ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

หน้าที่ ๑๙๕-๒๑๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๘. ปสูรสุตตนิทเทส

๘. ปสูรสุตตนิทเทส๑-
อธิบายปสูรสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อว่าปสูระ
พระสารีบุตรเถระจะกล่าวอธิบายปสูรสูตร ดังต่อไปนี้ [๕๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) สมณพราหมณ์เป็นอันมาก ย่อมกล่าวความหมดจดในธรรมนี้เท่านั้น ไม่กล่าวความหมดจดในธรรมเหล่าอื่น บุคคลอาศัยศาสดาใด ก็กล่าวศาสดานั้นว่าดีงาม ในเพราะทิฏฐิของตนนั้น เป็นผู้ตั้งอยู่ในปัจเจกสัจจะ คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดในธรรมนี้เท่านั้น อธิบายว่า ย่อมกล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจง ความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปในธรรมนี้เท่านั้น ได้แก่ กล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปว่า “โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ ... โลกไม่เที่ยง ... โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ... ชีวะ๒- กับสรีระเป็น คนละอย่างกัน ... หลังจากตายแล้วตถาคต๓- เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตไม่ เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก และไม่เกิดอีก” ... ย่อมกล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้น จริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ” รวมความว่า ย่อมกล่าว ความหมดจดในธรรมนี้เท่านั้น @เชิงอรรถ : @ ขุ.สุ. ๒๕/๘๓๑-๘๔๑/๔๙๖-๔๙๘ @ ชีวะ ดูเชิงอรรถข้อ ๑๖/๗๗ @ ตถาคต ดูเชิงอรรถข้อ ๑๖/๗๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๙๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๘. ปสูรสุตตนิทเทส

คำว่า ไม่กล่าวความหมดจดในธรรมเหล่าอื่น อธิบายว่า ย่อมทิ้ง ละทิ้ง ทอดทิ้ง วาทะอื่นทุกอย่าง นอกจากศาสดา ธรรมที่ศาสดากล่าวสอน หมู่คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคของตน กล่าวอย่างนี้ คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงอย่างนี้ว่า “ศาสดานั้นมิใช่สัพพัญญู ธรรมมิใช่ศาสดากล่าวสอนไว้ดีแล้ว หมู่คณะมิใช่ผู้ปฏิบัติดี แล้ว ทิฏฐิมิใช่สิ่งที่เจริญ ปฏิปทามิใช่ศาสดาบัญญัติไว้ดีแล้ว มรรคมิใช่ทางนำออก จากทุกข์ ในธรรมนั้นไม่มีความหมดจด ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป หรือความหลุดพ้นไป คือ ในธรรมนั้น สัตว์ทั้งหลาย ย่อมหมดจด สะอาด บริสุทธิ์ หลุดไป พ้นไป หรือหลุดพ้นไปไม่ได้ สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้เลว คือ ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย” รวมความว่า ไม่กล่าวความ หมดจดในธรรมเหล่าอื่น คำว่า บุคคลอาศัยศาสดาใด ในคำว่า บุคคลอาศัยศาสดาใด ก็กล่าวศาสดา นั้นว่าดีงาม ในเพราะทิฏฐิของตนนั้น อธิบายว่า อาศัย คือ อิงอาศัย ติด ติดแน่น ติดใจ น้อมใจเชื่อศาสดา ธรรมที่ศาสดากล่าวสอน หมู่คณะ ปฏิปทา มรรคใด คำว่า ในเพราะทิฏฐิของตนนั้น ได้แก่ ในเพราะทิฏฐิของตน คือ ในความถูก ใจของตน ความพอใจของตน ลัทธิของตน คำว่า กล่าวว่าดีงาม ได้แก่ กล่าวว่างาม คือ กล่าวว่าดี กล่าวว่าฉลาด กล่าวว่าเป็นนักปราชญ์ กล่าวว่ามีญาณ กล่าวว่ามีเหตุผล กล่าวว่ามีคุณลักษณะ กล่าวว่าเหมาะแก่เหตุ กล่าวว่าสมฐานะ ในเพราะลัทธิของตน รวมความว่า บุคคล อาศัยศาสดาใด ก็กล่าวศาสดานั้นว่าดีงาม ในเพราะทิฏฐิของตนนั้น คำว่า สมณพราหมณ์เป็นอันมาก ... เป็นผู้ตั้งอยู่ในปัจเจกสัจจะ อธิบายว่า สมณพราหมณ์เป็นอันมาก เป็นผู้ตั้งอยู่ คือ เป็นผู้ตั้งมั่น ติด ติดแน่น ติดใจ น้อมใจเชื่อในปัจเจกสัจจะ ได้แก่ ตั้งอยู่ คือ ตั้งมั่น ติด ติดแน่น ติดใจ น้อมใจ เชื่อว่า “โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ ... โลกไม่เที่ยง” ... ตั้งอยู่ คือ ตั้งมั่น ติด ติดแน่น ติดใจ น้อมใจเชื่อว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่า เกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ” รวมความว่า สมณพราหมณ์เป็นอันมาก ... เป็นผู้ตั้งอยู่ในปัจเจกสัจจะ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี- พระภาคจึงตรัสว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๙๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๘. ปสูรสุตตนิทเทส

สมณพราหมณ์เป็นอันมาก ย่อมกล่าวความหมดจดในธรรมนี้เท่านั้น ไม่กล่าวความหมดจดในธรรมเหล่าอื่น บุคคลอาศัยศาสดาใด ก็กล่าวศาสดานั้นว่าดีงาม ในเพราะทิฏฐิของตนนั้น เป็นผู้ตั้งอยู่ในปัจเจกสัจจะ [๖๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นคนอยากพูด เข้าไปสู่บริษัทแล้ว จับคู่ กล่าวหากันและกันว่า เป็นคนพาล สมณพราหมณ์เหล่านั้นอาศัยสิ่งอื่นแล้ว ย่อมกล่าวถ้อยคำขัดแย้งกัน อยากได้ความสรรเสริญ ก็กล่าวยกตนว่า เป็นผู้ฉลาด
ว่าด้วยการยกวาทะ
คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นคนอยากพูด ในคำว่า สมณพราหมณ์ เหล่านั้นเป็นคนอยากพูด เข้าไปสู่บริษัทแล้ว อธิบายว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นคนอยากพูด คือ เป็นคนต้องการพูด ประสงค์จะพูด มุ่งหมายจะพูด เที่ยวแสวงหา การพูด คำว่า เข้าไปสู่บริษัทแล้ว ได้แก่ เข้าไปแล้ว คือ ก้าวลงแล้ว แทรกเข้าไปแล้ว เข้าถึงแล้ว ซึ่งขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คหบดีบริษัท สมณบริษัท รวมความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นคนอยากพูด เข้าไปสู่บริษัทแล้ว คำว่า จับคู่ ในคำว่า จับคู่ กล่าวหากันและกันว่า เป็นคนพาล อธิบายว่า คน ๒ พวก คนก่อการทะเลาะกัน ๒ ฝ่าย คนก่อการบาดหมางกัน ๒ ฝ่าย คนก่อการอื้อฉาวกัน ๒ ฝ่าย คนก่อการวิวาทกัน ๒ ฝ่าย คนก่ออธิกรณ์กัน ๒ ฝ่าย คนว่ากล่าวกัน ๒ ฝ่าย คนโต้เถียงกัน ๒ ฝ่าย คนเหล่านั้น กล่าวหา คือ เห็น แลเห็น เพ่งพินิจ พิจารณาดูกันและกัน โดยความเป็นคนพาล คือ โดยความเป็น คนเลว ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย รวมความว่า จับคู่ กล่าวหา กันและกันว่า เป็นคนพาล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๙๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๘. ปสูรสุตตนิทเทส

คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นอาศัยสิ่งอื่นแล้ว ย่อมกล่าวถ้อยคำขัดแย้งกัน อธิบายว่า อาศัย คือ อิงอาศัย ติด ติดแน่น ติดใจ น้อมใจเชื่อศาสดา ธรรมที่ศาสดา กล่าวสอน หมู่คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคอื่น ความทะเลาะกัน ความบาดหมางกัน ความแก่งแย่งกัน ความวิวาทกัน การมุ่งร้ายกัน ตรัสเรียกว่า ถ้อยคำที่ขัดแย้งกัน อีกนัยหนึ่ง คำว่า ถ้อยคำขัดแยังกัน ได้แก่ ถ้อยคำที่ไม่นุ่มนวล อธิบายว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมกล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงถ้อยคำขัดแย้งกัน คือ คำทะเลาะกัน คำบาดหมางกัน คำแก่งแย่งกัน คำวิวาทกัน คำมุ่งร้ายกัน รวมความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นอาศัยสิ่งอื่นแล้ว ย่อมกล่าวถ้อยคำขัดแย้งกัน คำว่า อยากได้ความสรรเสริญ ในคำว่า อยากได้ความสรรเสริญ ก็กล่าว ยกตนว่าเป็นผู้ฉลาด อธิบายว่า อยากได้ความสรรเสริญ คือ ต้องการความสรรเสริญ ประสงค์ความสรรเสริญ มุ่งหมายความสรรเสริญ เที่ยวแสวงหาความสรรเสริญ คำว่า ก็กล่าวยกตนว่า เป็นผู้ฉลาด ได้แก่ กล่าวยกตนว่าเป็นผู้ฉลาด คือ กล่าวว่าเป็นบัณฑิต กล่าวว่าเป็นนักปราชญ์ กล่าวว่ามีญาณ กล่าวว่าสมเหตุผล กล่าวว่ามีคุณลักษณะ กล่าวว่าเหมาะแก่เหตุ กล่าวว่าสมฐานะตามลัทธิของตน รวมความว่า อยากได้ความสรรเสริญ ก็กล่าวยกตนว่า เป็นผู้ฉลาด ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นคนอยากพูด เข้าไปสู่บริษัทแล้ว จับคู่ กล่าวหากันและกันว่า เป็นคนพาล สมณพราหมณ์เหล่านั้นอาศัยสิ่งอื่นแล้ว ย่อมกล่าวถ้อยคำขัดแย้งกัน อยากได้ความสรรเสริญ ก็กล่าวยกตนว่า เป็นผู้ฉลาด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๙๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๘. ปสูรสุตตนิทเทส

[๖๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) คนผู้ประกอบถ้อยคำ(เพื่อกล่าว)ในท่ามกลางบริษัท เมื่ออยากได้ความสรรเสริญ ย่อมเป็นผู้ลังเลใจ เป็นผู้เก้อเขิน ในเมื่อถูกค้านตกไป ย่อมโกรธเคือง เพราะคำนินทา แสวงหาข้อแก้ตัว
ว่าด้วยแพ้วาทะแล้วขัดเคือง
คำว่า คนผู้ประกอบถ้อยคำ(เพื่อกล่าว)ในท่ามกลางบริษัท อธิบายว่า คนผู้ประกอบ คือ เตรียมตัว ตระเตรียม รวบรวม เรียบเรียง ถ้อยคำของตนเพื่อ กล่าวในท่ามกลางขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คหบดีบริษัท หรือสมณบริษัท รวมความว่า คนผู้ประกอบถ้อยคำ(เพื่อกล่าว)ในท่ามกลางบริษัท คำว่า เมื่ออยากได้ความสรรเสริญ ในคำว่า เมื่ออยากได้ความสรรเสริญ ย่อมเป็นผู้ลังเลใจ อธิบายว่า เมื่ออยากได้ คือ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวัง ความสรรเสริญ คือ ความชมเชย ความมีเกียรติ ความยกย่องคุณความดี คำว่า ย่อมเป็นผู้ลังเลใจ อธิบายว่า ก่อนตอบโต้ ย่อมสงสัย ลังเลใจ คือ ก่อนตอบโต้ ย่อมสงสัย ลังเลใจ อย่างนี้ว่า “เราจักมีชัย หรือปราชัยหนอ จักข่มเขา อย่างไร จักทำลัทธิของเราให้เลิศลอยได้อย่างไร จักทำให้พิเศษได้อย่างไร จักทำให้ พิเศษยิ่งขึ้นไปได้อย่างไร จักทำการผูกมัดได้อย่างไร จักทำความผ่อนคลายได้อย่างไร จักทำความตัดรอนได้อย่างไร จักตีขนาบวาทะเขาได้อย่างไร” รวมความว่า เมื่อ อยากได้ความสรรเสริญ ย่อมเป็นผู้ลังเลใจ คำว่า เป็นผู้เก้อเขิน ในเมื่อถูกค้านตกไป อธิบายว่า บริษัท สมาชิกของ บริษัท ผู้พิจารณาปัญหา เป็นผู้มีเหตุผล ย่อมคัดค้านให้ตกไป คือ คัดค้านให้ตกไป โดยอรรถว่า “คำที่ท่านพูดไร้ความหมาย” คัดค้านให้ตกไปโดยพยัญชนะว่า “สิ่งที่ ท่านพูดแล้วไม่ถูกต้องโดยพยัญชนะ” คัดค้านให้ตกไปทั้งโดยอรรถและพยัญชนะว่า “สิ่งที่ท่านพูดแล้วไม่ถูกต้องทั้งโดยอรรถและพยัญชนะ” คัดค้านให้ตกไปว่า “อรรถที่ ท่านนำมาไม่ถูกต้อง พยัญชนะที่ท่านยกขึ้นมาไม่ถูกต้อง ทั้งอรรถและพยัญชนะที่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๙๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๘. ปสูรสุตตนิทเทส

ท่านนำมาและยกขึ้นมาไม่ถูกต้อง ความข่มผู้อื่นท่านยังมิได้ทำ การทำลัทธิให้เลิศ ลอยท่านยังทำไม่ดี ความพิเศษท่านยังมิได้ทำ การทำให้พิเศษยิ่งขึ้นท่านยังทำไม่ดี ความผูกมัด ท่านยังมิได้ทำ ความผ่อนคลายท่านยังทำไม่ถูกต้อง ความตัดรอนท่าน ยังมิได้ทำ การขนาบวาทะท่านทำไม่ถูกต้อง ท่านพูดไม่ถูกต้อง กล่าวไม่ถูกต้อง เจรจาไม่ถูกต้อง เปล่งวาจาผิด กล่าวให้คลาดเคลื่อน พูดชั่ว” คำว่า เป็นผู้เก้อเขิน ในเมื่อถูกค้านตกไป อธิบายว่า เมื่อถูกคัดค้านให้ตกไป เป็นผู้เก้อเขิน คือ ถูกบีบคั้น ถูกทำให้ละอาย ถูกทำให้กระวนกระวาย ถึงความ ทุกข์ใจ รวมความว่า เป็นผู้เก้อเขิน ในเมื่อถูกค้านตกไป คำว่า เพราะคำนินทา ในคำว่า ย่อมโกรธเคือง เพราะคำนินทา แสวงหา ข้อแก้ตัว อธิบายว่า เพราะคำนินทา คือ คำครหา คำไม่ชมเชย คำไม่สรรเสริญคุณ ความดี คำว่า ย่อมโกรธเคือง ได้แก่ ย่อมโกรธเคือง คือ แค้นเคือง ขุ่นเคือง ได้แก่ ทำความโกรธเคือง ความขัดเคือง และความไม่พอใจให้ปรากฏ รวมความว่า ย่อมโกรธเคือง เพราะคำนินทา คำว่า แสวงหาข้อแก้ตัว ได้แก่ แสวงหาข้อแก้ตัว คือ แสวงหาข้อผิด แสวงหาข้อพลั้งผิด แสวงหาข้อผิดพลาด แสวงหาข้อพลั้งเผลอ แสวงหาช่องทาง รวมความว่า ย่อมโกรธเคือง เพราะคำนินทา แสวงหาข้อแก้ตัว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า คนผู้ประกอบถ้อยคำ(เพื่อกล่าว)ในท่ามกลางบริษัท เมื่ออยากได้ความสรรเสริญ ย่อมเป็นผู้ลังเลใจ เป็นผู้เก้อเขิน ในเมื่อถูกค้านตกไป ย่อมโกรธเคือง เพราะคำนินทา แสวงหาข้อแก้ตัว [๖๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) บริษัทผู้พิจารณาปัญหากล่าววาทะของเขาว่า เลว ถูกคัดค้านตกไปแล้ว เขาเสื่อมวาทะไปแล้ว ย่อมคร่ำครวญ เศร้าโศก ทอดถอนใจว่า เขานำ(หน้า) เราไปแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๐๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๘. ปสูรสุตตนิทเทส

ว่าด้วยถูกข่มด้วยวาทะแล้วเสียใจ
คำว่า กล่าววาทะของเขาว่า เลว อธิบายว่า ชุมชนผู้พิจารณาปัญหา ได้กล่าวอย่างนี้ คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงวาทะของเขาว่า เลว คือ ทราม ต่ำทราม เสื่อมเสีย ไม่บริบูรณ์ อย่างนี้ รวมความว่า กล่าววาทะของเขาว่า เลว คำว่า บริษัทผู้พิจารณาปัญหา ... ถูกคัดค้านตกไปแล้ว อธิบายว่า บริษัท สมาชิกของบริษัท ผู้พิจารณาปัญหา เป็นผู้มีเหตุผล ย่อมคัดค้านให้ตกไป คือ คัดค้านให้ตกไปโดยอรรถว่า “คำที่ท่านพูดไร้ความหมาย” คัดค้านให้ตกไปโดย พยัญชนะว่า “สิ่งที่ท่านพูดแล้วไม่ถูกต้องโดยพยัญชนะ” คัดค้านให้ตกไปทั้งโดย อรรถและพยัญชนะว่า “สิ่งที่ท่านพูดแล้วไม่ถูกต้องทั้งโดยอรรถและพยัญชนะ” คัดค้านให้ตกไปว่า “อรรถที่ท่านนำมาไม่ถูกต้อง พยัญชนะที่ท่านยกขึ้นมาไม่ถูกต้อง ทั้งอรรถและพยัญชนะที่ท่านนำมาและยกขึ้นมาไม่ถูกต้อง ความข่มผู้อื่นท่านยัง มิได้ทำ การทำลัทธิให้เลิศลอยท่านยังทำไม่ดี ความพิเศษท่านยังมิได้ทำ การทำให้ พิเศษยิ่งขึ้นท่านยังทำไม่ดี ความผูกมัดท่านยังมิได้ทำ ความผ่อนคลายท่านทำไว้ ไม่ถูกต้อง ความตัดรอนท่านยังมิได้ทำ การขนาบวาทะท่านทำไม่ถูกต้อง ท่านพูด ไม่ถูกต้อง กล่าวไม่ถูกต้อง เจรจาไม่ถูกต้อง เปล่งวาจาผิด กล่าวให้คลาดเคลื่อน พูดชั่ว” รวมความว่า บริษัทผู้พิจารณาปัญหา ... ถูกคัดค้านตกไปแล้ว คำว่า ย่อมคร่ำครวญ ในคำว่า เขาเสื่อมวาทะไปแล้ว ย่อมคร่ำครวญ เศร้าโศก อธิบายว่า การพูดพล่าม การพูดเพ้อ การพูดเพ้อเจ้อ ความพร่ำเพ้อ กิริยาที่พร่ำเพ้อ ภาวะที่พร่ำเพ้อเห็นปานนี้ว่า เรานึก คิด พิจารณา กำหนดไว้เป็น อย่างอื่น เขามีพวกมาก มีบริษัทมาก มีบริวารมาก และบริษัทนี้เป็นพวกแต่ หาพร้อมเพรียงกันไม่ ขอให้มีการพูดจาปราศรัยเพื่อให้บริษัทพร้อมเพรียงกันเถิด เราจักทำลายเขาอีก รวมความว่า ย่อมคร่ำครวญ คำว่า เศร้าโศก ได้แก่ เศร้าโศก คือ ลำบากใจ คร่ำครวญ ตีอกพร่ำเพ้อ ถึงความหลงใหลว่า “เขามีชัยชนะ เราปราชัย เขาได้ลาภ เราไม่ได้ลาภ เขามียศ เราไม่มียศ เขาได้ความสรรเสริญ เราได้แต่การนินทา เขามีสุข เรามีทุกข์ เขา ได้รับสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๐๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๘. ปสูรสุตตนิทเทส

คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เราไม่ได้รับสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร” รวมความว่า ย่อมคร่ำครวญ เศร้าโศก คำว่า เสื่อมวาทะไปแล้ว ได้แก่ เสื่อมวาทะไปแล้ว คือ มีวาทะเลว ทราม ต่ำทราม เสื่อมเสีย ไม่บริบูรณ์ รวมความว่า เสื่อมวาทะไปแล้ว ย่อมคร่ำครวญ เศร้าโศก คำว่า ทอดถอนใจว่า เขานำ(หน้า)เราไปแล้ว อธิบายว่า ทอดถอนใจว่า เขานำ คือ ล่วงเลย ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นเรา คือวาทะเรา ด้วยวาทะเขาแล้ว รวมความว่า เขานำ(หน้า)เราไปแล้ว อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง ทอดถอนใจว่า เขาเที่ยวไป คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป ครอบงำ ท่วมทับ รัดรึง ย่ำยีเรา คือวาทะเรา ด้วย วาทะเขา รวมความว่า เขานำ(หน้า)เราไปแล้ว อย่างนี้บ้าง การพูดพล่าม การพูดเพ้อ การพูดเพ้อเจ้อ ความพร่ำเพ้อ กิริยาที่พร่ำเพ้อ ภาวะที่พร่ำเพ้อ ตรัสเรียกว่า การทอดถอนใจ รวมความว่า ทอดถอนใจว่า เขา นำ(หน้า)เราไปแล้ว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บริษัทผู้พิจารณาปัญหากล่าววาทะของเขาว่า เลว ถูกคัดค้านตกไปแล้ว เขาเสื่อมวาทะไปแล้ว ย่อมคร่ำครวญ เศร้าโศก ทอดถอนใจว่า เขานำ(หน้า)เราไปแล้ว [๖๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) การวิวาทเหล่านี้เกิดแล้วในหมู่สมณะ ความยินดีและความยินร้าย มีอยู่ในการวิวาทเหล่านี้ บุคคลเห็นโทษนี้แล้ว พึงงดเว้นถ้อยคำขัดแย้งกัน เพราะว่าไม่มีประโยชน์อื่นนอกจากการได้ความสรรเสริญ
ว่าด้วยโทษของการวิวาท
คำว่า การวิวาทเหล่านี้เกิดแล้วในหมู่สมณะ อธิบายว่า คำว่า สมณะ ได้แก่ นักบวชพวกใดพวกหนึ่ง ซึ่งเข้าถึงการบวชเป็นปริพาชก ถึงการบวชเป็นปริพาชก ภายนอกจากธรรมวินัยนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๐๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๘. ปสูรสุตตนิทเทส

การทะเลาะกันเพราะทิฏฐิ การบาดหมางกันเพราะทิฏฐิ การแก่งแย่งกัน เพราะทิฏฐิ การวิวาทกันเพราะทิฏฐิ การมุ่งร้ายกันเพราะทิฏฐิเหล่านี้ เกิดแล้ว คือ เกิดขึ้นแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดขึ้นแล้ว ปรากฏแล้วในหมู่สมณะ รวมความว่า การ วิวาทเหล่านี้เกิดแล้วในหมู่สมณะ คำว่า ความยินดีและความยินร้าย มีอยู่ในการวิวาทเหล่านี้ อธิบายว่า มีชนะมีแพ้ มีลาภมีเสื่อมลาภ มียศมีเสื่อมยศ มีนินทามีสรรเสริญ มีสุขมีทุกข์ มีโสมนัสมีโทมนัส มีอิฏฐารมณ์มีอนิฏฐารมณ์ มีปลอดโปร่งมีกระทบกระทั่ง มีความยินดีมีความยินร้าย ใจยินดีเพราะชนะ ใจยินร้ายเพราะพ่ายแพ้ ใจยินดีเพราะ ได้ลาภ ใจยินร้ายเพราะเสื่อมลาภ ใจยินดีเพราะได้ยศ ใจยินร้ายเพราะเสื่อมยศ ใจยินดีเพราะสรรเสริญ ใจยินร้ายเพราะนินทา ใจยินดีเพราะความสุข ใจยินร้าย เพราะความทุกข์ ใจยินดีเพราะโสมนัส ใจยินร้ายเพราะโทมนัส ใจยินดีเพราะเฟื่องฟู ใจยินร้ายเพราะตกอับ รวมความว่า ความยินดีและความยินร้าย มีอยู่ในการวิวาท เหล่านี้ คำว่า เห็นโทษนี้แล้ว ในคำว่า บุคคลเห็นโทษนี้แล้ว พึงงดเว้นถ้อยคำ ขัดแย้งกัน อธิบายว่า เห็นแล้ว คือ แลเห็นแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วซึ่งโทษนี้ ในการทะเลาะกันเพราะทิฏฐิ การ บาดหมางกันเพราะทิฏฐิ การแก่งแย่งกันเพราะทิฏฐิ การวิวาทกันเพราะทิฏฐิ การ มุ่งร้ายกันเพราะทิฏฐิ คำว่า บุคคลเห็นโทษนี้แล้ว พึงงดเว้นถ้อยคำขัดแย้งกัน อธิบายว่า การ ทะเลาะกัน การบาดหมางกัน การแก่งแย่งกัน การวิวาทกัน การมุ่งร้ายกัน ตรัสเรียกว่า ถ้อยคำขัดแย้งกัน อีกนัยหนึ่ง ถ้อยคำที่ขัดแย้งกัน ได้แก่ ถ้อยคำที่ไม่นุ่มนวล อธิบายว่า บุคคลนั้น ไม่พึงก่อถ้อยคำขัดแย้งกัน คือ ไม่พึงก่อการทะเลาะกัน ไม่พึงก่อการ บาดหมางกัน ไม่พึงก่อการแก่งแย่งกัน ไม่พึงก่อการวิวาทกัน ไม่พึงก่อการมุ่ง ร้ายกัน ได้แก่ พึงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งการทะเลาะ การบาดหมาง การแก่งแย่ง การวิวาท การมุ่งร้าย คือ พึงเป็นผู้งด งดเว้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๐๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๘. ปสูรสุตตนิทเทส

เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับการทะเลาะ การบาดหมาง การ แก่งแย่ง การวิวาท การมุ่งร้าย มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ รวมความว่า บุคคล เห็นโทษนี้แล้ว พึงงดเว้นถ้อยคำขัดแย้งกัน คำว่า เพราะว่าไม่มีประโยชน์อื่นนอกจากการได้ความสรรเสริญ อธิบาย ว่า ไม่มีประโยชน์อื่นนอกจากการได้ความสรรเสริญ คือ ไม่มี ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ซึ่งประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่นหรือประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ประโยชน์ในภพ ปัจจุบันหรือประโยชน์ในภพหน้า ประโยชน์ตื้นหรือประโยชน์ลึก ประโยชน์ลี้ลับ หรือประโยชน์ปิดบัง ประโยชน์ที่ควรแนะนำหรือประโยชน์ที่แนะนำแล้ว ประโยชน์ที่ ไม่มีโทษหรือประโยชน์ที่ไม่มีกิเลส ประโยชน์ที่ผ่องแผ้วหรือประโยชน์อย่างยิ่ง รวมความว่า เพราะไม่มีประโยชน์อื่นนอกจากการได้ความสรรเสริญ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า การวิวาทเหล่านี้เกิดแล้วในหมู่สมณะ ความยินดีและความยินร้าย มีอยู่ในการวิวาทเหล่านี้ บุคคลเห็นโทษนี้แล้ว พึงงดเว้นถ้อยคำขัดแย้งกัน เพราะว่าไม่มีประโยชน์อื่นนอกจากการได้ความสรรเสริญ [๖๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ก็หรือว่า บุคคลกล่าววาทะในท่ามกลางบริษัท ได้รับความสรรเสริญ เพราะทิฏฐิของตนนั้น เขาย่อมหัวเราะ และฟูใจด้วยประโยชน์แห่งความชนะนั้น เพราะได้บรรลุถึงประโยชน์ตามที่ใจคิดไว้แล้ว คำว่า เพราะทิฏฐิของตนนั้น ในคำว่า ก็หรือว่า ... ได้รับความสรรเสริญ เพราะทิฏฐิของตนนั้น ได้แก่ ได้รับความสรรเสริญ คือ ชมเชย ยกย่อง พรรณนา เพราะทิฏฐิของตน คือ ความถูกใจของตน ความพอใจของตน ลัทธิของตน รวมความว่า ก็หรือว่า ... ได้รับความสรรเสริญ เพราะทิฏฐิของตนนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๐๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๘. ปสูรสุตตนิทเทส

คำว่า กล่าววาทะในท่ามกลางบริษัท อธิบายว่า กล่าว คือ บอกวาทะของตน ได้แก่ กล่าว พูด ชื่นชม พูดถึง แสดง เชิดชู ชี้แจง ยกย่องวาทะที่เอื้อต่อวาทะ ตนในท่ามกลางขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คหบดีบริษัท หรือสมณบริษัท รวมความว่า กล่าววาทะในท่ามกลางบริษัท คำว่า เขาย่อมหัวเราะ และฟูใจด้วยประโยชน์แห่งความชนะนั้น อธิบายว่า เขาย่อมเป็นผู้ยินดี ร่าเริง เบิกบาน มีใจแช่มชื่น มีความดำริบริบูรณ์ด้วยประโยชน์ แห่งความชนะนั้น อีกนัยหนึ่ง เป็นผู้หัวเราะจนมองเห็นฟัน คำว่า เขาย่อมหัวเราะ และฟูใจด้วยประโยชน์แห่งความชนะนั้น ได้แก่ เขา ย่อมเป็นผู้ลำพองตน คือ ทะนงตน เชิดชูตนเป็นดุจธง เห่อเหิม ต้องการเชิดชูตน เป็นดุจธง ด้วยประโยชน์แห่งความชนะนั้น รวมความว่า เขาย่อมหัวเราะ และฟูใจ ด้วยประโยชน์แห่งความชนะนั้น คำว่า เพราะได้บรรลุถึงประโยชน์ตามที่ใจคิดไว้แล้ว ได้แก่ เพราะได้บรรลุ คือ ถึง ถึงเฉพาะ ประสบ ได้รับประโยชน์แห่งความชนะนั้น คำว่า ตามที่ใจคิดไว้แล้ว ได้แก่ ตามที่ใจคิดไว้แล้ว คือ ได้เป็นอย่างที่คิด ได้เป็นอย่างที่ดำริ ได้เป็นอย่างที่รู้แจ้ง รวมความว่า เพราะได้บรรลุถึงประโยชน์ตาม ที่ใจคิดไว้แล้ว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ก็หรือว่า บุคคลกล่าววาทะในท่ามกลางบริษัท ได้รับความสรรเสริญ เพราะทิฏฐิของตนนั้น เขาย่อมหัวเราะ และฟูใจด้วยประโยชน์แห่งความชนะนั้น เพราะได้บรรลุถึงประโยชน์ตามที่ใจคิดไว้แล้ว [๖๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ความลำพองตน ย่อมเป็นภูมิสำหรับย่ำยีของเขา เขาจึงกล่าวคำถือตัวและคำดูหมิ่นกัน บุคคลเห็นโทษนี้แล้ว ไม่ควรวิวาทกัน เพราะผู้ฉลาดทั้งหลาย ไม่กล่าวความหมดจด ด้วยการวิวาทกันนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๐๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๘. ปสูรสุตตนิทเทส

คำว่า ความลำพองตน ย่อมเป็นภูมิสำหรับย่ำยีของเขา อธิบายว่า ความ ลำพองตน คือ ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิต ต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธง รวมความว่า ความลำพองตน คำว่า ย่อมเป็นภูมิสำหรับย่ำยีของเขา อธิบายว่า ความลำพองตน เป็นภูมิ สำหรับย่ำยี คือ สำหรับตัดรอน สำหรับเบียดเบียน สำหรับบีบคั้น สำหรับก่อ อันตราย สำหรับก่ออุปสรรคของเขา รวมความว่า ความลำพองตน ย่อมเป็นภูมิ สำหรับย่ำยีของเขา คำว่า เขาจึงกล่าวคำถือตัวและคำดูหมิ่นกัน ได้แก่ บุคคลนั้นจึงกล่าวคำ ถือตัวและกล่าวคำดูหมิ่น รวมความว่า เขาจึงกล่าวคำถือตัวและคำดูหมิ่นกัน คำว่า บุคคลเห็นโทษนี้แล้ว ไม่ควรวิวาทกัน อธิบายว่า เห็นแล้ว คือ แลเห็น แล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วซึ่งโทษนี้ ในการทะเลาะกันเพราะทิฏฐิ การบาดหมางกันเพราะทิฏฐิ การแก่งแย่งกันเพราะ ทิฏฐิ การวิวาทกันเพราะทิฏฐิ การมุ่งร้ายกันเพราะทิฏฐิ รวมความว่า บุคคลเห็น โทษนี้แล้ว คำว่า ไม่ควรวิวาทกัน อธิบายว่า ไม่พึงก่อการทะเลาะกัน ไม่พึงก่อการ บาดหมางกัน ไม่พึงก่อการแก่งแย่งกัน ไม่พึงก่อการวิวาทกัน ไม่พึงก่อการมุ่ง ร้ายกัน ได้แก่ พึงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งการทะเลาะกัน การบาดหมางกัน การแก่งแย่งกัน การวิวาทกัน การมุ่งร้ายกัน คือ พึงเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับการทะเลาะกัน การ บาดหมางกัน การแก่งแย่งกัน การวิวาทกัน การมุ่งร้ายกันแล้ว มีใจเป็นอิสระ (จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า บุคคลเห็นโทษนี้แล้ว ไม่ควรวิวาทกัน คำว่า ผู้ฉลาดทั้งหลาย ในคำว่า เพราะผู้ฉลาดทั้งหลาย ไม่กล่าวความ หมดจดด้วยการวิวาทกันนั้น อธิบายว่า ผู้ฉลาดในขันธ์ ฉลาดในธาตุ ฉลาดใน อายตนะ ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ฉลาดในสติปัฏฐาน ฉลาดในสัมมัปปธาน ฉลาด ในอิทธิบาท ฉลาดในอินทรีย์ ฉลาดในพละ ฉลาดในโพชฌงค์ ฉลาดในมรรค ฉลาด ในผล ฉลาดในนิพพาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๐๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๘. ปสูรสุตตนิทเทส

ผู้ฉลาดเหล่านั้น ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่ชี้แจงความหมดจด คือ ความ สะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป ด้วยการทะเลาะ กันเพราะทิฏฐิ การบาดหมางกันเพราะทิฏฐิ การแก่งแย่งกันเพราะทิฏฐิ การวิวาท กันเพราะทิฏฐิ การมุ่งร้ายกันเพราะทิฏฐิ รวมความว่า เพราะผู้ฉลาดทั้งหลาย ไม่กล่าวความหมดจดด้วยการวิวาทกันนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ความลำพองตน ย่อมเป็นภูมิสำหรับย่ำยีของเขา เขาจึงกล่าวคำถือตัวและคำดูหมิ่นกัน บุคคลเห็นโทษนี้แล้ว ไม่ควรวิวาทกัน เพราะผู้ฉลาดทั้งหลาย ไม่กล่าวความหมดจด ด้วยการวิวาทกันนั้น [๖๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) คนกล้าที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยของเสวยของพระราชา เขาคึกคะนอง อยากพบคนกล้าฝ่ายตรงข้าม ย่อมได้พบ ฉันใด (เจ้าลัทธิ ย่อมได้พบเจ้าลัทธิ ฉันนั้น) ผู้กล้าเอ๋ย เจ้าลัทธิอยู่ที่ใด เธอจงไปเสียจากที่นั้นเถิด เพราะกิเลสที่เคยมีแต่ก่อนของตถาคต มิได้มีเพื่อการรบ คำว่า คนกล้า ในคำว่า คนกล้าที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยของเสวยของพระราชา ได้แก่ คนกล้า คือ ผู้กล้าหาญ นักสู้ ผู้ไม่ขลาด ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้งกลัว ไม่หนี คำว่า ที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยของเสวยของพระราชา ได้แก่ ได้รับการเลี้ยงดู คือ ชุบเลี้ยง ทำให้เจริญ ทำให้เติบโต ด้วยเครื่องขบเคี้ยวของพระราชา ด้วยเครื่อง เสวยของพระราชา รวมความว่า คนกล้าที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยของเสวยของ พระราชา คำว่า เขาคึกคะนอง อยากพบคนกล้าฝ่ายตรงข้าม ย่อมได้พบ ฉันใด อธิบายว่า เขาคึกคะนอง ร้องท้าทาย ตะโกนกึกก้อง อยากพบ คือ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวัง ผู้กล้าฝ่ายตรงข้าม คือ คนฝ่ายตรงข้าม ศัตรูฝ่ายตรงข้าม นักปล้ำ ฝ่ายตรงข้าม ย่อมได้พบ คือ เข้าพบ เข้าไปพบ รวมความว่า เขาคึกคะนอง อยากพบคนกล้าฝ่ายตรงข้าม ย่อมได้พบ ฉันใด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๐๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๘. ปสูรสุตตนิทเทส

คำว่า ผู้กล้าเอ๋ย เจ้าลัทธิอยู่ที่ใด เธอจงไปเสียจากที่นั้นเถิด อธิบายว่า เจ้าลัทธินั้นอยู่ที่ใด เธอจงไปเสียจากที่นั้น คือ จงเว้น จงไป จงก้าวหลีกจากที่นั้น เพราะเขาเป็นผู้กล้าฝ่ายตรงข้าม เป็นคนฝ่ายตรงข้าม เป็นศัตรูฝ่ายตรงข้าม เป็น นักปล้ำฝ่ายตรงข้ามของเธอ รวมความว่า ผู้กล้าเอ๋ย เจ้าลัทธิอยู่ที่ใด เธอจงไปเสีย จากที่นั้นเถิด คำว่า เพราะกิเลสที่เคยมีแต่ก่อนของตถาคต มิได้มีเพื่อการรบ อธิบายว่า กิเลสเหล่าใด ซึ่งทำความเป็นข้าศึก ทำความขัดขวาง ทำความเป็นเสี้ยนหนาม ทำความเป็นปฏิปักษ์ เมื่อก่อน คือ ที่โคนต้นโพธิ์ กิเลสเหล่านั้น ไม่มี ไม่มีอยู่ ไม่ ปรากฏ หาไม่ได้แก่ตถาคต คือ กิเลสเหล่านั้นตถาคตละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว คำว่า เพื่อการรบ ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การรบ คือ เพื่อประโยชน์แก่การ ทะเลาะกัน เพื่อประโยชน์แก่การบาดหมางกัน เพื่อประโยชน์แก่การแก่งแย่งกัน เพื่อประโยชน์แก่การวิวาทกัน เพื่อประโยชน์แก่การมุ่งร้ายกัน รวมความว่า เพราะ กิเลสที่เคยมีแต่ก่อนของตถาคต มิได้มีเพื่อการรบ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า คนกล้าที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยของเสวยของพระราชา เขาคึกคะนอง อยากพบคนกล้าฝ่ายตรงข้าม ย่อมได้พบ ฉันใด (เจ้าลัทธิ ย่อมได้พบเจ้าลัทธิ ฉันนั้น) ผู้กล้าเอ๋ย เจ้าลัทธิอยู่ที่ใด เธอจงไปเสียจากที่นั้นเถิด เพราะกิเลสที่เคยมีแต่ก่อนของตถาคต มิได้มีเพื่อการรบ [๖๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ชนเหล่าใดถือทิฏฐิแล้ววิวาทกัน และกล่าวอ้างว่า นี้เท่านั้นจริง เธอจงพูดกับชนเหล่านั้นว่า กิเลสที่เป็นข้าศึกกัน เมื่อวาทะเกิด ไม่มีในธรรมวินัยนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๐๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๘. ปสูรสุตตนิทเทส

ว่าด้วยวิวาทกันเพราะทิฏฐิ
คำว่า ชนเหล่าใดถือทิฏฐิแล้ววิวาทกัน อธิบายว่า ชนเหล่าใด จับ ยึด ถือ ยึดมั่น ถือมั่น ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งในทิฏฐิ ๖๒ แล้ว ย่อมวิวาทกัน คือ ย่อมก่อ การทะเลาะกัน ก่อการบาดหมางกัน ก่อการแก่งแย่งกัน ก่อการวิวาทกัน ก่อการ มุ่งร้ายกัน โดยพูดว่า “ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ เรารู้ธรรมวินัยนี้ ท่านจักรู้ธรรมวินัยนี้ได้ อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด เราปฏิบัติถูกต้อง คำของเรามีประโยชน์ คำของท่านไม่มี ประโยชน์ คำที่ควรพูดก่อนท่านก็พูดทีหลัง คำที่ควรพูดทีหลังท่านกลับพูดก่อน คำที่ท่านใช้เสมอกลับติดขัด วาทะของท่านเราหักล้างได้แล้ว เราปราบปรามท่าน ได้แล้ว ท่านจงเที่ยวไปเพื่อเปลื้องวาทะ หรือหากท่านสามารถ ก็จงแก้ไขเถิด” รวมความว่า ชนเหล่าใด ถือทิฏฐิแล้ววิวาทกัน คำว่า และกล่าวอ้างว่า นี้เท่านั้นจริง อธิบายว่า กล่าวอ้าง คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงว่า “โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ ... โลกไม่เที่ยง” ... กล่าวอ้าง คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ” รวมความว่า และกล่าว อ้างว่า นี้เท่านั้นจริง คำว่า เธอจงพูดกับชนเหล่านั้นว่า กิเลสที่เป็นข้าศึกกัน เมื่อวาทะเกิด ไม่มี ในธรรมวินัยนี้ อธิบายว่า เธอจงพูดกับเจ้าลัทธิเหล่านั้น คือ ตอบโต้วาทะด้วยวาทะ ตอบโต้การข่มด้วยการข่ม ตอบโต้การเชิดชูด้วยการเชิดชู ตอบโต้ความพิเศษด้วย ความพิเศษ ตอบโต้ความพิเศษให้ยิ่งขึ้นไปด้วยความพิเศษให้ยิ่งขึ้นไป ตอบโต้ความ ผูกมัดด้วยความผูกมัด ตอบโต้ความผ่อนคลายด้วยความผ่อนคลาย ตอบโต้การตัด รอนด้วยการตัดรอน ตอบโต้การขนาบวาทะด้วยการขนาบวาทะ เพราะคนเหล่านั้น เป็นผู้กล้าฝ่ายตรงข้าม เป็นคนฝ่ายตรงข้าม เป็นศัตรูฝ่ายตรงข้าม เป็นนักปล้ำฝ่าย ตรงข้ามของเธอ รวมความว่า เธอจงพูดกับชนเหล่านั้นว่า ... ไม่มีในธรรมวินัยนี้ คำว่า กิเลสที่เป็นข้าศึกกัน เมื่อวาทะเกิด อธิบายว่า เมื่อวาทะเกิด คือ เกิดขึ้น บังเกิด บังเกิดขึ้น ปรากฏแล้ว กิเลสที่เป็นข้าศึก คือ ที่ขัดแย้งกัน ที่เป็น เสี้ยนหนามกัน ที่เป็นปฏิปักษ์กันเหล่าใด พึงก่อการทะเลาะกัน ก่อการบาดหมางกัน ก่อการแก่งแย่งกัน ก่อการวิวาทกัน ก่อการมุ่งร้ายกัน กิเลสเหล่านั้น ไม่มี คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๐๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๘. ปสูรสุตตนิทเทส

ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ แก่พระอรหันต์ ได้แก่ กิเลสเหล่านั้นพระอรหันต์ ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผา ด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า เธอจงพูดกับชนเหล่านั้นว่า กิเลสที่เป็นข้าศึกกัน เมื่อวาทะเกิด ไม่มีในธรรมวินัยนี้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ชนเหล่าใดถือทิฏฐิแล้ววิวาทกัน และกล่าวอ้างว่า นี้เท่านั้นจริง เธอจงพูดกับชนเหล่านั้นว่า กิเลสที่เป็นข้าศึกกัน เมื่อวาทะเกิด ไม่มีในธรรมวินัยนี้ [๖๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) พระอรหันต์เหล่าใด กำจัดเสนาได้แล้ว ไม่เอาทิฏฐิไปกระทบทิฏฐิ เที่ยวไป พระอรหันต์เหล่าใดในธรรมวินัยนี้ ไม่มีความถือมั่นสิ่งนี้ว่า ยอดเยี่ยม ปสูระเอ๋ย เธอจะพึงได้อะไร ในพระอรหันต์เหล่านั้น
ว่าด้วยเสนามาร
คำว่า พระอรหันต์เหล่าใด กำจัดเสนาได้แล้ว ... เที่ยวไป อธิบายว่า เสนามาร ตรัสเรียกว่า เสนา กายทุจริต ชื่อว่าเสนามาร วจีทุจริต ... มโนทุจริต ... ราคะ ... โทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... อิสสา ... มัจฉริยะ ... มายา ... สาเถยยะ ... ถัมภะ ... สารัมภะ ... มานะ ... อติมานะ ... มทะ ... ปมาทะ ... กิเลสทุกชนิด ... ทุจริตทุกทาง ... ความกระวนกระวายทุกอย่าง ... ความเร่าร้อนทุกสถาน ... ความเดือดร้อนทุกประการ ... อกุสลาภิสังขารทุกประเภท ชื่อว่าเสนามาร สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า กิเลสกามเราเรียกว่าเสนากองที่ ๑ ของท่าน ความไม่ยินดีเราเรียกว่าเสนากองที่ ๒ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๑๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๘. ปสูรสุตตนิทเทส

คนขลาดเอาชนะเสนานั้นไม่ได้ แต่คนกล้า ครั้นชนะได้แล้วย่อมได้ความสุข๑- เมื่อใดเสนามารทั้งหมด และกิเลสที่สร้างเสนาฝ่ายตรงข้ามทั้งปวง ถูกผู้มี ปัญญาพิชิตและทำให้ปราชัย ทำลาย กำจัด ทำให้ไม่สู้หน้าแล้ว ด้วยอริยมรรค ๔ เมื่อนั้น ผู้นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า เป็นผู้กำจัดเสนาได้แล้ว คำว่า เหล่าใด ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ คำว่า เที่ยวไป ได้แก่ เที่ยวไป คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า พระอรหันต์เหล่าใด กำจัดเสนา ได้แล้ว ... เที่ยวไป คำว่า ไม่เอาทิฏฐิไปกระทบทิฏฐิ อธิบายว่า ทิฏฐิ ๖๒ พระอรหันต์เหล่าใด ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผา ด้วยไฟคือญาณแล้ว พระอรหันต์เหล่านั้นไม่กระทบ คือ ไม่กระแทก ไม่บั่นทอน ไม่ ทำลายทิฏฐิด้วยทิฏฐิ รวมความว่า ไม่เอาทิฏฐิไปกระทบทิฏฐิ คำว่า ปสูระเอ๋ย เธอจะพึงได้อะไร ในพระอรหันต์เหล่านั้น อธิบายว่า ปสูระ ผู้เป็นคนฝ่ายตรงข้าม ผู้เป็นศัตรูฝ่ายตรงข้าม ผู้เป็นนักปล้ำฝ่ายตรงข้าม เธอจะได้อะไร ในพระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น รวมความว่า ปสูระเอ๋ย เธอจะพึงได้ อะไร ในพระอรหันต์เหล่านั้น คำว่า พระอรหันต์เหล่าใดในธรรมวินัยนี้ ไม่มีความถือมั่นสิ่งนี้ว่า ยอด เยี่ยม อธิบายว่า พระอรหันตขีณาสพเหล่าใดไม่มี ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ซึ่ง ความถือ คือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความติดใจ ความน้อมใจเชื่อว่า “สิ่งนี้ เยี่ยม คือ ยอด ประเสริฐ วิเศษ นำหน้า สูงสูด ประเสริฐสุด” ได้แก่ ความ ถือมั่นนั้น พระอรหันต์เหล่าใด ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับ ได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า พระอรหันต์ เหล่าใดในธรรมวินัยนี้ ไม่มีความถือมั่นสิ่งนี้ว่า ยอดเยี่ยม ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี- พระภาคจึงตรัสว่า @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๒๘/๑๑๕-๑๑๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๑๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๘. ปสูรสุตตนิทเทส

พระอรหันต์เหล่าใด กำจัดเสนาได้แล้ว ไม่เอาทิฏฐิไปกระทบทิฏฐิ เที่ยวไป พระอรหันต์เหล่าใดในธรรมวินัยนี้ ไม่มีความถือมั่นสิ่งนี้ว่า ยอดเยี่ยม ปสูระเอ๋ย เธอจะพึงได้อะไร ในพระอรหันต์เหล่านั้น [๖๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) อนึ่ง เธอตรึกอยู่มาแล้ว เธอคิดทิฏฐิทั้งหลายด้วยใจ มาถึงการแข่งคู่กับเราผู้มีปัญญาเครื่องกำจัดแล้ว ย่อมไม่สามารถเทียมทันได้เลย
ว่าด้วยพระปัญญาของพระพุทธเจ้า
คำว่า อนึ่ง ในคำว่า อนึ่ง เธอตรึกอยู่มาแล้ว เป็นบทสนธิ เป็นคำเชื่อมบท เป็นคำที่ทำบทให้บริบูรณ์ เป็นความสัมพันธ์แห่งอักษร เป็นความสละสลวยแห่ง พยัญชนะ คำว่า อนึ่ง นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน คำว่า เธอตรึกอยู่มาแล้ว ได้แก่ เธอตรึก ตรอง ดำริอยู่ คือ ตรึก ตรอง ดำริอยู่อย่างนี้ว่า เราจักมีชัยไหมหนอ จักปราชัยไหมหนอ จักทำการข่มอย่างไร จักทำการเชิดชูอย่างไร จักทำลัทธิของเราให้เลิศลอยอย่างไร จักทำให้พิเศษอย่างไร จักทำให้พิเศษยิ่งขึ้นไปอย่างไร จักทำการผูกมัดอย่างไร จักทำการผ่อนคลายอย่างไร จักทำการตัดรอนอย่างไร จักทำการขนาบวาทะได้อย่างไร มาแล้ว คือ เข้ามาแล้ว ถึงพร้อมแล้ว มาประจวบกับเราแล้ว รวมความว่า อนึ่ง เธอตรึกอยู่มาแล้ว คำว่า เธอคิดถึงทิฏฐิทั้งหลายด้วยใจ อธิบายว่า คำว่า ใจ ได้แก่ จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ ที่เกิดขึ้นจากผัสสะเป็นต้นนั้น เธอเฝ้า แต่คิด คิดถึงแต่ทิฏฐิด้วยใจว่า “โลกเที่ยง ... โลกไม่เที่ยง ... หรือว่า หลังจาก ตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่” รวมความว่า เธอคิดถึง ทิฏฐิทั้งหลายด้วยใจ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๑๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๘. ปสูรสุตตนิทเทส

คำว่า เธอ ... มาถึงการแข่งคู่กับเราผู้มีปัญญาเครื่องกำจัดแล้ว ย่อมไม่ สามารถเทียมทันได้เลย อธิบายว่า ปัญญา ตรัสเรียกว่า เครื่องกำจัด คือ ความ รู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ... ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ๑- เพราะเหตุไร ปัญญาจึงตรัสเรียกว่า เครื่องกำจัด เพราะปัญญานั้นเป็นเครื่อง กำจัด ชำระ ล้างและซักฟอกกายทุจริต ... วจีทุจริต ... เป็นเครื่องกำจัด ชำระ ล้าง และซักฟอกอกุสลาภิสังขารทุกประเภท อีกนัยหนึ่ง สัมมาทิฏฐิ เป็นเครื่องกำจัด ชำระ ล้างและซักฟอกมิจฉาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะเป็นเครื่องกำจัดมิจฉาสังกัปปะ ... สัมมาวิมุตติ เป็นเครื่องกำจัด ชำระ ล้างและซักฟอกมิจฉาวิมุตติ อีกนัยหนึ่ง อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นเครื่องกำจัด ชำระ ล้างและซักฟอก กิเลสทุกชนิด ... ทุจริตทุกทาง ... ความกระวนกระวายทุกอย่าง ... ความเร่าร้อน ทุกสถาน ... ความเดือดร้อนทุกประการ เป็นเครื่องกำจัด ชำระ ล้างและซักฟอก อกุสลาภิสังขารทุกประเภท พระผู้มีพระภาคทรงประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วยธรรมเครื่องชำระล้างเหล่านี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาค จึงชื่อว่าผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด พระองค์ทรงกำจัดความกำหนัด ได้แล้ว กำจัดบาปได้แล้ว กำจัดกิเลสได้แล้ว กำจัดความเร่าร้อนได้แล้ว รวมความว่า ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด คำว่า เธอมาถึงการแข่งคู่กับเราผู้มีปัญญาเครื่องกำจัดแล้ว ย่อมไม่ สามารถเทียมทันได้เลย อธิบายว่า ปสูรปริพาชก ไม่สามารถแข่งคู่ คือ จับคู่ แข่งขัน สนทนา ปราศรัย ถึงการสนทนากับพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ผู้มีปัญญา เครื่องกำจัดได้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะปสูรปริพาชก เลว ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย ส่วนพระผู้มีพระภาค ทรงล้ำเลิศ ประเสริฐ วิเศษ นำหน้า สูงสุด ประเสริฐสุด ปสูรปริพาชก ไม่สามารถมาแข่งคู่ คือ จับคู่ แข่งขัน สนทนา ปราศรัย ถึงการสนทนากับพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัดได้ เปรียบเหมือน @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๒๑/๙๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๑๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๘. ปสูรสุตตนิทเทส

กระต่ายไม่อาจมาแข่งคู่ คือ จับคู่แข่งขันกับช้างใหญ่กำลังตกมันได้ สุนัขจิ้งจอกแก่ๆ ไม่อาจมาแข่งคู่ คือ จับคู่ต่อยุทธกับราชสีห์ ผู้เป็นเจ้าแห่งมฤคได้ ลูกโคเล็กๆ ยังไม่ อดนม ไม่อาจมาแข่งคู่ คือ จับคู่แข่งขันกับโคผู้ซึ่งมีกำลังมากได้ กาไม่อาจมาแข่งคู่ คือ จับคู่แข่งขันกับพญาครุฑนามว่าเวนไตยได้ คนจัณฑาลไม่สามารถมาแข่งคู่ คือ จับคู่ต่อยุทธกับพระเจ้าจักรพรรดิได้ ปีศาจเล่นฝุ่นไม่อาจมาแข่งคู่ คือ จับคู่ต่อกร กับพระอินทร์ผู้ทรงเป็นเทวราชได้ ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุไร เพราะปสูรปริพาชก มีปัญญาเลว มีปัญญาทราม มีปัญญาต่ำทราม มีปัญญาน่ารังเกียจ มีปัญญาหยาบช้า มีปัญญาต่ำต้อย ส่วนพระผู้มีพระภาคมีพระปัญญามาก มีพระปัญญากว้างขวาง มีพระปัญญา อาจหาญ มีพระปัญญาฉับไว มีพระปัญญาเฉียบคม มีพระปัญญาเพิกถอนกิเลส ทรงความฉลาดในประเภทแห่งปัญญา มีพระญาณแตกฉาน ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา บรรลุเวสารัชชญาณ ๔ เป็นผู้ทรงทสพลญาณ ทรงเป็นบุรุษองอาจ ทรงเป็นบุรุษ ดุจราชสีห์ ทรงเป็นบุรุษดุจนาค ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย ทรงเป็นบุรุษผู้นำธุระ มีพระญาณหาที่สุดมิได้ มีพระเดชหาที่สุดมิได้ มีพระยศหาที่สุดมิได้ ทรงมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีปัญญาเป็นทรัพย์ ทรงเป็นผู้นำ เป็นผู้นำไปโดยวิเศษ เป็นผู้ ตามแนะนำ ทรงให้รู้จักประโยชน์ ให้พินิจพิจารณา ทรงเพ่งประโยชน์ ทรงทำให้ เลื่อมใสได้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทรงทำ มรรคที่ยังไม่เกิดพร้อมให้เกิดพร้อม ตรัสบอกมรรคที่ยังมิได้ตรัสบอก ทรงรู้จักมรรค ทรงรู้แจ้งมรรค ทรงฉลาดในมรรค และสาวกของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ดำเนินไปตามมรรค อยู่ในบัดนี้ จะเพียบพร้อมด้วยศีลาทิคุณ ในภายหลัง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น มี พระจักษุ มีพระญาณ มีพระธรรม เป็นดุจพระพรหม ตรัส บอก นำความหมาย ออกมา ประทานอมตธรรม เป็นพระธรรมสามี เป็นพระตถาคต ไม่มีสิ่งที่พระผู้มี- พระภาคพระองค์นั้นยังไม่ทรงทราบ ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงรู้แจ้ง ไม่ทรงทำให้แจ้ง มิได้ ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญา ธรรมทั้งปวงรวมทั้งอดีต อนาคตและปัจจุบัน ย่อมมา สู่คลองเฉพาะพระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า โดยอาการทั้งปวง ธรรมดา ประโยชน์ที่ควรแนะนำอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นธรรมที่ควรรู้มีอยู่ คือ ประโยชน์ตน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๑๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๘. ปสูรสุตตนิทเทส

ประโยชน์ผู้อื่นหรือประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ประโยชน์ในภพปัจจุบันหรือประโยชน์ในภพ หน้า ประโยชน์ตื้นหรือประโยชน์ลึก ประโยชน์ลี้ลับหรือประโยชน์ปิดบัง ประโยชน์ ที่ควรแนะนำหรือประโยชน์ที่แนะนำแล้ว ประโยชน์ที่ไม่มีโทษหรือประโยชน์ที่ไม่มี กิเลส ประโยชน์ที่ผ่องแผ้วหรือประโยชน์อย่างยิ่ง ประโยชน์ทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไป ภายในพระพุทธญาณ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมทุกอย่าง ย่อมเป็นไปตามพระญาณของพระผู้มี- พระภาคพุทธเจ้า พระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ไม่ติดขัดในอดีต อนาคต ปัจจุบัน บทธรรมที่ควรแนะนำมีอยู่เพียงใด พระญาณก็มีเพียงนั้น พระญาณมีอยู่ เพียงใด บทธรรมที่ควรแนะนำก็มีเพียงนั้น พระญาณย่อมมีบทธรรมที่ควรแนะนำ เป็นส่วนสุดรอบ บทธรรมที่ควรแนะนำก็ย่อมมีพระญาณเป็นส่วนสุดรอบ พระญาณ ย่อมไม่เป็นไปเกินบทธรรมที่ควรแนะนำ ทางแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำก็มีอยู่ไม่เกิน กว่าพระญาณ ธรรมเหล่านั้น ตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกัน เหมือนเมื่อชั้น แห่งผอบ ๒ ชั้นทับกันสนิทพอดี ชั้นผอบด้านล่างก็ไม่เกินด้านบน ชั้นผอบด้านบน ก็ไม่เกินด้านล่าง ชั้นผอบทั้ง ๒ ชั้นย่อมวางประกบกันที่ส่วนสุดโดยรอบของกัน และกัน ฉันใด บทธรรมที่ควรแนะนำ และพระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ก็ตั้งอยู่ในส่วนสุดโดยรอบของกันและกัน ฉันนั้นเหมือนกัน บทธรรมที่ควรแนะนำ มีอยู่เพียงใด พระญาณก็มีอยู่เพียงนั้น พระญาณมีอยู่เพียงใด บทธรรมที่ควรแนะนำ ก็มีเพียงนั้น พระญาณย่อมมีบทธรรมที่ควรแนะนำเป็นส่วนสุดรอบ บทธรรมที่ควร แนะนำก็ย่อมมีพระญาณเป็นส่วนสุดรอบ พระญาณย่อมไม่เป็นไปเกินกว่าบทธรรม ที่ควรแนะนำ ทางแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำก็มีอยู่ ไม่เกินกว่าพระญาณ ธรรม เหล่านั้นย่อมตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกัน พระญาณของพระผู้มีพระภาค พุทธเจ้า ย่อมเป็นไปในธรรมทั้งปวง ธรรมทั้งปวงนับเนื่องด้วยความนึก นับเนื่องด้วยความหวัง นับเนื่องด้วย มนสิการ นับเนื่องด้วยจิตตุปบาทของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า พระญาณของ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าย่อมเป็นไปในสัตว์ทั้งปวง พระผู้มีพระภาคทรงทราบ อัธยาศัย อนุสัย จริต อธิมุตติ ของเหล่าสัตว์ทุกจำพวก ทรงรู้จักเหล่าสัตว์ ผู้มี กิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม ผู้ที่แนะนำให้รู้ได้ง่าย ผู้ที่แนะนำให้รู้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๑๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๘. ปสูรสุตตนิทเทส

ได้ยาก เป็นภัพพสัตว์ เป็นอภัพพสัตว์ โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ย่อมเป็นไปภายในพระพุทธญาณ ปลาและเต่าชนิดใดชนิดหนึ่ง รวมทั้งปลาติมิ ปลาติมิงคละและปลาติ- มิติมิงคละ๑- ย่อมเป็นไปอยู่ภายในมหาสมุทร ฉันใด โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ย่อมเป็นไปภายใน พระญาณของพระพุทธเจ้า ฉันนั้นเหมือนกัน นกชนิดใดชนิดหนึ่ง รวมทั้งครุฑนาม ว่าเวนไตย ย่อมบินไปในห้วงแห่งอากาศ ฉันใด พระพุทธสาวกทั้งหลาย ผู้เสมอกับ พระสารีบุตรด้วยปัญญา ย่อมเป็นไปในส่วนแห่งพระพุทธญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน พระพุทธญาณย่อมแผ่ครอบคลุมปัญญาของเทวดาและมนุษย์อยู่ เหล่าบัณฑิตผู้เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นคหบดี เป็นสมณะ ผู้มีปัญญา ละเอียด รู้วาทะของผู้อื่น เหมือนนายขมังธนูสามารถยิงเนื้อทรายได้ ดุจจะเที่ยวทำ ลายทิฏฐิผู้อื่นด้วยปัญญาตน บัณฑิตเหล่านั้นพากันปรุงแต่งปัญหา ย่อมเข้าไปหา พระตถาคตแล้ว ทูลถามปัญหาที่ลี้ลับและปิดบัง ปัญหาเหล่านั้น ที่พระผู้มีพระภาค ทรงซักไซ้และตรัสแก้แล้ว เป็นปัญหามีเหตุให้ทรงแสดง บัณฑิตเหล่านั้นถูกดึงดูด ด้วยการวิสัชนาปัญหา จึงเลื่อมใสพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรุ่งเรือง ยิ่งด้วยพระปัญญาในหมู่คนเหล่านั้นโดยแท้แล รวมความว่า เธอ...มาถึงการแข่ง คู่กับเราผู้มีปัญญาเครื่องกำจัดแล้ว ย่อมไม่สามารถเทียมทันได้เลย ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า อนึ่ง เธอตรึกอยู่มาแล้ว เธอคิดทิฏฐิทั้งหลายด้วยใจ มาถึงการแข่งคู่กับเราผู้มีปัญญาเครื่องกำจัดแล้ว ย่อมไม่สามารถเทียมทันได้เลย
ปสูรสุตตนิทเทสที่ ๘ จบ
@เชิงอรรถ : @ ปลาทั้ง ๓ ตัวนี้เป็นปลาขนาดใหญ่ คือปลาติมิงคละสามารถกลืนกินปลาติมิได้ และปลาติมิติมิงคละ @มีขนาดลำตัวใหญ่ถึง ๕๐๐ โยชน์ และสามารถกลืนกินปลาติมิงคละได้ (ขุ.ม.อ. ๖๙/๒๙๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๑๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๑๙๕-๒๑๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=29&page=195&pages=22&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=5803 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=29&A=5803#p195 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 29 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๙๕-๒๑๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]