ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

หน้าที่ ๓๗๓.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

คือ ปรารถนาอกุศลธรรม กามคุณ ๕ และทิฏฐิ ๖๒ ปรารถนาความหมดจด คือ ปรารถนากุศลธรรมอันมีในไตรธาตุ ปรารถนาความไม่หมดจด คือ ปรารถนา อกุศลธรรม กามคุณ ๕ ทิฏฐิ ๖๒ และกุศลธรรมอันมีในไตรธาตุ พวกกัลยาณ- ปุถุชน ปรารถนาความสะอาด คือ ปรารถนาความก้าวย่างสู่อริยมรรค พระเสขะ ปรารถนาอรหัตตผล ซึ่งเป็นธรรมอันเลิศ เมื่อบรรลุอรหัตตผล พระอรหันต์ไม่ ปรารถนาอกุศลธรรม ไม่ปรารถนากามคุณ ๕ ไม่ปรารถนาทิฏฐิ ๖๒ ไม่ปรารถนา กุศลธรรมอันมีในไตรธาตุ๑- ไม่ปรารถนาความก้าวย่างสู่อริยมรรค ไม่ปรารถนา อรหัตตผลซึ่งเป็นธรรมอันเลิศ พระอรหันต์ก้าวล่วงความปรารถนา ล่วงพ้นความ เจริญและความเสื่อมเสียแล้ว พระอรหันต์นั้นอยู่ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว ประพฤติ จรณธรรมแล้ว... และภพใหม่ก็ไม่มีอีก รวมความว่า ไม่ปรารถนาความหมดจดและ ความไม่หมดจด คำว่า งดเว้นแล้ว ในคำว่า งดเว้นแล้ว ไม่ยึดมั่นทิฏฐิที่มีอยู่เที่ยวไป อธิบายว่า งด งดเว้น คือ เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับ ความหมดจดและความไม่หมดจด มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า งดเว้นแล้ว คำว่า เที่ยวไป ได้แก่ เที่ยวไป คือ ท่องเที่ยวไป อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า งดเว้นแล้ว เที่ยวไป @เชิงอรรถ : @ ไตรธาตุ คือ (๑) กามธาตุ(กามภพ) (๒) รูปธาตุ(รูปภพ) (๓) อรูปธาตุ(อรูปภพ) @๑. ธาตุอย่างหยาบ ชื่อกามธาตุ ๒. ธาตุอย่างกลาง ชื่อรูปธาตุ ๓. ธาตุอย่างประณีต ชื่ออรูปธาตุ @กรรมอำนวยผลให้ในกามธาตุ กามภพจึงปรากฏมีขึ้น กรรมจึงเป็นไร่นา วิญญาณเป็นพืช ตัณหาเป็น @ยางเหนียว วิญญาณดำรงมั่นอยู่ได้เพราะธาตุอย่างหยาบ ธาตุอย่างหยาบ(กามธาตุ)ของสัตว์มีอวิชชาเป็น @เครื่องปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ การเกิดในภพใหม่จึงมีต่อไป @กรรมอำนวยผลให้ในรูปธาตุ รูปภพจึงปรากฏมีขึ้น กรรมจึงเป็นไร่นา วิญญาณเป็นพืช ตัณหาเป็นยาง @เหนียว วิญญาณดำรงมั่นอยู่ได้เพราะธาตุอย่างกลาง ธาตุอย่างกลาง(รูปธาตุ)ของสัตว์มีอวิชชาเป็นเครื่อง @ปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ การเกิดในภพใหม่จึงมีต่อไป @กรรมอำนวยผลให้ในอรูปธาตุ อรูปภพจึงปรากฏมีขึ้น กรรมจึงเป็นไร่นา วิญญาณเป็นพืช ตัณหาเป็น @ยางเหนียว วิญญาณดำรงมั่นอยู่ได้เพราะธาตุอย่างประณีต ธาตุอย่างประณีต(อรูปธาตุ)ของสัตว์มีอวิชชา @เป็นเครื่องปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ การเกิดในภพใหม่จึงมีต่อไป (องฺ.ติก.(แปล) ๒๐/๗๗/๓๐๐-๓๐๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๗๓}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๓๗๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=29&page=373&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=11071 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=29&A=11071#p373 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 29 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๗๓.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]