ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

หน้าที่ ๒๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

สัญญา ...ในสังขาร ... ในวิญญาณ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า ผู้ข้อง”๑- คำว่า ผู้ข้อง เป็นชื่อของความเกี่ยวข้อง รวมความว่า ผู้ข้องอยู่ในถ้ำ คำว่า ถูกกิเลสมากหลายปิดบังไว้ อธิบายว่า ถูกกิเลสเป็นอันมากปิดบังไว้ คือ ถูกราคะปิดบังไว้ ถูกโทสะปิดบังไว้ ถูกโมหะปิดบังไว้ ถูกโกธะปิดบังไว้ ถูก อุปนาหะปิดบังไว้ ถูกมักขะปิดบังไว้ ถูกปฬาสะปิดบังไว้ ถูกอิสสาปิดบังไว้ ถูก มัจฉริยะปิดบังไว้ ถูกมายาปิดบังไว้ ถูกสาเถยยะปิดบังไว้ ถูกถัมภะปิดบังไว้ ถูก สารัมภะปิดบังไว้ ถูกมานะปิดบังไว้ ถูกอติมานะปิดบังไว้ ถูกมทะปิดบังไว้ ถูก ปมาทะปิดบังไว้ ได้แก่ ถูกกิเลสทุกชนิด ... ทุจริตทุกทาง ...ความกระวนกระวาย ทุกอย่าง ... ความเร่าร้อนทุกสถาน... ความเดือดร้อนทุกประการ ... อกุสลาภิสังขาร ทุกประเภท ปิดบัง ปกปิด ปิดล้อม หุ้มห่อ โอบล้อม ห้อมล้อม ครอบคลุม ปกคลุม บดบังไว้ รวมความว่า ผู้ข้องอยู่ในถ้ำ ถูกกิเลสมากหลายปิดบังไว้ คำว่า นรชน ... เมื่อดำรงตนอยู่ ในคำว่า นรชน ... เมื่อดำรงตนอยู่ ก็จมลงในเหตุให้ลุ่มหลง อธิบายว่า นรชนเมื่อดำรงตนอยู่ คือ ผู้กำหนัดก็ดำรงตนอยู่ ตามอำนาจราคะ ผู้ขัดเคืองก็ดำรงตนอยู่ตามอำนาจโทสะ ผู้หลงก็ดำรงตนอยู่ตาม อำนาจโมหะ ผู้ยึดติดก็ดำรงตนอยู่ตามอำนาจมานะ ผู้ยึดถือก็ดำรงตนอยู่ตาม อำนาจทิฏฐิ๒- ผู้ฟุ้งซ่านก็ดำรงตนอยู่ตามอำนาจอุทธัจจะ(ความฟุ้งซ่าน) ผู้ลังเล @เชิงอรรถ : @ สํ.ข. ๑๗/๑๖๑/๑๕๓ @ ทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึง ทิฏฐิ ๖๒ แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย คือ @๑. ปุพพันตกัปปิกวาทะ ความเห็นกำหนดขันธ์ส่วนอดีตมี ๑๘ คือ @(๑) สัสสตวาทะ เห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยงมี ๔ อย่าง (๒) เอกัจจสัสสตวาทะ เห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยง @เป็นบางอย่างมี ๔ อย่าง (๓) อันตานันติกวาทะ เห็นว่าโลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุดมี ๔ อย่าง (๔) อมรา- @วิกเขปวาทะ ความเห็นหลบเลี่ยง ไม่แน่นอนมี ๔ อย่าง (๕) อธิจจสมุปปันนวาทะ เห็นว่าอัตตาและโลก @เกิดขึ้นเองไม่มีเหตุปัจจัยมี ๒ อย่าง @๒. อปรันตกัปปิกวาทะ ความเห็นกำหนดขันธ์ส่วนอนาคตมี ๔๔ คือ @(๑) สัญญีวาทะ เห็นว่าอัตตาหลังจากตายแล้วมีสัญญามี ๑๖ อย่าง (๒) อสัญญีวาทะ เห็นว่าอัตตาหลัง @จากตายแล้วไม่มีสัญญามี ๘ อย่าง (๓) เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ เห็นว่าอัตตาหลังจากตายแล้วมีสัญญาก็ @มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่มี ๘ อย่าง (๔) อุจเฉทวาทะ เห็นว่าหลังจากตายแล้วอัตตาขาดสูญมี ๗ อย่าง @(๕) ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ เห็นว่ามีสภาพบางอย่างเป็นนิพพานในปัจจุบันมี ๕ อย่าง @(ที.สี.(แปล) ๙/๒๘-๑๐๔/๑๑-๓๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๒๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=29&page=29&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=857 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=29&A=857#p29 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 29 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]