ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

หน้าที่ ๓๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก๑- มนุษยโลก เทวโลก๒- ขันธโลก ธาตุโลก๓- อายตนโลก๔- คำว่า เพราะกามทั้งหลายในโลกไม่เป็นของที่นรชนละได้ง่ายเลย อธิบาย ว่า เพราะกามทั้งหลายในโลกเป็นของที่นรชนละได้ยาก คือ สละได้ยาก สละออก ได้ยาก ย่ำยีได้ยาก แก้ออกได้ยาก แหวกออกได้ยาก ข้ามได้ยาก ข้ามพ้นได้ยาก ก้าวพ้นได้ยาก กลับตัวหลีกได้ยาก รวมความว่า เพราะกามทั้งหลายในโลกไม่เป็น ของที่นรชนละได้ง่ายเลย ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า @เชิงอรรถ : @ อบายโลก คือโลกที่ปราศจากความเจริญ ได้แก่ (๑) นิรย นรก (๒) ติรัจฉานโยนิ กำเนิดสัตว์เดรัจฉาน @(๓) ปิตติวิสัย แดนเปรต (๔) อสุรกาย พวกหวาดหวั่นไร้ความเจริญ (ขุ.อิติ. ๒๕/๙๓/๓๑๒) @ เทวโลก คือโลกของหมู่เทพในสวรรค์ชั้นกามาวจรทั้ง ๖ เป็นภพที่มีอารมณ์เลิศ โลกที่มีแต่ความสุข แต่ยัง @เกี่ยวข้องกับกามอยู่ ได้แก่ (๑) จาตุมหาราชิกา สวรรค์ที่ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ปกครองอยู่ (ท้าวธตรฐ จอม- @คนธรรพ์ครองทิศตะวันออก, ท้าววิรุฬหกจอมกุมภัณฑ์ครองทิศใต้, ท้าววิรูปักษ์จอมนาคครองทิศตะวันตก, @ท้าวกุเวรหรือเวสวัณจอมยักษ์ครองทิศเหนือ) (๒) ดาวดึงส์ แดนที่อยู่แห่งเทพ ๓๓ มีท้าวสักกะ เป็น @จอมเทพ (๓) ยามา แดนที่อยู่แห่งเทพผู้ปราศจากทุกข์ มีท้าวสุยามาเป็นจอมเทพ (๔) ดุสิต แดนที่อยู่ @แห่งเทพผู้เอิบอิ่มด้วยสิริสมบัติของตน มีท้าวสันดุสิตเป็นจอมเทพ (๕) นิมมานรดี แดนแห่งเทพผู้มี @ความยินดีในการเนรมิต มีท้าวสุนิมมิตเป็นจอมเทพ (๖) ปรนิมมิตวสวัตดี แดนที่อยู่แห่งเทพผู้ยังอำนาจ @ให้เป็นไปในสมบัติที่ผู้อื่นนิรมิต คือเสวยสมบัติที่เทพพวกอื่นนิรมิตให้ มีท้าววสวัตดีเป็นจอมเทพ @(สํ.ม. ๑๙/๑๐๘๑/๓๖๙) @ ธาตุโลก หมายถึงธาตุ ๑๘ คือสิ่งที่ทรงสภาวะของตนเองอยู่ ตามที่เหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้นเป็นไปตาม @ธรรมนิยาม คือ กำหนดแห่งธรรมดา ไม่มีผู้สร้าง ผู้บันดาล และมีรูปลักษณะ กิจ อาการเป็นแบบจำเพาะตัว @อันพึงกำหนดเอาเป็นหลักได้แต่ละอย่างๆ ได้แก่ (๑) จักขุธาตุ ธาตุคือจักขุปสาท (๒) รูปธาตุ ธาตุคือ @รูปารมณ์ (๓) จักขุวิญญาณธาตุ ธาตุคือจักขุวิญญาณ (๔) โสตธาตุ ธาตุคือโสตปสาท (๕) สัททธาตุ @ธาตุคือสัททารมณ์ (๖) โสตวิญญาณธาตุ ธาตุคือโสตวิญญาณ (๗) ฆานธาตุ ธาตุคือฆานปสาท (๘) คันธธาตุ @ธาตุคือคันธารมณ์ (๙) ฆานวิญญาณธาตุ ธาตุคือฆานวิญญาณ (๑๐) ชิวหาธาตุ ธาตุคือชิวหาปสาท @(๑๑) รสธาตุ ธาตุคือรสารมณ์ (๑๒) ชิวหาวิญญาณธาตุ ธาตุคือชิวหาวิญญาณ (๑๓) กายธาตุ ธาตุคือ @กายปสาท (๑๔) โผฏฐัพพธาตุ ธาตุคือโผฏฐัพพารมณ์ (๑๕) กายวิญญาณธาตุ ธาตุคือกายวิญญาณ @(๑๖) มโนธาตุ ธาตุคือมโน (๑๗) ธรรมธาตุ ธาตุคือธรรมารมณ์ (๑๘) มโนวิญญาณธาตุ ธาตุคือ @มโนวิญญาณ (อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๑๘๓-๑๘๔/๑๔๒-๑๔๖) @ อายตนโลก หมายถึงอายตนะ ๑๒ คือ (สิ่งที่เชื่อมต่อกันให้เกิดความรู้ แดนต่อหรือแดนเกิดแห่งความรู้) @อายตนะภายใน ๖ ได้แก่ (๑) ตา (๒) หู (๓) จมูก (๔) ลิ้น (๕) กาย (๖) ใจ อายตนะภายนอก ๖ ได้แก่ @(๑) รูป (๒) เสียง (๓) กลิ่น (๔) รส (๕) โผฏฐัพพะ (๖) ธรรมารมณ์ ทั้ง ๖ นี้ เรียกทั่วไปว่า อารมณ์ ๖ คือ @เป็นสิ่งสำหรับให้จิตยึดหน่วง (อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๑๕๔-๑๖๗/๑๑๒-๑๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๓๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=29&page=36&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=1073 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=29&A=1073#p36 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 29 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]