ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

หน้าที่ ๒๘๖-๒๘๗.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ตัณหาไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้แก่บุคคลใด คือ ตัณหานั้น บุคคล นั้นละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า ไม่มีตัณหาในภพหรือในวิภพ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลใดไม่มีที่อาศัย ไม่มีตัณหาในภพหรือในวิภพ บุคคลนั้นรู้ธรรมแล้วไม่อาศัย [๙๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) เราเรียกบุคคลนั้น ผู้ไม่มุ่งหวังในกามทั้งหลายว่า เป็นผู้เข้าไปสงบ บุคคลนั้นไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด ข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาได้แล้ว คำว่า เราเรียกบุคคลนั้น... เป็นผู้เข้าไปสงบ อธิบายว่า เราเรียกบุคคลนั้น คือ พูด บอก แสดง ชี้แจง บุคคลนั้นว่า เป็นผู้สงบ เข้าไปสงบ สงบเย็น คือ ดับแล้ว ระงับแล้ว รวมความว่า เราเรียกบุคคลนั้น... เป็นผู้เข้าไปสงบ คำว่า ผู้ไม่มุ่งหวังในกามทั้งหลาย อธิบายว่า คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม (๒) กิเลสกาม ... เหล่านี้ เรียกว่าวัตถุกาม ... เหล่านี้ เรียกว่ากิเลสกาม๑- บุคคลกำหนดรู้วัตถุกามแล้ว ละ คือ ละเว้น บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งกิเลสกาม ชื่อว่าไม่มุ่งหวังในกามทั้งหลาย ได้แก่ เป็นผู้ คลายกามแล้ว สละกามแล้ว คายกามแล้ว ปล่อยกามแล้ว ละกามแล้ว สลัดทิ้งกาม แล้ว คือ เป็นผู้คลายความกำหนัดแล้ว สละราคะแล้ว คายราคะแล้ว ปล่อยราคะแล้ว ละราคะแล้ว สลัดทิ้งราคะแล้ว ในกามทั้งหลาย เป็นผู้หมดความอยากแล้ว เป็นผู้ ดับแล้ว เป็นผู้เย็นแล้ว มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ รวมความว่า ผู้ไม่มุ่งหวัง ในกามทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๑/๑-๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๘๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ว่าด้วยกิเลสเครื่องร้อยรัด ๔ อย่าง
คำว่า กิเลสเครื่องร้อยรัด ในคำว่า บุคคลนั้นไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด อธิบายว่า กิเลสเครื่องร้อยรัด ๔ อย่าง คือ ๑. กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคืออภิชฌา ๒. กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือพยาบาท ๓. กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือสีลัพพตปรามาส ๔. กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือความถือมั่นว่านี้เท่านั้นจริง ความกำหนัดในทิฏฐิของตน ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัดกายคืออภิชฌา ความอาฆาต ความไม่พอใจในวาทะของผู้อื่น ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือ พยาบาท ความยึดมั่นศีล วัตร หรือศีลวัตรของตน ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือ สีลัพพตปรามาส ทิฏฐิของตน ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัดกายคืออิทังสัจจาภินิเวส คำว่า บุคคลนั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ คำว่า บุคคลนั้นไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด อธิบายว่า บุคคลนั้นไม่มี ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ซึ่งกิเลสเครื่องร้อยรัด คือ กิเลสเครื่องร้อยรัดบุคคลนั้นละ ได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วย ไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า บุคคลนั้นไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด
ว่าด้วยตัณหามีชื่อต่างๆ
คำว่า บุคคลนั้น... ข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาได้แล้ว อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า วิสัตติกา คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา อกุศลมูล คือโลภะ๑- @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๓/๑๐-๑๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๘๗}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๒๘๖-๒๘๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=29&page=286&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=8536 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=29&A=8536#p286 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 29 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๘๖-๒๘๗.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]