ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

หน้าที่ ๒๕๔-๒๕๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ว่าด้วยผู้ไม่สะดุ้ง
คำว่า ไม่สะดุ้ง อธิบายว่า ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สะดุ้ง หวาดเสียว หวั่นหวาด เธอย่อมสะดุ้ง หวาดเสียว หวั่นหวาด กลัว ถึงความสะดุ้งว่า เราไม่ได้ ตระกูล ไม่ได้หมู่คณะ ไม่ได้อาวาส ไม่ได้ลาภ ไม่ได้ยศ ไม่ได้สรรเสริญ ไม่ได้สุข ไม่ได้จีวร ไม่ได้บิณฑบาต ไม่ได้เสนาสนะ ไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือไม่ได้ ผู้พยาบาลเวลาเจ็บป่วย ย่อมสะดุ้ง หวาดเสียว หวั่นหวาด กลัว ถึงความสะดุ้งว่า “เราเป็นผู้ไม่มีชื่อเสียงปรากฏ” ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่สะดุ้ง ไม่หวาดเสียว ไม่หวั่นหวาด เธอย่อมไม่ สะดุ้ง ไม่หวาดเสียว ไม่หวั่นหวาด ไม่กลัว ไม่ถึงความสะดุ้งว่า เราไม่ได้ตระกูล ไม่ได้หมู่คณะ ไม่ได้อาวาส ไม่ได้ลาภ ไม่ได้ยศ ไม่ได้สรรเสริญ ไม่ได้สุข ไม่ได้จีวร ไม่ได้บิณฑบาต ไม่ได้เสนาสนะ ไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือไม่ได้ผู้พยาบาล เวลาเจ็บป่วย ย่อมไม่สะดุ้ง ไม่หวาดเสียว ไม่หวั่นหวาด ไม่กลัว ไม่ถึงความ สะดุ้งว่า “เราเป็นผู้ไม่มีชื่อเสียงปรากฏ” รวมความว่า ผู้ไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง
ว่าด้วยผู้ไม่โอ้อวด
คำว่า ไม่โอ้อวด ไม่คะนอง อธิบายว่า ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อวด เป็นผู้โอ้อวด เธอย่อมอวด โอ้อวดว่า “เราเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลบ้าง สมบูรณ์ด้วย วัตรบ้าง สมบูรณ์ด้วยศีลวัตรบ้าง สมบูรณ์ด้วยชาติบ้าง สมบูรณ์ด้วยโคตรบ้าง สมบูรณ์ด้วยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูลบ้าง สมบูรณ์ด้วยความเป็นผู้มีรูปงามบ้าง สมบูรณ์ด้วยทรัพย์บ้าง สมบูรณ์ด้วยการศึกษาบ้าง สมบูรณ์ด้วยหน้าที่การงานบ้าง สมบูรณ์ด้วยหลักแห่งศิลปวิทยาบ้าง สมบูรณ์ด้วยวิทยฐานะบ้าง สมบูรณ์ด้วยความ เป็นผู้คงแก่เรียนบ้าง สมบูรณ์ด้วยปฏิภาณบ้าง สมบูรณ์ด้วยสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าว มาแล้วบ้าง ออกบวชจากตระกูลสูงบ้าง ออกบวชจากตระกูลใหญ่บ้าง ออกบวชจาก ตระกูลมีทรัพย์มากบ้าง ออกบวชจากตระกูลมีโภคสมบัติมากบ้าง เป็นผู้มีชื่อเสียง มียศกว่าคฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลายบ้าง เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารบ้าง เป็นผู้ทรงจำพระสูตรบ้าง ทรงจำพระวินัยบ้าง เป็น พระธรรมกถึกบ้าง เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้เที่ยว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๕๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

บิณฑบาตไปตามลำดับตรอกเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้งดอาหารมื้อหลังเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ ถือการนั่งเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการอยู่ในเสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตรบ้าง เป็น ผู้ได้ปฐมฌานบ้าง เป็นผู้ได้ทุติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้ตติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้ จตุตถฌานบ้าง เป็นผู้ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้วิญญาณัญจายตน- สมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้เนวสัญญานา- สัญญายตนสมาบัติบ้าง” ภิกษุนี้ย่อมไม่อวด ไม่โอ้อวด อย่างนี้ คือ เป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องแล้วกับความอวด ความโอ้อวด มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า ผู้ไม่โอ้อวด
ว่าด้วยผู้ไม่คะนอง
คำว่า ความคะนอง ในคำว่า ผู้ไม่คะนอง อธิบายว่า ความคะนองมือ ชื่อว่าความคะนอง ความคะนองเท้า ชื่อว่าความคะนอง ความคะนองมือและเท้า ก็ชื่อว่าความคะนอง ความสำคัญในสิ่งไม่ควรว่าควร ความสำคัญในสิ่งที่ควรว่า ไม่ควร ความสำคัญในวิกาลว่าเป็นกาล ความสำคัญในกาลว่าเป็นวิกาล ความ สำคัญในสิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ ความสำคัญในสิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ ความคะนอง กิริยาที่คะนอง ภาวะที่คะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่านเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความคะนอง อีกนัยหนึ่ง ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นเพราะเหตุ ๒ อย่าง คือ (๑) เพราะทำ (๒) เพราะไม่ทำ ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นเพราะทำและเพราะไม่ทำ เป็นอย่างไร คือ ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า “เราทำแต่ กายทุจริต ไม่ทำกายสุจริต ... เราทำแต่วจีทุจริต ไม่ทำวจีสุจริต ... เราทำแต่มโนทุจริต ไม่ทำมโนสุจริต ... เราทำแต่ปาณาติบาต ไม่ทำความงดเว้นจากปาณาติปาต ... เรา ทำแต่อทินนาทาน ไม่ทำความงดเว้นจากอทินนาทาน ... เราทำแต่กาเมสุมิจฉาจาร ไม่ทำความงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ... เราทำแต่มุสาวาท ไม่ทำความงดเว้นจาก มุสาวาท ... เราทำแต่ปิสุณาวาจา ไม่ทำความงดเว้นจากปิสุณาวาจา ... เราทำแต่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๕๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ผรุสวาจา ไม่ทำความงดเว้นจากผรุสวาจา ... เราทำแต่สัมผัปปลาปะ ไม่ทำความ งดเว้นจากสัมผัปปลาปะ ... เราทำแต่อภิชฌา ไม่ทำอนภิชฌา ... เราทำแต่พยาบาท ไม่ทำอัพยาบาท” ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า “เราทำแต่ มิจฉาทิฏฐิ ไม่ทำสัมมาทิฏฐิ” ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้น เพราะทำและเพราะไม่ทำ เป็นอย่างนี้ อีกนัยหนึ่ง ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า “เรามิได้ รักษาศีลให้บริบูรณ์” ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า “เรา ไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้ง ๖ ... ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร ... ไม่ประกอบ ความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่เสมอ ... ไม่หมั่นประกอบสติสัมปชัญญะ ... ไม่เจริญ สติปัฏฐาน ๔ ... ไม่เจริญสัมมัปปธาน ๔ ... ไม่เจริญอิทธิบาท ๔ ... ไม่เจริญ อินทรีย์ ๕ ... ไม่เจริญพละ ๕ ... ไม่เจริญโพชฌงค์ ๗ ... ไม่เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ... ไม่กำหนดรู้ทุกข์ ... ไม่ละสมุทัย ... ไม่เจริญมรรค เราไม่ทำนิโรธให้ประจักษ์แจ้ง” ความคะนองนี้ผู้ใดละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้น ตรัสเรียกว่า ผู้ไม่คะนอง รวมความว่า ผู้ไม่โอ้อวด ไม่คะนอง
ว่าด้วยปัญญาเรียกว่า มันตา
คำว่า ผู้พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน อธิบายว่า ปัญญาตรัสเรียกว่า มันตา คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ... ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ มีวิเคราะห์ว่า ผู้ใดกำหนดกล่าววาจาด้วยปัญญา แม้พูดมาก แม้กล่าวมาก แม้แสดงมาก แม้ชี้แจงมาก ก็ไม่กล่าวถ้อยคำที่เป็นเรื่องพูดชั่ว กล่าวชั่ว เจรจาชั่ว ปราศรัยชั่ว เล่าเรื่องชั่ว ฉะนั้น ผู้นั้น จึงชื่อว่าผู้พูดด้วยปัญญา ความฟุ้งซ่าน ในคำว่า ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอย่างไร คือ ความฟุ้งซ่าน ความไม่สงบแห่งจิต ใจกวัดแกว่ง ความคิดวกวน นี้ตรัส เรียกว่า ความฟุ้งซ่าน ความฟุ้งซ่านนี้ ผู้ใดละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับ ได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้น ตรัสเรียกว่า ผู้ไม่ ฟุ้งซ่าน รวมความว่า ผู้พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๕๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๒๕๔-๒๕๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=29&page=254&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=7583 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=29&A=7583#p254 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 29 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๕๔-๒๕๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]