมความว่า ภิกษุ(ในเบื้องต้น)ได้สมญานามว่า เป็นบัณฑิต คำว่า อธิษฐานการเที่ยวไปผู้เดียว อธิบายว่า ได้อธิษฐานการเที่ยวไปผู้เดียว ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๘๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๑๘๕-๑๘๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=29&page=185&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=5515 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=29&A=5515#p185 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 29 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๘๕-๑๘๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]